ไม่พบผลการค้นหา
นอกจากประเทศไทยจะมีประเพณียี่เป็งลอยโคมในช่วงเทศกาลลอยกระทงแล้ว เมียนมาร์ประเทศเพื่อบ้านของเราก็มีการลอยโคมเช่นกัน

Our World  ประจำวันที่ 9 พฤศจิกายน 2557

นอกจากประเทศไทยจะมีประเพณียี่เป็งลอยโคมในช่วงเทศกาลลอยกระทงแล้ว เมียนมาร์ประเทศเพื่อบ้านของเราก็มีการลอยโคมเช่นกัน 

ชาวพม่านับหมื่นคนต่างหลั่งไหลมาจากทั่วทุกสารทิศ เพื่อมาร่วมงานเทศกาลประจำปีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเทศกาลหนึ่งของประเทศ นั่นคือ "เทศกาลตาซองไดนง์" ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีที่นครตองยี เมืองหลวงของรัฐฉาน ตลอดการเฉลิมฉลอง 8 วัน 8 คืนนี้ ชาวพม่าต่างทุ่มทุนและลงแรงมหาศาล สร้างโคมลอยขนาดใหญ่มหึมาเพื่อใช้ปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้าถวายเป็นพุทธบูชาในคืนพระจันทร์วันเพ็ญ

เทศกาลตาซองไดง์เป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลอง "เดือนตาซองมอน" ตามปฏิทินโบราณของเมียนมาร์ หลังฤดูฝนและช่วงกฐินสิ้นสุด ชาวพม่าในรัฐฉานจะร่วมใจกันสร้างโคมลอยยักษ์ที่มีลักษณะ รูปแบบ และขนาดที่แตกต่างกัน บ้างก็ห้อยดอกไม้ไฟเพิ่มเติมลงไป เพื่อจุดระหว่างที่โคมถูกปล่อยไปแล้วเพื่อให้เกิดความสวยงาม ตามความสร้างสรรค์ของแต่ละกลุ่ม ซึ่งในทุกปีจะมีผู้สร้างโคมลอยยักษ์เหล่านี้เข้าประกวดหลายร้อยโคมเลยทีเดียว

การลอยโคมลอยยักษ์นี้ ชาวพม่าเชื่อว่าเป็นการบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณีบนสรวงสรรค์ชั้นดาวดึงส์ รวมทั้ง ลอยทุกข์ลอยโศกหรือสิ่งอัปมงคลให้ออกไปจากชีวิต ซึ่งเป็นความเชื่อเดียวกับ "ประเพณียี่เป็ง" ของชาวล้านนาในภาคเหนือของไทยไม่ผิดเพี้ยน

ในสมัยที่เมียนมาร์ยังตกเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิอังกฤษ ชาวอังกฤษได้จัดการประกวดโคมลอยยักษ์ครั้งแรกในปี 1894 ที่เมืองตองยี ทำให้เทศกาลสำคัญของรัฐฉานนี้ ได้รับการเผยแพร่ไปทั่วเมียนมาร์ทั้งในเมืองปะยิ่นอูละหวิ่นหรือเมเมียว และเนปิดอว์ เมืองหลวงของเมียนมาร์ด้วย 

อย่างไรก็ตาม หลายปีที่ผ่านมาจำนวนโคมลอยยักษ์จากงานเทศกาลตาซองไดง์ กำลังสร้างปัญหาให้กับประชาชน เนื่องจากโคมเหล่านี้มักตกลงตามหลังคาบ้านเรือน หรือบนท้องถนน โดยเมื่อ 2 ปีที่แล้ว เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนจากโคมลอยยักษ์ทำให้มีผู้เสียชีวิต 4 ราย ที่สำคัญ โคมเหล่านี้มีขนาดใหญ่กว่าโคมยี่เป็งหลายเท่า และมีไส้เทียนขนาดใหญ่เท่าท่อนซุง จึงอันตรายกว่า และบ้างครั้งดอกไม้ไฟที่ห้อยอยู่ข้างใต้โคมก็เกิดระเบิดขึ้นระหว่างจุดด้วย

อูตานส่อ หนึ่งในผู้ที่สร้างโคมลอยยักษ์กล่าวว่า เขาประดิษฐ์โคมเพื่อนำมาปล่อยในงานเทศกาลทุกปี บางครั้งเขาก็รู้สึกเสียใจเมื่อได้ยินข่าวว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บห���ือเสียชีวิตจากโคมลอยยักษ์ และอยากกล่าวขอโทษหากโคมลอยของเขาสร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น แต่เหตุผลนี้ก็ไม่ได้ทำให้เขาล้มเลิกความคิดที่จะสร้างโคม เพราะศิลปะการทำโคมได้ถูกปลูกฝังเข้าไปในจิตใจของเขาแล้ว ทางเดียวมี่จะเลิกทำมันก็คือเมื่อเขาจบชีวิตลงแล้วเท่านั้น

ท้ายที่สุด เทศกาลตาซองไดนง์ นอกจากจะเหมือนกับประเพณียี่เป็งในแง่ของความเชื่อและศรัทธา ก็ยังกำลังประสบปัญหาไม่แตกต่างไปจากการปล่อยโคมลอยในประเทศไทยนัก ดูเหมือนว่าการปล่อยโคมลอยเพื่อเอาทุกข์เอาโศกของเราออกไปอย่างพรํ่าเพรื่อ กำลังนำความทุกข์ไปสู่ผู้อื่น แต่ผู้ที่ยังยึดติดไม่ยอมเปลี่ยนแปลง ก็ใช้ข้ออ้างว่านี่เป็นการรักษาวัฒนธรรมอันดีงามเอาไว้ ทั้งที่ผู้ลอยโคมจำนวนมาก ไม่เคยศึกษาวัฒนธรรมเหล่านี้อย่างถ่องแท้

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog