ไม่พบผลการค้นหา
ตับของฉลามวาฬเป็นที่ต้องการของชาวประมงในเคนยา ทำให้จำนวนฉลามวาฬลดลงจนถึงระดับใกล้สูญพันธ์ นักวิจัยจึงทำเครื่องติดตามพฤติกรรมของสัตว์ชนิดนี้

ตับของฉลามวาฬเป็นที่ต้องการของชาวประมงในเคนยา ทำให้จำนวนฉลามวาฬลดลงจนถึงระดับใกล้สูญพันธ์ นักวิจัยจึงทำเครื่องติดตามพฤติกรรมของสัตว์ชนิดนี้ หวังแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

ฉลามวาฬเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในหมู่พันธุ์สัตว์น้ำทั้งหมด มักพบได้ในทะเลน้ำอุ่น เขตร้อนชื้น สัตว์น้ำขนาดยักษ์ตัวนี้กินแพลงตอน และปลาขนาดเล็กเป็นอาหาร ไม่ทำอันตรายใดๆต่อมนุษย์ แต่ในทางกลับกัน ความต้องการตับฉลามวาฬของมนุษย์ทำให้มันกำลังตกอยู่ในสถานการณ์อันตรายเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เป็นอย่างยิ่ง

กลุ่มนักอนุรักษ์ฉลามวาฬ ในเขตแอฟริกาตะวันตก พยายามที่จะเพิ่มอัตราการการอยู่รอดของมัน โดยเชื่อว่า การใช้เส้นทางผ่านชายฝั่งทะเลประเทศเคนยาระหว่างการอพยพฝูง ทำให้ฉลามวาฬเสี่ยงต่อการถูกล่า จากความต้องการของชาวประมงในเคนยา ที่ใช้น้ำมันตับของฉลามวาฬดูแลรักษาเรือ ให้ยังคงสภาพสำหรับการออกทะเล ซึ่งน้ำมันตับปลาจำนวนหลายลิตรถูกทาลงกับตัวเรือ เพื่อให้เรือมีอายุการใช้งานที่นานขึ้น อลี ซัลตาน ชาวระมงกล่าวว่า พวกเขาเลือกตับฉลามวาฬเพราะว่าตับของมันมีขนาดใหญ่มากกว่าฉลามชนิดอื่น เมื่อใช้ทาเรือแล้วยังมีเหลือเก็บไว้ใช้ในปีต่อไปได้อีก 

กลุ่มอนุรักษ์ตั้งใจจะแก้ไขปัญหานี้ ด้วยการติดอุปกรณ์ติดตามฉลามวาฬ เพื่อจะศึกษาลักษณะนิสัยและเส้นทางอพยพของมัน  โวคเกอร์ บาสเซน (Volker Bassen) นักอนุรักษ์ กล่าวว่าอุปกรณ์ติดตามมีอายุการใช้งาน 5 ปี หลังอุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นเงี่ยงผลิตจากไทเทเนียม จะไม่ทำอันตรายใดๆกับผิวหนังของฉลามวาฬ หลังจากที่ฝังลงไปใต้ผิวหนัง

จากการบันทึกสถิตการพบฉลามวาฬในเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม เฉลี่ยมีการพบฉลามวาฬในอัตรา1ตัว ต่อวัน ลดลงจากปี 2551 ที่พบ 5 ตัวต่อวัน ชี้ให้เห็นว่าฉลามวาฬลดจำนวนลงอย่างเห็นได้ชัด ฉลามวาฬที่โตเต็มวัยมีน้ำหนักกว่า 30 ตัน หนักเท่ากับช้างแอฟริกา 5 ตัวรวมกัน และมีความยาวของลำตัวมากกว่า 18 เมตร
และขนาดตับฉลามวาฬที่ใหญ่กว่าปลาชนิดอื่นถึง 40 เท่า ทำให้ฉลามวาฬกลายเป็นสินค้าที่ตลาดต้องการ ประเทศเคนยายังไม่มีกฏหมายคุ้มครองฉลามวาฬ ชาวประมงจึงไม่ได้หวาดหวั่นใดๆ กับการไล่ล่า และแม้ว่าฉลามวาฬจะอยู่ในรายชื่อสัตว์อนุรักษ์ใหม่ของประเทศ แต่ก็ยังไม่เแน่ชัดว่ากฏหมายคุ้มครองสัตว์น้ำขนาดยักษ์นี้จะใช้บังคับได้เมื่อใด

อย่างไรก็ตามโครงการสนับสนุนประชาชนในประเทศมีส่วนเฝ้าระวัง รวมถึงกลุ่มนักท่องเที่ยวอนุรักษ์ธรรมชาติ ในบางประเทศ สามารถช่วยลดความต้องการน้ำมันตับจากฉลามยักษ์ชนิดนี้ได้ สำหรับเคนยาแล้วกลุ่มอนุรักษ์ก็หวังว่าจะประสบความสำเร็จทำให้มันมีชีวิตรอดในชายฝั่งตะวันตกของแอฟริกาต่อไปได้เช่นเดียวกัน

Produced by VoiceTV

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
182Article
76558Video
0Blog