ไม่พบผลการค้นหา
ความขัดแย้งระหว่างปาเลสไตน์กับอิสราเอลดำเนินมาได้ถึงกว่า 6 ทศวรรษแล้ว แต่ก็ยังไม่มีวี่แววว่าจะคลี่คลายลง ล่าสุดความตึงเครียดยิ่งเพิ่มมากขึ้น

ความขัดแย้งระหว่างปาเลสไตน์กับอิสราเอลดำเนินมาได้ถึงกว่า 6 ทศวรรษแล้ว แต่ก็ยังไม่มีวี่แววว่าจะคลี่คลายลง ล่าสุดความตึงเครียดยิ่งเพิ่มมากขึ้น

 

เมื่อปาเลสไตน์จะยื่นขอเป็นสมาชิกสมบูรณ์ของสหประชาชาติ ซึ่งจะส่งผลให้ปาเลสไตน์มีสถานะเป็นรัฐ ติดตามได้จากรายงานย้อนรอยความขัดแย้งปาเลสไตน์-อิสราเอล

 

แท่งปูน รั้วลวดหนาม และกำลังทหารของอิสราเอลถูกเพิ่มจำนวนขึ้นอีกครั้ง ภายในเมืองเยรูซาเลม และจุดตรวจคนเข้าเมืองเวสต์แบงก์ อันเนื่องมาจากตึงเครียดระหว่างทั้งสองประเทศที่เริ่มร้อนระอุขึ้น


หลังจากนายมาห์มุด อับบาส ประธานาธิบดีของปาเลสไตน์ ตัดสินใจยื่นเรื่องขอเป็นสมาชิกสมบูรณ์ต่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในวันนี้ ซึ่งจะมีผลให้ปาเลสไตน์มีสถานะเป็นรัฐ   โดยเขาให้เหตุผลว่า การเจรจาสันติภาพกับอิสราเอล ยืดเยื้อมายาวนานถึง 2 ทศวรรษ ไม่สามารถหาข้อยุติให้ปาเลสไตน์ได้รับการยอมรับเป็นรัฐได้ 



แต่การยื่นเรื่องขอเป็นสมาชิกครั้งนี้  ก็ถูกอิสราเอลและสหรัฐฯ คัดค้าน  เพราะเชื่อว่า ปาเลสไตน์จะเป็นรัฐได้  ต้องยอมรับจากการเจรจากับอิสราเอลเท่านั้น



ความขัดแย้งระหว่างชาวยิวและชาวปาเลสไตน์ เกิดขึ้นนับตั้งการประกาศเอกราชที่อ้างอิงตามมติขององค์การสหประชาชาติ เมื่อปี 2491 ที่ให้ก่อตั้งรัฐของชาวยิว และของชาวอาหรับขึ้นบนดินแดนปาเลสไตน์ ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองอังกฤษในขณะนั้น แต่ที่สุดแล้ว กลับมีเพียงประเทศอิสราเอลของชาวยิว ที่ถูกก่อตั้งขึ้น   จึงสร้างความไม่พอใจให้กับชาติอาหรับ จนนำไปสู่สงครามระหว่างชาติอาหรับ 4 ประเทศ คือจอร์แดน เลบานอน ซีเรียและอียิปต์กับอิสราเอล ซึ่งจบลงด้วยชัยชนะของอิสราเอล และการสถาปนาประเทศอิสราเอลอย่างเป็นทางการ  และทำให้ชาวปาเลสไตน์ เชื้อสายอาหรับ ต้องกลายเป็นเพียงผู้อาศัย ในดินแดนที่พวกเขาตั้งหลักแหล่งมายาวนานกว่า 1,300 ปี



ความขัดแย้งระหว่างทั้ง 2 ชนชาติ พัฒนาต่อเนื่องเรื่อยมา มีการสู้รบกันต่อเนื่องมาอีกหลายต่อหลายครั้ง เช่นสงคราม 6 วัน ในปี 2510 ที่จบลงด้วยชัยชนะของอิสราเอล จนนำมาซึ่งการผนวกดินแดนของฝ่ายชาติอาหรับ ซึ่งรวมถึงฉนวนกาซ่า เขตเวสต์แบงก์ และนครเยรูซาเล็มเป็นของอิสราเอล ซึ่งดินแดนเหล่านี้ ก็ยังคงเป็นดินแดนข้อพิพาทมาจนถึงปัจจุบัน



หลังความพ่ายแพ้ในสงคราม 6 วัน องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ หรือ PLO ก็ได้รับการสถาปนาขึ้น โดยนายยัสเซอร์ อราฟัด ผู้นำหัวรุนแรงของปาเลสไตน์ ต่อมาในปี 2531 นายอาราฟัต ก็ได้ประกาศตั้งประเทศปาเลสไตน์ขึ้น โดยถือเอาฉนวนกาซา และฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดนเป็นเขตแดน แต่ในทางปฏิบัติแล้ว ดินแดนดังกล่าวก็ยังอยู่ในการยึดครองของอิสราเอล



ด้วยความพยายามของทุกฝ่าย ทั้งองค์การสหประชาชาติ สหรัฐอเมริกาและประเทศต่างๆ การเจรจาสันติภาพระหว่างนายกรัฐมนตรียิตซัค ราบิน ของอิสราเอล และนายยัตเซอร์ อาราฟัต ในปี 2537 ก็ได้เกิดขึ้น ท่ามกลางความหวังของประชาคมโลกที่จะยุติปัญหาอันยืดเยื้อในดินแดนแห่งนี้ แต่สันติภาพระหว่างทั้ง 2 ชาติ ก็ดำรงอยู่ได้เพียงระยะสั้น เมื่อนาย ราบิน ถูกลอบสังหาร โดยชาวยิวหัวรุนแรง และเปิดโอกาสให้นายเบนจามิน เนทันยาฮู ผู้นำสายเหยี่ยวที่มีนโยบายแข็งกร้าว และนับจากนั้น สันติภาพ ก็ไม่เคยเกิดขึ้นในดินแทนศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้อีกเลย

 

Produced by VoiceTV

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog