ไม่พบผลการค้นหา
World Trend - ​'แชร์พื้นที่อาศัย' เทรนด์ฮอตใหม่ในซิลิคอนแวลลีย์ - Short Clip
World Trend - เนสท์เล่ปิดดีล 2 แสนล้าน ขายกาแฟสตาร์บัคส์ - Short Clip
World Trend - เนเธอร์แลนด์ลงทุนเพิ่มให้คนใช้จักรยานมากขึ้น - Short Clip
World Trend - ยูทูบเบอร์ดังอาจถูกฉีกสัญญา หลังโกงเข้า ม.ดัง - Short Clip
World Trend - 'ไอทีวี' จับมือ 'บีบีซี' ทำสตรีมมิง - Short Clip
World Trend - นักวิจัยแนะใช้โซเชียลมีเดียวันละ 30 นาที - Short Clip
World Trend - สตาร์บัคส์วางกำหนดเลิกใช้หลอดพลาสติก - Short Clip
World Trend - อินเทลบรรลุเป้า 'ความหลากหลายด้านกำลังคน' - Short Clip
World Trend - ​คาด 'เงินพนัน' สะพัดเป็นประวัติการณ์ในซูเปอร์โบวล์ปีนี้ - Short Clip
World Trend - เด็กดูจอนานเสี่ยงน้ำหนักเกิน-มะเร็ง - Short Clip
World Trend - นิวยอร์กเตรียมออกกฎ 'สร้างสมดุลในการทำงาน' - Short Clip
World Trend - 'อังกฤษ' จ่ายค่าจ้างชาวต่างชาติสูงสุดในโลก - Short Clip
World Trend - 'มาตรการรักษ์โลก' การแข่งขันอีกมิติของบริษัทไอที - Short Clip
World Trend - 'เนื้อทางเลือก' หรือเนื้อสัตว์ในอนาคตจะมาจากแล็บ? - Short Clip
World Trend - แฮกเกอร์เล็งเจาะเกมออนไลน์เพิ่มขึ้นในปี 2019 - Short Clip
World Trend - โฆษณาใหม่ iPhone ย้ำจุดขายเรื่องความเป็นส่วนตัว - Short Clip
World Trend - 'ชุดเช่า' เทรนด์ธุรกิจแฟชั่นที่ยังไปได้อีกไกล - Short Clip
World Trend - 'พลัสไซซ์' ตลาดใหม่เพื่อแฟชั่นที่เท่าเทียม - Short Clip
World Trend - ​ผู้บริโภคจีนหันหาสินค้า 'เพื่อสุขภาพ' มากขึ้น - Short Clip
World Trend - รถไฟฟ้า Ford วิ่งได้ 600 กม. ต่อ 1 ชาร์จ - Short Clip
World Trend - แบรนด์ดังเตรียมผลิตบรรจุภัณฑ์ 'ใช้ซ้ำ' - Short Clip
Jan 28, 2019 05:26

การปรับพฤติกรรมการใช้หลอดและถุงพลาสติกเป็นเพียงวิธีหนึ่งในการลดปริมาณขยะพลาสติกเท่านั้น และในความเป็นจริงพลาสติกส่วนใหญ่ที่กลายเป็นขยะก็ไม่ใช่หลอดและถุงเหล่านี้อย่างที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่เข้าใจ แต่เป็นบรรจุภัณฑ์ของกินของใช้ประจำวัน ซึ่งล่าสุด บริษัทใหญ่ได้วางแนวทางร่วมกันที่จะทำบรรจุภัณฑ์แบบใช้ซ้ำออกมาแล้ว

การดำเนินธุรกิจอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมดูจะกลายเป็นพันธกิจหลักของบริษัทขนาดใหญ่ในปัจจุบัน ล่าสุด แบรนด์อุปโภคบริโภคในครัวเรือนหลายแบรนด์ในยุโรปและสหรัฐฯ เตรียมใช้มาตรการผลิตบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ซ้ำได้ และพร้อมรับคืนจากลูกค้าเพื่อนำมาใช้ใหม่

แทบจะเป็นคำขวัญของเหล่าผู้อนุรักษ์ธรรมชาติกันไปแล้ว กับคำว่า Reduce , Reuse , และ Recycle หรือ ลดปริมาณ , ใช้ซ้ำ , และแปรรูปใช้ใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่สิ่งที่ถูกพูดถึงมากที่สุดก็คือ การแปรรูปใช้ใหม่ หรือ 'รีไซเคิล' ที่ต้องผ่านกระบวนการหลายขั้นตอน เพื่อทำให้วัสดุหนึ่งกลายเป็นวัสดุใหม่ แต่ล่าสุด หลายบริษัทวางแนวคิดที่จะทำแนวทางการใช้ซ้ำ หรือ 'รียูซ' ให้เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น โดยเตรียมผลิตสินค้าในบรรจุภัณฑ์ที่ลูกค้าสามารถนำมาคืนให้กับบริษัทได้ แลกกับเงินชดเชย ภายใต้โครงการ 'ลูป' (Loop) หรือก็คือการวนลูปกระบวนการผลิต เพื่อให้ไม่มีอะไรถูกใช้แล้วทิ้งอย่างสูญเปล่า

