หลังจากเมื่อวานพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ออกมาให้สัมภาษณ์ว่าโรงพยาบาลอาจขาดทุนจากโครงการ 30 บาท แต่ยืนยันจะไม่เลิกโครงการ ขณะที่หลายฝ่ายติงนายกฯ ที่มองว่าเรื่องหลักประกันสุขภาพเป็นประชานิยม
เมื่อวานนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จากปัญหาความซับซ้อนและข้าราชการมีความเห็นต่างโดยเฉพาะเรื่องใน สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และการใช้สิทธิตามหลักประกันโดยเห็นว่ารัฐบาลที่ผ่านมาไม่ใส่ใจงบประมาณสาธารณสุขที่มีไม่พอ เนื่องจากโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค โดยตน ไม่อยากจะพูดถึงเพราะ เป็นโครงการประชานิยม ที่ประชาชนได้รับประโยชน์ แต่ขอตั้งคำถามว่า รัฐมีความความพร้อมหรือไม่ เพราะเฉลี่ยแล้วค่ารักษาอยู่ที่คนละ 2,900 บาทซึ่งโรงพยาบาลอาจขาดทุด ทำให้รัฐต้องไปหางบประมาณเพิ่ม เพราะอีก 190 กว่าประเทศยังไม่ทำโครงการแบบนี้ ถึงวันนี้ตนไม่ได้ฝืนและคงไปยกเลิกไม่ได้ เพียงแต่ต้องคิดว่าต้องทำอย่างไรให้มีเงินมากขึ้น
เรื่องนี้ทำให้ นพ.มงคล ณ สงขลา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โพสต์ facebook ตอบโต้ นายกรัฐมนตรีว่าไม่เข้าใจสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน และไม่เคยทราบว่าผลวิจัยเป็นที่ยอมรับกันว่าการลงทุนเพื่อสุขภาพของประชาชนผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่ได้เป็น 7 เท่าของการลงทุน อย่างประเทศเวียดนาม รัฐมนตรีสาธารณสุขนำทีมใหญ่มาดูงานเมืองไทยและประกาศใช้ เช่นเดียวกับอีกหลายประเทศ ไทยได้รับการยกย่องไปทั���วโลกทั้ง UN, WHO, และองค์กรอื่นๆ
ส่วนท่าทีของ กรรณิการ์ กิจติเวชกุล กรรมการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค โดยได้พูดถึง นายกฯ ประยุทธ์ ว่ามีระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการเป็นหลักทั้งกับ ตัวเองและครอบครัว อาจทำให้ ไม่สามารถเข้าใจถึงหัวใจและหลักคิดที่สำคัญของเรื่องนี้ จึงขอให้หาความรู้และสร้างความเข้าใจก่อนที่จะดำเนินนโยบายหรือตัดสินใจ โดยเน้นย้ำว่าหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านั้นมีประโยชน์ต่อประชาชน ไม่ใช่โครงการประชานิยมแต่เป็นสวัสดิการสังคม และมีมากกว่า60ประเทศที่ดำเนินนโยบายนี้
ปิดท้ายเรื่องนี้ ที่ท่าทีของนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ โพสเฟซบุ๊คใจความว่า " เท่าที่ทราบตลอด 14 ปียังไม่มีโรงพยาบาลไหนเจ๊ง แต่ผมแน่ใจว่าคนจนรอดชีวิตจากนโยบายนี้มาแล้ว ระบบนี้ทำให้คนจนกล้าไปหาหมอ มีความหวังในการรักษาชีวิต ไม่ใช่เป็นเพียงหลักประกันสุขภาพ แต่มันคือหลักประกันศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์"