Transition Team หรือ ‘ทีมเปลี่ยนผ่านรัฐบาล’ โดยทั่วไปมักจัดตั้งขึ้นในช่วงการเปลี่ยนแปลงระหว่างรัฐบาลหนึ่ง ไปสู่อีกรัฐบาลหนึ่งหลังการเลือกตั้ง โดยมีภารกิจหลักคือ ช่วยให้การถ่ายโอนอำนาจและภาระงานเป็นไปอย่างราบรื่น เพื่อให้การบริหารประเทศดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ
ทีมเปลี่ยนผ่านรัฐบาลในหลายประเทศ มีบทบาทสำคัญมาก เนื่องจากการจัดตั้งรัฐบาลและการเข้ารับตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีหรือประธานาธิบดีในระยะแรก ต้องเผชิญกับความยากลำบากและความท้าทายหลายประการ เริ่มตั้งแต่ปัญหาซับซ้อนขององค์กร, ระเบียบการของรัฐบาล กระบวนการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ความรับผิดชอบในฐานะผู้นำ การจะเข้าใจและปฏิบัติงานอย่างครบถ้วนรอบด้านถือเป็นเรื่องยากมากหากไม่มีทีมทีคอบสนับสนุนและเป็นที่ปรึกษา และยิ่งยากหากนายกรัฐมนตรี (คนใหม่) แทบจะนับหนึ่งใหม่ หรือไม่เคยดำรงตำแหน่งใดที่ต้องเผชิญบทบาทคล้ายกันมาก่อน
ความยากต่อมา คือการดำเนินนโยบายตามที่หาเสียงไว้ช่วงเลือกตั้ง เนื่อจากนายกรัฐมนตรีต้องปฏิบัติงานภายใต้โครงสร้างระบบราชการที่ซับซ้อน ประสานงานกับกระทรวงและกรมต่างๆ ของรัฐบาล และจัดการผลประโยชน์ที่มีผู้มีส่วนใดส่วนเสียจำนวนมาก ดังนั้น รัฐบาลใหม่ต้องรักษาสมดุลระหว่างความเป็นจริงทางการเมือง ความคิดเห็นของประชาชน และความเป็นไปได้ของการดำเนินนโยบายของตนอีกด้วย
ในสหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ เกาหลีใต้ และอีกหลาายประเทศ มีการจัดตั้ง Transition Team เป็นปกติ โดยวางบทบาทของทีมไว้ต่างแตกกันตามความจำเป็นและบริบทของประเทศ อย่างไรก็ตาม การมีทีมเปลี่ยนรัฐบาลมีทั้งความจำเป็นและข้อควรระวังหลายประการ เช่น ข้อดีคือ ช่วยให้การบริหารและดำเนินนโยบายมีความต่อเนื่อ ไม่หยุดชะงัก, ช่วยในการถ่ายโอนความรู้จากรัฐบาลเดิม ทั้งกระบวนการทำงาน บริบททางประวัติศาสตร์ ตลอดจนประสบการและความเชี่ยวชาญของรัฐบาลเดิม เพื่อเป็นแนวทางให้กับรัฐบาลใหม่ได้ และช่วยให้รัฐบาลใหม่สามารถแก้ไขปัญหาเร่งด่วนและดำเนินการตามวาระนโยบายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในหลายประเทศ ทีมเปลี่ยนผ่านมีหน้าที่ประสานงานใกล้ชิดกับหน่วยข่าวกรองและกองทัพเพื่อรักษาความต่อเนื่องและหลีกเลี่ยงความเปราะบางในความมั่นคงของประเทศระหว่างถ่ายโอนอำนาจอีกด้วย
ข้อควรระวัง คือ ทีมเปลี่ยนผ่านในบางประเทศ จะดำเนินงานในกรอบเวลาช่วงเลือกตั้งและหลังเลือกตั้งก่อนเริ่มต้นรัฐบาลใหม่ ข้อจำกัดด้านเวลานี้ อาจทำให้การประเมินปัญหาที่ซับซ้อนอย่างละเอียดถี่ถ้วนและพัฒนากลยุทธ์ที่ครอบคลุมเป็นเรื่องยาก อีกทั้งทีมเปลี่ยนผ่าน มักประกอบด้วยบุคคลที่สังกัดในรัฐบาลที่เข้ามาใหม่ ซึ่งอาจมีอคติหรือความลำเอียงในกระทำงาน และอาจส่งผลต่อความเป็นกลางของการประเมิน หรือการให้พื้นที่การมีส่วนร่วมขอผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทีมเปลี่ยนผ่านอาจขาดประสบการณ์ และไม่เข้าใจความท้าทาย รวมถึงความซับซ้อนของงานดีพอ หากไม่ได้เตรียมการเผชิญกับความขัดแย้งดีพอ ก็อาจส่งผลต่อการทำงานของภาครัฐ และทำให้การดำเนินนโยบายล่าช้าได้
โดยทั่วไป ทีมเปลี่ยนผ่านของแต่ละประเทศจะได้รับการแต่งตั้งหรือเลือกโดยผู้นำหรือฝ่ายบริหารที่เข้ามา องค์ประกอบเฉพาะของทีมจะมีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับประเทศ อีกทั้งระยะเวลาการทำงานของทีมเปลี่ยนผ่าน ก็อาจมีระยะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ผลของการเลือกตั้ง ความเร็วของกระบวนการเปลี่ยนผ่าน และลำดับความสำคัญของฝ่ายบริหารที่เข้ามา ทีมงานมีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการงานที่หลากหลายในช่วงเวลานี้ รวมถึงการพัฒนานโยบาย การคัดเลือกบุคลากร การประสานงานหน่วยงาน และการวางแผนการสื่อสาร ฯลฯ
ส่วนประเทศไทย Transition Team เริ่มเป็นที่พูดถึงหลัง ‘พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ หัวหน้าพรรคก้าวไกล และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีพรรคก้าวไกล แถลงในวันที่ 30 พ.ค. โดยพิธากล่าวว่า หลักการหารือกับหัวหน้าทั้ง 8 พรรคเพื่อฟอร์มรัฐบาล หนึ่งในเรื่องสำคัญที่ได้มีมติร่วมกันคือ การจัดตั้งคณะทำงานช่วงเปลี่ยนผ่านรัฐบาล ซึ่งประกอบไปด้วย
สำหรับพรรคก้าวไกล ความสำคัญของคณะทำงานเปลี่ยนผ่านฯ ไม่ใช่แค่การเปลี่ยนอำนาจจากรัฐบาลหนึ่งสู่อีกรัฐบาลหนึ่งดังเช่นในอดีตเท่านั้น แต่ตั้งขึ้นเพื่อหาทางออกร่วมกันในการแก้ไขปัญหาและกลั่นกรองวาระการทำงานทั้ง 23 เรื่องใน MOU มีภารกิจทั้งหมด 7 ด้าน คือ
คณะทำงานที่ 1 ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำมันดีเซล และพลังงาน
คณะทำงานที่ 2 ปัญหาภัยแล้ง เอลนีโญ
คณะทำงานที่ 3 ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
คณะทำงานที่ 4 แก้ไขรัฐธรรมนูญ
คณะทำงานที่ 5 ปัญหาสิ่งแวดล้อม และ PM2.5
คณะทำงานที่ 6 ปัญหาเศรษฐกิจปากท้อง และเอสเอ็มอี
คณะทำงานที่ 7 การแก้ไขปัญหายาเสพติด
ศิริกัญญาตันสกุล ให้สัมภาษณ์ในกรุงเทพธุรกิจว่า คณะทำงานช่วงเปลี่ยนผ่านรัฐบาล คือทีมที่ทำงานต่อเนื่องระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลทั้ง 8 พรรค หลังการรลงนามใน MOU ร่วมกัน เพื่อให้พรรคร่วมที่จะเข้ามาเป็นรัฐบาลสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น และจะช่วยให้พรรคร่วมสามารถสร้างบรรยากาศการทำงานที่ให้เกียรติซึ่งกันและกันได้
ส่วนในรายละเอียด ชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล กล่าวว่า หลังเดินสายรับฟังความคิดเห็นกับทุกภาคส่วนแล้ว จะนำประเด็นต่างๆ มาเป็นการบ้านให้คณะทำงานเปลี่ยนผ่าน เพื่อนำมาหารือ วางแนวทาง และเป้าหมายว่าจะต้องบรรลุวัตถุประสงค์ใด ตลอดจนจะมีกรอบการทำงาน และองค์ประกอบการทำงานอย่างไรบ้าง