โครงการนี้เปิดตัวขึ้นอย่างเป็นทางการในงานประชุมเศรษฐกิจโลกที่เมืองดาวอส ของสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อปลายสัปดาห์ก่อน นำโดย 'เทอร์ราไซเคิล' (TerraCycle) บริษัทรีไซเคิลจากรัฐนิวเจอร์ซีย์ สหรัฐฯ ร่วมกับพันธมิตรอีก 25 บริษัท ซึ่งรวมถึง เนสท์เล่ , ยูนิลีเวอร์ , พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล , และเป๊ปซี่โค โดยเทอร์ราไซเคิลจะผลิตบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ซ้ำได้ให้กับบริษัทเหล่านี้ ถือเป็นแนวทางการบริโภคที่ไม่ต่างกับการสั่งนมในยุค 1940 ที่เด็กส่งนม (Milkman) นำขวดแก้วบรรจุนมมาส่งตามหน้าบ้านที่สั่งไว้ และตามมาเก็บในวันถัดไป ใน 'โมเดลเด็กส่งนม' (Milkman Model) นี้ บรรจุภัณฑ์ของสินค้าเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ผลิต หรือก็คือฟาร์มนมนั่นเอง

ปัจจุบัน สถิติชี้ว่า 80% ของบรรจุภัณฑ์พลาสติกจบกระบวนการลงที่บ่อพักขยะหรือในทะเล และบรรจุภัณฑ์ของสินค้าอุปโภคบริโภคประจำวันก็คิดเป็นสัดส่วนที่มากกว่าถุงหรือหลอดพลาสติก ที่ถูกโฟกัสมากกว่าพลาสติกชนิดอื่น ๆ เท่ากับว่า การจะแก้ไขปัญหาเรื่องพลาสติก ต้องมุ่งแก้ที่บรรจุภัณฑ์ของกินของใช้ด้วย จึงจะถูกจุดอย่างแท้จริง

สินค้าในโครงการลูปนี้ ก็มีแผนจะวางจำหน่ายในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม ที่กรุงปารีส ฝรั่งเศส สำหรับลูกค้าออนไลน์ของซูเปอร์มาร์เก็ต คาร์ฟูร์ เป็นที่แรก ขณะที่ ในสหรัฐฯ ก็จะเริ่มโครงการที่นิวยอร์ก นิวเจอร์ซีย์ และเพนซิลเวเนีย ก่อนรัฐอื่น ส่วนรัฐอื่น ๆ ในสหรัฐฯ และโตรอนโต ของแคนาดา กำลังอยู่ในระหว่างการเจรจา เทอร์ราไซเคิลหวังว่า จะสามารถปิดดีลกับเทสโก้ ในกรุงลอนดอน อังกฤษ ได้ภายในปีนี้ และกรุงโตเกียว ญี่ปุ่น ได้ภายในปี 2020

ทั้งนี้ กลไกของลูปคือ ลูกค้าจะได้เงินชดเชยค่าคืนบรรจุภัณฑ์ โดยยูพีเอส (UPS) จะเป็นผู้เก็บบรรจุภัณฑ์เปล่า ให้บริษัทต่าง ๆ นำมาใช้ซ้ำ และการใช้ซ้ำ 3 ถึง 4 ครั้ง ก็จะถือว่าเท่าทุนการผลิตในด้านสิ่งแวดล้อมแล้ว โดยตัวอย่างของบรรจุภัณฑ์ เช่น เนสท์เล่ได้ออกแบบโถอะลูมิเนียมสำหรับไอศกรีมฮาเก้น-ดาส ซึ่งจะมีคุณสมบัติเก็บความเย็นได้ดีกว่ากล่องกระดาษเคลือบแว็กซ์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ขณะที่ น้ำส้มทรอปิคานาและมายองเนสเฮลล์แมนก็จะมาในขวดแก้วแทน เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม การปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์เช่นนี้ ถือเป็นต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า แต่ในระยะยาวก็จะลดลงตามจำนวนครั้งการใช้ซ้ำ ซึ่งเทอร์ราไซเคิลก็จะลงทุนเบื้องต้น 10 ล้านดอลลาร์ หรือ 315 ล้านบาท สำหรับโครงการนี้ และจะติดตามดูว่าจะได้ผลอย่างไรต่อไป

ไซมอน โลว์เดน ประธานด้านขนมขบเคี้ยวนานาชาติของเป๊ปซี่โค กล่าวถึงโครงการนี้ว่า การใช้ซ้ำเป็นเรื่องซับซ้อนประการหนึ่ง เพราะฝ่ายออกแบบต้องทำบรรจุภัณฑ์ใหม่ขึ้นมาให้ดูแข็งแรงและ 'เฟรช' หรือสดใหม่อยู่เสมอ ในขณะเดียวกัน ก็ต้องล้างทำความสะอาดได้หลายครั้งด้วย ซึ่งทางบริษัทเองก็ต้องการที่จะลดการใช้พลาสติกลงอยู่แล้ว และหวังว่าการเริ่มดำเนินโครงการนี้จะช่วยให้ประเมินได้ว่าโมเดลนี้ทำงานได้ดีเพียงใดสำหรับธุรกิจขนาดใหญ่

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog