ไม่พบผลการค้นหา
ฮ่องกงได้รับความสนใจจากคนทั่วโลกในฐานะเป็นแรงบันดาลใจในการเรียกร้องประชาธิปไตย แม้ว่าโอกาสที่จะทำสำเร็จแทบจะไม่มีเลย แต่ก็ยังมีคนลุกขึ้นมาเรียกร้องอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะครั้งล่าสุดที่กำลังเป็นข่าวไปทั่วโลก ส่วนใครที่เป็นบุคคลสำคัญในการขับเคลื่อนขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกงครั้งนี้บ้าง

ฮ่องกงได้รับความสนใจจากคนทั่วโลกในฐานะเป็นแรงบันดาลใจในการเรียกร้องประชาธิปไตย แม้ว่าโอกาสที่จะทำสำเร็จแทบจะไม่มีเลย แต่ก็ยังมีคนลุกขึ้นมาเรียกร้องอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะครั้งล่าสุดที่กำลังเป็นข่าวไปทั่วโลก ส่วนใครที่เป็นบุคคลสำคัญในการขับเคลื่อนขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกงครั้งนี้บ้าง

หากพูดถึงขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกงแล้ว คนแรกที่ไม่พูดถึงไม่ได้เลยก็คือ นายเบนนี ไต อาจารย์คณะนิติศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยฮ่องกง หนึ่งในผู้ก่อตั้งกลุ่ม Occupy Central With Love and Peace ที่เป็นเหมือนการจุดประกายในหัวใจของผู้รักประชาธิปไตยในฮ่องกง

อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกันยายนเป็นต้นมา จนกลายเป็นเหตุการณ์การประท้วงครั้งใหญ่ที่ทั่วโลกจับตามองนี้ นายไตกลับไม่ใช่คนที่ได้รับความสนใจมากที่สุด แต่เป็นนายโจชัว หว่อง ที่ได้รับเลือกให้ขึ้นปกนิตยสารไทม์ ในฐานะวัยรุ่นผู้ทรงอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่ง และถือเป็นผู้ทรงอิทธิพลคนหนึ่งในการเมืองฮ่องก็ว่าได้ หว่องเป็นเด็กวัยรุ่นอายุเพียง 18 ปี แต่ก้าวขึ้นมาเป็นแกนนำกลุ่ม Scholarism ที่เขาก่อตั้งขึ้นเมื่อเขาอายุเพียง 14 ปีเท่านั้น โดยรวมกลุ่มนักเรียนมัธยมศึกษาเพื่อต่อต้านนโยบายการศึกษาแห่งชาติจากจีนแผ่นดินใหญ่ และเขาก็ขึ้นมามีบทบาทสำคัญในการประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกงครั้งนี้ด้วย

แม้ในสายตาของต่างชาติที่มองการประท้วงในฮ่องกง จะเห็นว่านายหว่องมีบทบาทโดดเด่นที่สุด แต่ที่จริงแล้ว กลุ่มที่เป็นกำลังหลักในการเคลื่อนไหวครั้งนี้ก็คือ สหภาพนักศึกษาฮ่องกง ที่มีนายอเล็กซ์ เจา เป็นประธานสหภาพนักศึกษา และมีนายเลสเตอร์ ชุมเป็นกรรมการสหภาพนักศึกษา

สหภาพนักศึกษาฮ่องกง เรียกได้ว่าเป็นกลุ่มที่กำหนดทิศทางการประท้วง หรืออาจเป็นกลุ่มที่ออกหน้าในการชุมนุมครั้งนี้ รวมถึงเป็นตัวแทนของกลุ่มผู้ประท้วงหลักทั้ง 3 กลุ่ม เนื่องจากภาพที่นักศึกษาเป็นตัวตั้งตัวตีในการชุมนุม ได้รับการยอมรับมากกว่านายเบนนี ไต ซึ่งเป็นผู้ใหญ่ และถูกโจมตีมาอย่างหนักจากการเคลื่อนไหวครั้งก่อนๆ ซึ่งหากเขายังเป็นคนออกหน้ากำหนดทิศทางการชุมนุมอย่างชัดเจน การชุมนุมในครั้งนี้อาจไม่ประสบความสำเร็จเท่านี้ก็เป็นได้

ส่วนหนึ่งอาจเป็นผลมาจากการที่นักศึกษามหาวิทยาลัยหยุดเรียน ประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยกันด้วยพลังบริสุทธิ์ ดูไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนใดๆ แต่กลับโดนตำรวจฮ่องกงเข้าปราบปราม จึงทำให้ได้รับความสนใจ และความเห็นใจจากทั้งชาวฮ่องกงและคนทั่วโลก จนเป็นแรงกระตุ้นให้มีคนออกมาร่วมชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยกันจำนวนมากในช่วงต้นเดือนตุลาคม

อย่างไรก็ตาม แนวทางการต่อสู้ของทั้ง 3 กลุ่มก็ไม่ได้เป็นไปในทิศทางเดียวกันตลอดเวลา โดยเฉพาะช่วงหลังมานี้ที่มวลชนลดลงไปมาก และดูจะไม่มีทีท่าว่ารัฐบาลฮ่องกงและจีนแผ่นดินใหญ่จะยอมให้เลือกตั้งผู้ว่าการเกาะฮ่องกงกันง่ายๆ โดยที่ไม่ผ่านรัฐบาลจีน นอกจากนี้ แกนนำของทั้ง 3 กลุ่มก็ไม่สามารถควบคุมทิศทางการชุมนุ��ทั้งหมด เนื่องจากผู้ชุมนุมจำนวนมากมองว่า การชุมนุมครั้งนี้เป็นของประชาชนที่เห็นพ้องต้องกันว่าต้องการประชาธิปไตย ไม่ใช่การถูกชักนำของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ดังจะเห็นได้จากเสียงวิพากษ์วิจารณ์ หรือการไม่ปฏิบัติตามแนวทางการต่อสู้ของแกนนำแต่ละกลุ่ม

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
184Article
76559Video
0Blog