ไม่พบผลการค้นหา
ประเทศไทยร่วมจัดงาน เนื่องในวันเปิดเผยข้อมูลสาธารณะสากล โดยมีพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่าง 4 หน่วยงาน ในการพัฒนา Open data เพื่อนำข้อมูลมาพัฒนาเศรษฐกิจประเทศ แต่การเปิดเผยข้อมูลภายใต้สถานการณ์พิเศษของไทย

ประเทศไทยร่วมจัดงาน  เนื่องในวันเปิดเผยข้อมูลสาธารณะสากล โดยมีพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่าง 4 หน่วยงาน ในการพัฒนา Open data เพื่อนำข้อมูลมาพัฒนาเศรษฐกิจประเทศ แต่การเปิดเผยข้อมูลภายใต้สถานการณ์พิเศษของไทย

บทบาทใหม่ของไทย ในการร่วมจัดกิจกรรมเนื่องในวันเปิดเผยข้อมูลสาธารณะสากลเป็นครั้งแรก พร้อมกันนี้ยังได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจ หรือเอ็มโอยู ในการพัฒนา Open Data ระหว่าง 4 หน่วยงาน ประกอบด้วย กระทรวงไอซีที ในฐานะภาครัฐ บริษัท ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย ในฐานะภาคเอกชน มหาวิทยาลัยอาเซียน ในฐานะภาคศึกษา และ Change Fusion ตัวแทนนักพัฒนา

การลงนามครั้งนี้  คาดหวังให้เกิดการเข้าถึงข้อมูล และสามารถนำมาพัฒนาสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจได้ โดยเฉพาะข้อมูลภาครัฐ เช่น ข้อมูลภัยพิบัติ เพื่อเฝ้าระวังภัย หรือ ข้อมูลการเบิกจ่ายงบประมาณ เพื่อสร้างความโปร่งใสและช่วยตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล

แต่ภายใต้สถานการณ์พิเศษของไทยในยุครัฐบาลทหาร ภาคเอกชนก็ยังมีความกังวลว่าการเข้าถึงข้อมูลรัฐในลักษณะ open data จะทำได้มากน้อยแค่ไหน

ด้านกระทรวงไอซีที ยืนยันว่า สถานการณ์พิเศษ ไม่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา open data แต่อยู่ที่การปรับกรอบความคิดของคนทำงานราชการ ในการเตรียมข้อมูลให้พร้อมเปิดเผยต่อสาธารณชนเพื่อให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้

open data จะเกิดขึ้นได้ ในสถานการณ์ที่ภาครัฐให้ความสำคัญกับเรื่องความมั่นคงเป็นหลัก ต้องเริ่มจากการจำกัดความข้อมูลที่ควรเป็นสาธารณะ นั่นรวมถึงข้อมูลการดำเนินงานของรัฐบาล การจัดซื้อจัดจ้าง การว่าจ้างภาคส่วนต่างๆ ในการทำงาน ซึ่งควรเป็นข้อมูลที่เปิดเผยมาแต่ต้น โดยไม่ต้องร้องขอ

เพราะหากรัฐอยากให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันคอร์รัปชั่น หัวใจหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือความโปร่งใส และหัวใจของความโปร่งใสก็คือ open data นั่นเอง

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog