ตัวอย่างการสร้างเมืองใหม่ของอียิปต์ขนาด 700 ตารางกิโลเมตรชานกรุงไคโร เพื่อลดปัญหาความแออัดของประชากรในอนาคต โดยใช้เงินลงทุน 1 ล้าน 4 แสนล้านบาท
โดยคาดว่า ปัญหาความแอดอัดจะเกิดขึ้นในอีก 40 ปีข้างหน้า ซึ่งปัจจุบัน ประชากรในกรุงไคโรมีทั้งสิ้นประมาณ 18 ล้านคน และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีก 2 เท่าตัว ในปี 2055
สำหรับงบประมาณลงทุนประมาณ 1 ล้าน 4 แสน 8 หมื่นล้านบาท เพื่อสร้างที่อยู่อาศัย สำนักงาน ศูนย์ราชการ ย่านเศรษฐกิจ โรงเรียนอีกกว่า 2,000 แห่ง และศูนย์สุขภาพประชาชนและโรงพยาบาลมากกว่า 600 แห่ง บนพื้นที่ 700 ตารางกิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 5-7 ปี จนกว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จ
รัฐบาลอียิปต์เชื่อว่า พื้นที่ดังกล่าวจะเป็นทำเลยุทธศาสตร์ในอนาคต โดยเฉพาะการขนส่งสินค้าทางเรือ และการเดินทางเชื่อมต่อกับภูมิภาคอื่น เอกชนร่วมลงทุนบอกว่า เมืองใหม่นี้จะใช้เทคโนโลยีขั้นสูงสุด
การสร้างเมืองใหม่เพื่อรองรับการเติบโตในอนาคต เป็นเทรนด์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ประกอบกับเมืองหลวงเก่าของบางประเทศ ไม่มีพื้นที่เพียงพอและประสบปัญหาความแออัด อาทิ บราซิล ไนจีเรีย เมียนมาร์ บางแห่งไม่มีการย้ายเมือง แต่สร้างเมืองสำหรับส่วนราชการใหม่ อาทิ ปุตราจายาของมาเลเซีย ไทยเอง เคยมีสมาชิกรัฐสภาเสนอให้ย้ายเมืองหลวงไปที่นครนายก หรือเพชรบูรณ์ จากปัญหาด้านสภาพภูมิประเทศ