ไม่พบผลการค้นหา
'ท็อป พิพัฒน์' เปิดตัว Ecolife App ท่องเที่ยวรับส่วนลด
Wake Up News - ต่างชาติในมาเลเซียประเดิมสังเวย 'กฎหมายข่าวปลอม' - Short Clip
World Trend - VSCO ทำรายได้มหาศาล แม้ไม่พึ่งโฆษณา - Short Clip
เลหลังหวยก่อนออกรางวัลขายหมดภายใน10นาที
ประชารัฐทุนธนาคารกดดอกเบี้ยโกยส่วนต่างแถวหน้าอาเซียน
World Trend - 'อยู่ใกล้ทะเล' ช่วยให้สุขภาพดีกว่า - Short Clip
World Trend - โดมิโน่เตรียมใช้รถไร้คนขับส่งพิซซา - Short Clip
World Trend - โซนี่เปิดตัวหูฟังไร้สายใหม่ - Short Clip
World Trend - จีนแนะนำร้านอาหารทำความสะอาดห้องน้ำทุก 15 นาที - Short Clip
World Trend - แผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์ละลายเร็วเป็นประวัติการณ์ - Short Clip
World Trend - 'รองเท้าผ้าใบ' เทรนด์สุขภาพมนุษย์เงินเดือน - Short Clip
FULL EP. รัฐไทย 4.0 ไม่แยแส Sharing Economy
มองโลก มองไทย - 10 ประเทศที่สะอาดที่สุดในโลก - Short Clip
Day Break - เผยผลสำรวจคนไทยใช้อินเทอร์เน็ตทำอะไรบ้าง - Short Clip
World Trend - หุ่นยนต์ช่วยประกอบเก้าอี้ IKEA ภายใน 9 นาที - Short Clip
รสทิพย์ไตย - อยู่เพื่อไทยเพราะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง “รู้อะไรไม่สู้ รู้งี้...” - Short Clip
World Trend - ฮ่องกงครองแชมป์ค่าครองชีพสูงที่สุด - Short Clip
รวบ 1 ผู้ต้องสงสัยบงการฆ่ายกครัวกระบี่
World Trend - First Lesson รายการทีวี 'บังคับดู' ของจีน - Short Clip
ราคูเท็นตลาดดอทคอม ทำตลาดผ่านกูเกิล
ภูเก็ตนำร่องแพทย์ฉุกเฉิน 4.0 ช่วยชีวิตผู้บาดเจ็บทันท่วงที
Mar 6, 2018 04:06

หลังเกิดอุบัติเหตุ ทุก ๆ วินาทีมีค่าสำหรับชีวิตของผู้ป่วย การบริหารจัดการรถฉุกเฉินจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ปัจจุบันในจังหวัดภูเก็ตมีรถพยาบาลรองรับอุบัติเหตุวิ่งอยู่รอบเกาะประมาณ 40 - 50 คันซึ่งเป็นเครือข่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงพยาบาลจังหวัด โรงพยาบาลอำเภอ และมูลนิธิต่างๆ ดังนั้นการแบ่งพื้นที่การกระจายของรถฉุกเฉินให้ครอบคลุม รวมทั้งการวางแผนให้การกระจายตัวของเครือข่ายมีความถูกต้อง สื่อสารได้ชัดเจน ถึงจุดเกิดเหตุได้แม่นยำจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการช่วยเหลือชีวิตผู้บาดเจ็บ

“ รถคันแรกต้องเข้าไปถึงจุดเกิดเหตุได้ภายใน 8-10 นาที ” หมอเลอศักดิ์กล่าว

ในอดีตทางโรงพยาบาลได้ใช้วิธีการสื่อสารทางวิทยุ บางครั้งการถ่ายทอดข้อมูลมีความคลาดเคลื่อน แต่หลังจาก โรงพยาบาลวชิระภูเก็ตเห็นถึงความจำเป็นจึงติดตั้งระบบ Advance Telemedicine ซึ่งประกอบด้วยการส่งสัญญาณภาพ สัญญาณเสียง และสัญญาณชีพของผู้ป่วยและผู้บาดเจ็บทำให้เจ้าหน้าที่แพทย์และพยาบาลที่ศูนย์สามารถสั่งการและเห็นผู้ป่วย เหมือนกับหน่วยที่ออกไปรับผู้ป่วย หากในระหว่างที่อยู่บนรถ ผู้ป่วยมีอาการเปลี่ยนแปลง แพทย์ที่โรงพยาบาลก็สามารถสั่งการรักษามายังรถพยาบาลได้เลยซึ่งถือว่าเป็นข้อดีของระบบนี้