กราบเรียนพี่น้องประชาชนที่เคารพรัก กระผม ดร.เกษม ศุภสิทธิ์ อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัด พัทยา ปัจจุบันเป็นข้าราชการบํานาญศาลยุติธรรม ประกอบอาชีพทนายความ
เหตุผลที่ผมต้องเสนอประเด็นข้อกฎหมายกรณีท่านนายกรัฐมนตรีจะดํารงตําแหน่งครบ 8 ปีแล้ว หรือไม่นั้น ผมในฐานะที่เป็นนักกฎหมายและเคยรับใช้ประเทศชาติในตําแหน่งผู้พิพากษามีความเห็น ดังนี้ครับ ในประเด็นเรื่องของนายกรัฐมนตรีจะดํารงตําแหน่งครบ 8 ปีแล้วหรือไม่นั้น ผมไม่มีเจตนาที่จะ โน้มน้าวศาลรัฐธรรมนูญในการที่จะวินิจฉัยขี้ขาดในประเด็นเรื่องดังกล่าว อย่างไรก็แล้วแต่ คําพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญนั้นจะต้องวินิจฉัยออกมาไม่ทางใดก็ทางหนึ่งในสองแนวทาง ดังนี้
แนวทางที่ 1 หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า “การดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้น ยังไม่ครบ 8 ปี” เนื่องจากตําแหน่งนายกรัฐมนตรีตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2557 ตามรัฐธรรมนูญปี 2557 ไม่มีผลบังคับใช้ จะเกิดประเด็นข้อกฎหมายตามมาดังนี้
1. นายกรัฐมนตรีที่ปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2557 นั้น อาศัยอํานาจฐาน กฎหมายใดในการบริหารประเทศชาติ เพราะ นายกรัฐมนตรี เมื่อได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรด กระหม่อมให้ดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรี เช่นนี้ อํานาจและหน้าที่ของ นายกรัฐมนตรีเกิดขึ้นทันทีโดยผลของ กฎหมาย และนายกรัฐมนตรีมีฐานะเป็นหัวหน้ารัฐบาลมีอํานาจหน้าที่ตามมาตรา 11 ตามระเบียบบริหาร ราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งตําแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้นเป็นผู้นําฝ่ายบริหารและมีอํานาจที่จะทํา สนธิสัญญา โยกย้ายข้าราชการ อนุมัติงบประมาณตามกฎหมายดังนั้น หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยไปใน แนวทางที่ 1 นี้ ตําแหน่งและฐานะนายกรัฐมนตรีของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นับแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2557 ย่อมไม่มีผลตามกฎหมาย
2. การใช้อํานาจตามกฎหมาย ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ของ นายกรัฐมนตรี นับแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2557 เป็นต้นมานั้นไม่อาจใช้บังคับได้ และการกระทําที่ล่วงพ้นผ่าน มาแล้ว มีผลเป็นโมฆะทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการทําสนธิสัญญา การโยกย้ายข้าราชการ การรับเงินเดือน หรือการ พิจารณางบประมาณต่าง ๆ ย่อมเป็นการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และคําถามจะเกิดตามมาคือ นายกรัฐมนตรีใช้อํานาจตามกฎหมายใดในการบริหารประเทศนับตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2557
แนวทางที่ 2 หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า “การดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีครบ 8 ปี” โดยนับระยะเวลาการดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2557 และวาระการดํารงตําแหน่ง นายกรัฐมนตรี เริ่มนับการดํารงตําแหน่งตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2557 เป็นต้นไป เกิดผลตามขอ้ กฎหมายคือ การใช้อํานาจของนายกรัฐมนตรีนั้น มีอํานาจและหน้าที่ตามกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 รองรับการใช้อํานาจนั้น
อนึ่ง ความเป็นนายกรัฐมนตรีนั้น
1. เจตนารมณ์ของกฎหมายมุ่งไปที่ “ตัวบุคคลของนายกรัฐมนตรี” ซึ่งเป็นผู้ใช้อํานาจนั้น โดยไม่ได้คํานึงถึงว่า ที่มาของการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีจะมาทางใด เช่น นายกรัฐมนตรีอาจมาจากรัฐสภา ลงมติเลือก หรือ กรณีหากมีการรัฐประหาร และต่อมาคณะรัฐประหารแต่งตั้งคณะบุคคลขึ้นมาเพื่อทําหน้าที่ เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งเป็นสภาเดี่ยว แต่ทําหน้าที่ในสองฐานะ คือ ฐานะหนึ่งเป็นสภาผู้แทนราษฎร และอีกฐานะหนึ่งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ทําหน้าที่เสนอและกลั่นกรองกฎหมาย รวมถึงเสนอ งบประมาณแผ่นดินต่อรัฐบาลในช่วงที่ยังไม่มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามกฎหมายเข้ามาทํา หนา้ที่ดังนั้นสภานิติบัญญัติแห่งชาติย่อมทําหน้าที่เป็นรัฐสภาซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชน
2. เจตนารมณ์ของกฎหมายรัฐธรรมนูญ กรณีห้ามนายกรัฐมนตรีคนเดียวกัน ดํารง ตําแหน่งเกินกว่า8ปีนั้นมีเจตนารมณก์็คือเพื่อที่จะเปลยี่นผู้นําประเทศให้ผู้อื่นที่มีความรู้ความสามารถได้มี โอกาสที่จะเข้ามาบริหารประเทศชาติได้ และขณะเดียวกันป้องกันไม่ให้มีการสืบทอดอํานาจในการบริหาร ราชการแผ่นดิน และเพื่อที่จะคัดกรองบุคคล ที่มีความเหมาะสม มีความรู้ความสามารถ ตามสถานการณ์ของ ประเทศ และภาวะของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ให้ได้มีโอกาสเข้ามาบริหารประเทศชาติ เพื่อทําความเจริญให้แก่ บ้านเมืองต่อไป
บทความข้างต้นนี้ ไม่มีเจตจํานงที่จะชี้นําศาลรัฐธรรมนูญในการวินิจฉัยในกรณีดังกล่าว แต่เป็นข้อเท็จ ที่ศาลรัฐธรรมนูญจะต้องวินิจฉัยออกมาไม่แนวทางใดก็แนวทางหนึ่งข้างต้น ซึ่งข้าพเจ้าในฐานะที่เป็น นักกฎหมาย จึงขอเสนอความเห็นในกรณีดังกล่าวข้างต้นซึ่งเป็นความเห็นส่วนตัว และไม่ว่าศาลรัฐธรรมนูญจะ มีคําวินิจฉัยออกมาทางใดทางหนึ่ง ข้าพเจ้าก็น้อมรับคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญทุกประการ
ดร.เกษม ศุภสิทธิ์ (น.บ.)(น.บ.ท.)(น.ม.)(ร.ป.ด.) ทนายความและที่ปรึกษากฎหมาย (อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดพัทยา) 9 กันยายน 2565