ไม่พบผลการค้นหา
World Trend - ​Google จ่ายค่าแรง 'ผู้ชาย' น้อยกว่า 'ผู้หญิง' - Short Clip
World Trend - รถยนต์ไฟฟ้าไม่ใช่ยาครอบจักรวาล - Short Clip
World Trend - สถิติ ความก้าวหน้า และความถดถอยของซูเปอร์โบวล์ 2019 - Short Clip
World Trend - มาเลเซียจะกลับมาเป็น 'เสือแห่งอาเซียน' ใน 3 ปี - Short Clip
World Trend - 'หนังสือเด็ก' กับความไม่หลากหลายทางเชื้อชาติ - Short Clip
World Trend - เกาหลีใต้เริ่มแบนถุงพลาสติกในซูเปอร์มาร์เก็ต - Short Clip
World Trend - แฮกเกอร์เล็งเจาะเกมออนไลน์เพิ่มขึ้นในปี 2019 - Short Clip
World Trend - อาดิดาสกับการเน้นครองใจวัยรุ่นจีน - Short Clip
World Trend - วิกฤติเวเนซุเอลากำลังทำร้าย 'วิทยาการ' - Short Clip
World Trend - แอร์พอดส์โฉมใหม่เปิดตัว ปี 2020 - Short Clip
World Trend - ออสการ์ประกาศเพิ่มสาขาหนังยอดนิยม - Short Clip
World Trend - มลพิษทางอากาศส่งผลร้ายต่อระดับสติปัญญามนุษย์ - Short Clip
World Trend - 'ชุดเช่า' เทรนด์ธุรกิจแฟชั่นที่ยังไปได้อีกไกล - Short Clip
World Trend - 'อากาศพิษ' ทำเด็กเกิดใหม่อายุขัยสั้นลง 20 เดือน - Short Clip
World Trend - 'สังคมไร้เงินสด' อาจได้ไม่คุ้มเสีย - Short Clip
World Trend - ญี่ปุ่นฮิต 'ดูวาฬ' หลังเปิดล่าเชิงพาณิชย์ - Short Clip
World Trend - มหาวิทยาลัยจีนแซงหน้าสิงคโปร์ ขึ้นแท่นอันดับ 1 เอเชีย - Short Clip
World Trend - สงครามการค้ากระทบอุตสาหกรรมการบินโลก - Short Clip
World Trend - สหรัฐฯ ให้ผู้ขอวีซ่าระบุบัญชีโซเชียลมีเดีย - Short Clip
World Trend - ยุโรปทดสอบเทคโนโลยีความปลอดภัยบนท้องถนนแบบใหม่ - Short Clip
World Trend - ชาวไต้หวันลงประชามติค้านสิทธิแต่งงานเพศเดียวกัน - Short Clip
Nov 26, 2018 16:35

ชาวไต้หวันลงประชามติไม่เห็นด้วย กับการอนุญาตให้คู่รักเพศเดียวกันจดทะเบียนสมรส ขณะเดียวกัน พรรครัฐบาลของไช่อิงเหวินก็เสียเก้าอี้ในการเลือกตั้งมิดเทอมไปจนลาออกจากการเป็นหัวหน้าพรรค

ผลการลงประชามติสอบถามความเห็นชาวไต้หวันเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ รวมถึงสิทธิของคู่รักเพศเดียวกันในการจดทะเบียนสมรส ออกมาว่า ชาวไต้หวันส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการจำกัดการสมรสไว้สำหรับผู้ชายกับผู้หญิงเท่านั้น แม้ศาลสูงสุดของไต้หวันจะตัดสินให้สภานิติบัญญัติแก้ไขกฎหมายอนุญาตให้คู่รักเพศเดียวกันแต่งงานกันได้ไปก่อนหน้านี้แล้วก็ตาม

นอกจากนี้ พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า หรือ DPP ของไช่อิงเหวิน ประธานาธิบดีไต้หวันยังเสียที่นั่งในสภาไปมากในการเลือกตั้งกลางเทอมที่จัดขึ้นพร้อมกับการลงประชามติครั้งนี้ เนื่องจากประชาชนจำนวนมากไม่พอใจที่เศรษฐกิจตกต่ำ และความสัมพันธ์กับจีนแผ่นดินใหญ่ก็ย่ำแย่ลงมากนับตั้งแต่ไช่อิงเหวินขึ้นมาบริหารประเทศ ส่งผลให้พรรคก๊กมินตั๋งชนะการเลือกตั้งใน 15 เมืองจากทั้งหมด 22 เมือง จนไช่อิงเหวินประกาศลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค DPP เพื่อแสดงความรับผิดชอบกับคะแนนนิยมที่ตกต่ำของพรรค