ยุทธพร อิสรชัย รองศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้ให้สัมภาษณ์ในรายการ ThaiPBS มองว่า ปัจจัยที่จะทำให้พรรคก้าวไกลจัดตั้งรัฐบาลสำเร็จมีอยู่ 2 ส่วน คือหนึ่ง - คะแนนเสียงที่จะต้องได้ 376 ขึ้นไปในสภาร่วม และสอง - การกำหนดยุทธศาสตร์ในพรรคร่วมรัฐบาล
เครื่องมือในการกำหนดยุทธศาสตรในพรรคร่วม 8 พรรคมีหลายรูปแบบ เช่น การจัดทำ MOU ที่สะท้อนให้เห็นการต่อรองในรัฐบาลผสม และความมั่นใจในกติกาและสถาการณ์การเมืองที่ไม่แน่นอน ดังนั้น การจัดทำ MOU คือเครื่องมือที่พรรคก้าวไกลนำมาใช้เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจหลังจากนี้
ส่วนคณะการทำงานเปลี่ยนผ่านรัฐบาล (Transition Team) ถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่ต้องมาคู่กับการทำ MOU เนื่องจากก่อนหน้านี้ประเทศไทยอยู่ในบรรยากาศประชาธิปไตยลูกผสม ที่กำลังพยายามเปลี่ยนผ่านสู่การมีประชาธิปไตยที่มากขึ้น ดังนั้น การมีคณะการทำงานเปลี่ยนผ่าน จึงเป็นสิ่งจำเป็น และเพื่อแก้ปัญหาในเชิงโครงสร้างของรัฐราชการด้วย
ว๊อยซ์ จึงรวบรวมโมเดล Transition team ในประเทศต่างๆ ที่มีรูปแบบแตกต่างกัน พวกเขามีวิธีการอย่างไรในการทำงาน และทีมนี้ สำคัญและจำเป็นอย่างไรต่อรัฐบาลใหม่ที่จะเข้ามาบริหารประเทศ
ในสหรัฐอเมริกา มีกระบวนการที่เรียกว่า White House Transition ซึ่งเป็นการถ่ายโอนอำนาจและหน้าที่รับผิดชอบจากทีมประชาธิบดีชุดเก่า สู่ประธานาธิบดีชุดที่กำลังเข้ารับตำแหน่ง
กระบวนการเปลี่ยนผ่านรัฐบาลในสหรัฐนี้มีมายาวนาน โดยในปี 1963 ได้มีการผ่านกฏหมายเปลี่ยนผ่านประธานาธิบดี (The Presidential Transition Act of 1963) โดยสภาคองเกรสอธิบายว่า “การหยุดชะงักใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการโอนอำนาจบริหาร อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อความปลอดภัยและความเป็นอยู่ที่ดีของสหรัฐอเมริกาและประชาชน”
การผ่านกฎหมายฉบับนี้ทำให้กระบวนการเปลี่ยนผ่านนี้มีโครงสร้างและแนวปฏิบัติที่ชัดเจน ตลอดมีองค์ต่างๆ ที่คอยทำหน้าที่สนับสนุนการเปลี่ยนผ่านนี้ เช่น เจ้าหน้าที่ทำเนียบขาว เจ้าหน้าที่สำนักงานประธานาธิบดี ที่ปรึกษาทำเนียบขาว ทีมสื่อสารทำเนียบขาว สำนักงานบริหารและงบประมาณ (OMB) สภาความมั่นคงแห่งชาติ (NSC) และ สำนักงานสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่ง เป็นต้น
กระบวนการเปลี่ยนผ่านประธานาธิบดีคร่าวๆ มีดังนี้
ภารกิจการทีมเปลี่ยนผ่านฯ หลักๆ มีดังนี้
จอร์จ ดับเบิลยู บุช ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เคยเขียนบันทึกถึงโครงการเปลี่ยนผ่านฯ นี้ในปี 2553 ระบุว่า "คุณมีส่วนช่วยอย่างมากต่อสภาในการประสานงานการด้านการเปลี่ยนผ่านรัฐบาล และความพยายามในการเปลี่ยนแปลงโดยรวมทั้งในปี 2544 และ 2551 ขอขอบคุณที่สละเวลามาแบ่งปันความเชี่ยวชาญของคุณ"
เกาหลีใต้ มีคณะกรรมการที่ชื่อว่า คณะกรรมการเปลี่ยนผ่านประธานาธิบดี (Presidential Transition Committee) ทำหน้าที่ดูแลการเปลี่ยนผ่านอำนาจจากฝ่ายบริหารของประธานาธิบดีคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง คณะกรรมการเปลี่ยนผ่านฯ ตั้งขึ้นเพื่อรอการเลือกตั้งประธานาธิบดี หรือหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงผู้นำ
งานของคณะกรรมการเปลี่ยนผ่านฯอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสถานการณ์และลำดับความสำคัญของแต่ละช่วงการเปลี่ยนผ่าน อย่างไรก็ตาม หน้าที่ทั่วไปคือ
โครงสร้างและภารกิจเฉพาะของคณะกรรมการเปลี่ยนผ่านฯ ประธานาธิบดีในเกาหลีใต้อาจแตกต่างกันไปเนื่องจากประธานาธิบดีแต่ละคนมีอำนาจในการกำหนดองค์ประกอบและความรับผิดชอบของคณะกรรมการตามความจำเป็น
ในสิงคโปร์ มีคณะกรรมการที่เรียกว่า สำนักงานเปลี่ยนผ่านของสำนักนายกรัฐมนตรี Prime Minister's Office Singapore (PMO) มีหน้าที่จัดการการเปลี่ยนผ่านอำนาจระหว่างนายกรัฐมนตรี หรือระหว่างการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งผู้นำสำคัญๆ เพื่อให้การถ่ายโอนงานและความรับผิดชอบราบรื่นและรับประกันความต่อเนื่องของการบริหารแผ่นดิน
โครงสร้างและภารกิจเฉพาะของสำนักงานเปลี่ยนผ่าน PMO ในสิงคโปร์ จะมีความแตกต่างกันไปตามสถานการณ์ของการเปลี่ยนผ่านและดุลยพินิจของนายกรัฐมนตรี โดยเป้าหมายหลักของคณะกรรมการคือทำให้การเปลี่ยนผ่านอำนาจเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ และรักษาเสถียรภาพและความต่อเนื่องในการบริหารงานของรัฐบาล
ภารกิจหลักๆ มีดังนี้
นอกจากนี้ หลายประเทศที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่สำคัญ เช่น หลังการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง การเปลี่ยนผ่านจากเผด็จการเป็นประชาธิปไตย การจัดตั้งรัฐบาลหลังการรัฐบาล หรือวิกฤตการณ์ทางการเมืองครั้งใหญ่ ก็ได้ตั้ง ‘คณะกรรมการเปลี่ยนผ่านรัฐบาล’ เช่นกัน แต่ ชื่อและโครงสร้างเฉพาะของคณะกรรมการเปลี่ยนผ่านนี้ อาจแตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปแล้วจุดประสงค์ของคณะกรรมการฯ คือการชี้นำประเทศให้ผ่านช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองหรือวิกฤตการณ์ เช่น
ที่มา:
https://whitehousetransitionproject.org/
https://presidentialtransition.org/transition-teams/
https://govinfo.library.unt.edu/cpa-iraq/bremerbio.html
https://fanack.com/egypt/history-of-egypt/the-scafs-egypt-2011-2012/
https://myanmar.gov.mm/state-administration-council
What is the presidential transition process?