ไม่พบผลการค้นหา
คริส เบเคอร์ เขียนบทวิเคราะห์ป้ายหาเสียงของไทยอีกครั้ง โดยครั้งนี้ถึงคราวของ นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ซึ่งเบเคอร์มองว่ามีความโดดเด่นเป็นอย่างมาก

คริส เบเคอร์ เขียนบทวิเคราะห์ป้ายหาเสียงของไทยอีกครั้ง โดยครั้งนี้ถึงคราวของ นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ซึ่งเบเคอร์มองว่ามีความโดดเด่นเป็นอย่างมาก

 

คริส เบเคอร์ ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับประเทศไทย เขียนบทวิเคราะห์ป้ายหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้งลงในเว็บไซต์ new mandala อีกครั้ง ครั้งนี้เป็นคราวของนายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ หัวหน้าพรรครักประเทศไทย

 

ซึ่ง คริส เบเคอร์มองว่าภาพใบหน้าของชูวิทย์ที่ใช้ในป้ายหาเสียง ดูคล้ายกับยักษ์ในวรรณคดีไทย แต่การดูเหมือนยักษ์นี้ไม่ใช่สิ่งเลวร้าย เพราะแม้ยักษ์จะดูน่ากลัว แต่ก็มักจะทำหน้าที่ปกปักษ์รักษามากกว่าทำร้าย

 

นอกจากชูวิทย์จะมีคำ ขวัญที่เป็นเอกลักษณ์ว่า "ผมขอเป็นฝ่ายค้าน" ชูวิทย์ยังเข้าใจทฤษฎีข้อหนึ่งของการตลาดอย่างดี  นั่นคือความได้เปรียบของผู้บุกเบิกตลาด จะเห็นได้ว่า ชูวิทย์ขึ้นป้ายหา���สียงก่อนที่จะได้หมายเลขเสียอีก และป้ายเหล่านั้น ก็มีคุณภาพดีพอที่จะทนแดดทนฝนจนถึงการเลือกตั้ง ผิดกับป้ายหาเสียงของพรรคอื่นๆ ที่เสียหายไปเป็นจำนวนมาก

 

ความแตกต่างของป้ายหาเสียงของชูวิทย์กับผู้สมัครอื่นๆ ก็คือ ป้ายของชูวิทย์ดูสมจริงมากกว่า ด้วยคุณภาพในการพิมพ์  และท่าทางในการสื่อความหมายที่ชัดเจน จนเหมือนตัวของชูวิทย์ออกมาจากป้ายได้

 

ในป้ายหาเสียงชุดแรกมีทั้งภาพชูวิทย์เอามือกุมหัว เผยอปากเล็กน้อยให้พอเห็นฟันยักษ์ ภาพชูวิทย์ชี้นิ้วมายังคนดู ด้วยสายตาเบิกกว้าง ส่งสัญญาณว่าเรากำลังอยู่ในอันตราย และภาพชูวิทย์ใช้มือสองข้างกุมหัว ดูคล้ายกำลังจะอาเจียน สื่อให้เห็นว่า เขาห่วงใยประชาชนมากกว่าผู้สมัครคนอื่นๆ

 

ป้ายหาเสียงชุดที่สองชูวิทย์ใช้พวงมาลัยรถเป็นอุปกรณ์ประกอบฉาก เพื่อสื่อว่า เราควรจะเดินหน้าไปในทางที่ถูกต้อง

 

ส่วนป้ายหาเสียงชุดที่สาม ซึ่งเพิ่งออกมาเร็วๆ นี้ ท่าทางของชูวิทย์เปลี่ยนไปจากกังวล เป็นสุขุมและจริงจัง แต่สิ่งที่ประหลาดออกไปคือ ในครั้งนี้ เขาไม่ได้ระบุว่าเขาพร้อมทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้านอีกต่อไป

 

ในขณะที่ป้ายอีกรูปแบบหนึ่งออกมาเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งคริส เบเคอร์เองก็ไม่แน่ใจว่าชูวิทย์ต้องการจะสื่ออะไร

ก่อนหน้านี้ คริส เบเคอร์ ได้วิเคราะห์ทั้งป้ายหาเสียงของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

ซึ่งเขามองว่าป้ายของนายอภิสิทธิ์เป็นแบบอนุรักษ์นิยม ที่ต้องใส่เชิ้ตขาว ทับด้วยสูทของพรรค ซึ่งเป็นวัฒนธรรมของพวกข้าราชการรุ่นเก่า นอกจากนี้ รูปภาพของนายอภิสิทธิ์ยังดูเป็นภาพมิติเดียว ที่ถูกบดบังด้วยการดึงความสนใจไปที่ตัวอักษรอภิบายนโยบายของพรรค

 

ในขณะที่ภาพป้ายหาเสียงของนางสาวยิ่งลักษณ์มีความสมจริง และจับต้องได้ แม้จะแสดงให้เห็นความเป็นสตรีมากเกินไป แต่ก็เป็นการท้าทายค่านิยมทางการเมืองของประเทศ ที่ให้ความสำคัญกับเพศชายได้เป็นอย่างดี

 

Produced by Voice TV

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
190Article
76559Video
0Blog