อธิบดีกรมวิทย์ฯ เผย เฝ้าระวังคุณภาพและความปลอดภัยของปลาแซลมอนที่จำหน่ายในประเทศไทย
นายแพทย์อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันคนไทยนิยมบริโภคเนื้อปลาโดยเฉพาะเนื้อปลาแซลมอนทั้งในรูปนำมาปรุงให้สุกและในรูปของปลาดิบที่รู้จักกันดีในนามของซาซิมิ เมื่อมีการสื่อสารกันในสังคมการสื่อสารยุคใหม่เกี่ยวกับความไม่ปลอดภัยในการบริโภคเนื้อปลาแซลมอน จึงได้ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เฝ้าระวังความปลอดภัยมาตลอด โดยการตรวจวิเคราะห์ปริมาณโลหะหนัก 3 ชนิด ซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่จะมีการปนเปื้อน คือ ปรอท ตะกั่ว และแคดเมียม ในเนื้อปลาแซลมอนที่นำเข้าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 จนถึง ที่ตรวจพบมีปริมาณต่ำมากและไม่เกินค่าที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 (พ.ศ. 2529) เรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน
ทั้งนี้ นายแพทย์อภิชัย กล่าวต่ออีกว่า การปนเปื้อนของจุลินทรีย์ก่อโรคดังกล่าวอาจเกิดจากการปนเปื้อนจากสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการปนเปื้อนข้ามของเชื้อแบคทีเรียจากอาหารดิบอื่น ๆ ซึ่งเป็นเชื้อที่พบได้ในอุจจาระของคน และสัตว์นั้นอาจมาจากผู้ประกอบการมีสุขลักษณะส่วนบุคคลที่ไม่เหมาะสม เช่น ไม่ล้างมือให้สะอาดภายหลังการเข้าห้องน้ำ สำหรับข้อแนะนำการบริโภคปลาดิบและการเลือกซื้อปลาทะเลที่แล่ขายนั้น ผู้บริโภคควรเลือกรับประทานปลาทะเลดิบที่จำหน่ายในภัตตาคาร ร้านอาหารญี่ปุ่นต้นตำรับ หรือร้านที่มั่นใจว่าใช้ปลาดิบที่เป็นปลาทะเลที่เตรียมเพื่อการบริโภคดิบอย่างปลอดภัย
ที่มา : INN