เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อสร้างประสบการณ์นำเสนอเนื้อหาที่ดีให้กับท่าน รวมถึงเพื่อใช้วิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาด หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้ต่อไป แสดงว่าท่านอนุญาตยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์และนโยบายสิทธิส่วนบุคคลของเรา
ไม่นานหลังกองทัพเข้ายึดอำนาจรัฐบาลพลเมืองเมียนมา คณะรัฐประหารเร่งออกคำสั่งถึงผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตปิดการเข้าถึงสังคมโซเชียลมีเดียของพลเมืองในประเทศอาทิ เฟซบุ๊ก และอินสตราแกรมเป็นการชั่วคราว
อย่างไรก็ดีเมื่อก้าวเข้าสู่วันที่ 6 ของการรัฐประหาร สื่อต่างชาติรายงานว่า ล่าสุด รัฐบาลสั่งปิดผู้ให้บริการสัญญาณอินเทอร์เน็ตทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในนครย่างกุ้งที่มีการรวมตัวกันของประชาชนเพื่อชุมนุมประท้วงต้านกองทัพ
นอกจากนี้ NetBlocks ซึ่งเป็นองค์กรอิสระที่ศึกษาประเด็นการให้บริการสัญญาณอินเทอร์เน็ตระบุว่าเมียนมากำลังตกอยู่ในสภาวะที่แทบจะถูกชัตดาวน์อันเทอร์เน็ตเกือบ 100% เมื่อเวลาประมาณ 14.00 น. NetBlocks ชี้ว่าการติดต่อผ่านสัญญาณอินเทอร์เน็ตในเมียนมาแค่เพียง 16% จากระดับการสื่อสารทั่วไปเท่านั้น
ด้านสถานทูตอังกฤษประจำประเทศเมียนมาแสดงความกังวลว่าการปิดกั้นการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตครั้งนี้จะกลายเป็นกลยุทธ์ส่วนหนึ่งที่ผู้มีอำนาจใช้เพื่อควบคุมผู้เห็นต่างในประเทศ พร้อมย้ำให้กองทัพเมียนมายกเลิกการขัดความเสรีภาพในการสื่อสารและแสดงออกของประชาชน
ขณะที่สถานทูตสหรัฐฯ แถลงเรียกร้องให้กองทัพคืนอำนาจกลับสู่มือของรัฐบาลพลเรือนที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาอย่างชอบธรรมตามระบอบประชาธิปไตย และยกเลิกมาตรการขัดขวางการสื่อสารของผู้คน
ด้านคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติทวีตข้อความระบุว่ากองทัพและเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องคำนึงและเคารพถึงสิทธิในการรวมตัวกันอย่างสันติของผู้คน อีกทั้งยังต้องคืนเสรีภาพในการติดต่อสื่อสารและเข้าถึงข้อมูลโดยทันที
">#Myanmar’s military and police must ensure the right to peaceful assembly is fully respected and demonstrators are not subjected to reprisals. Internet and communication services must be fully restored to ensure freedom of expression and access to information. https://t.co/CvT0P4hVSo
— UN Human Rights (@UNHumanRights) February 6, 2021
รอยเตอร์ รายงานว่าการประท้วงครั้งนี้ผู้คนเมียนมาเลือกใส่สีแดงเนื่องจากเป็นสีของพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือ พรรคเอ็นแอลดี ของอองซาน ซูจี ที่เพิ่งชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มเมื่อ 8 พ.ย. 2563 และแม้การประท้วงจะสิ้นสุดไปในช่วงบ่ายแต่ผู้สื่อข่าวต่างประเทศรายงานว่ายังมีประชาชนจำนวนหนึ่งที่นั่งอยู่ตามท้องถนน
ในวันเดียวกัน (6 ก.พ. 2564) เวลา 18.30 น. ชาวเมียนมาในประเทศไทยรวมตัวกันประท้วงการยึดอำนาจของกองทัพ หน้าองค์การสหประชาชาติ ประเทศไทย (UN)
อ้างอิง; Nikkei Asian Review, MMTimes
ข่าวที่เกี่ยวข้อง;