รายละเอียดของผลประชามติในประเด็น LGBTIQ มีรายละเอียดแบ่งออกเป็นผลลัพธ์ของ 5 คำถามซึ่งประกอบไปด้วย 

1) คุณเห็นด้วยหรือไม่ว่า คำนิยามการสมรสในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ควรจำกัดไว้สำหรับผู้ชายและผู้หญิงเท่านั้น ซึ่งผลออกมาว่าประชาชนเห็นด้วย  

2) คุณเห็นด้วยหรือไม่ว่า กระทรวงศึกษาธิการไม่ควรสอนเรื่องเกี่ยวกับการรักคนเพศเดียวกัน ตามกฎหมายการศึกษาเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ ในโรงเรียนประถมศึกษและมัธยมศึกษา คำตอบของประชาชนคือเห็นด้วย

3) คุณเห็นด้วยหรือไม่ กับการปกป้องสิทธิของคู่รักเพศเดียวกันในการใช้ชีวิตร่วมกันอย่างถาวรด้วยวิธีอื่น นอกเหนือจากการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผลการลงประชามติระบุว่าประชาชนเห็นด้วย 

4) คุณเห็นด้วยหรือไม่กับการปกป้องสิทธิการสมรสของคู่รักเพศเดียวกันด้วยการแก้ไขนิยามการสมรสในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ออกเสียงไม่เห็นด้วย 

5) คุณเห็นด้วยหรือไม่ กับการเปิดให้มีการเรียนการสอนเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายการศึกษาเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ ในหลักสูตรการศึกษาทุกระดับของประเทศ ที่ครอบคลุมการศึกษาด้านอารมณ์ความรู้สึก เพศศึกษา รวมถึงการศึกษาเรื่องเกย์และเลสเบียน ผลออกมาว่าประชาชนส่วนใหญ่นั้นไม่เห็นด้วย

จากคำถามทั้งหมด 5 ข้อ เป็นคำถามที่ฝ่ายอนุรักษ์นิยมเป็นผู้เสนอ 4 คำถาม และเป็นคำถามจากฝ่ายสนับสนุนสิทธิ LGBTIQ เพียง 1 ข้อ ซึ่งคำถามเหล่านี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีลักษณะเป็นคำถามชี้นำ ไม่ตรงไปตรงมา ซึ่งอาจทำให้คนสับสนได้

อย่างไรก็ตาม ผลการลงประชามติครั้งนี้ไม่ถือว่าผิดคาดนัก เนื่องจากฝ่ายอนุรักษ์นิยมและฝ่ายศาสนาคริสต์ในไต้หวันมีจำนวนมาก ผลสำรวจของมูลนิธิความเห็นสาธารณะของไต้หวันก่อนการลงประชามติก็พบว่า ผู้ตอบสำรวจร้อยละ 77 ไม่เห็นด้วยกับการสมรสเพศเดียวกัน

ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2017 ศาลรัฐธรรมนูญพิพากษาตัดสินให้ฝ่ายนิติบัญญัติของไต้หวันออกกฎหมายเพื่อเปิดทางให้กลุ่มหลากหลายทางเพศจดทะเบียนสมรสกันได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยให้เวลา 2 ปีในการแก้ไขกฎหมายให้เสร็จ แต่หากกฎหมายยังแก้ไขไม่เสร็จภายในเดือนพฤษภาคม 2019 คู่รักเพศเดียวกันก็สามารถจดทะเบียนสมรสได้เลย

อย่างไรก็ตาม ศาลไม่ได้ระบุอย่างเฉพาะเจาะจงว่าให้แก้ไขนิยาม "การสมรส" ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือ ปพพ. หรือให้ออกกฎหมายใหม่ ส่งผลให้ฝ่ายอนุรักษ์นิยมใช้ช่องทางนี้ได้การเรียกร้องให้มีการถามความเห็นของประชาชนว่าควรมีการแก้ไขปพพ.อย่างที่ฝ่ายสนับสนุนสิทธิ LGBTIQ ผลักดันหรือไม่

การลงประชามติครั้งนี้มีคำถามเกี่ยวกับการให้สิทธิคู่รักเพศเดียวกันด้วยวิธีอื่นที่ไม่ใช่การแก้ไข ปพพ. ซึ่งเสียงส่วนใหญ่เห็นด้วย จึงเป็นไปได้ว่าจะมีการร่างกฎหมายใหม่แยกออกมาจากกฎหมายการสมรสของคู่หญิงชาย คล้ายกับการร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิตแยกออกมาจากปพพ.ของไทย

แม้รัฐบาลจะยืนยันว่าผลการลงประชามติจะไม่ส่งผลกระทบกับการคำพิพากษาของศาลสูงสุดที่ให้มีการออกกฎหมายอนุญาตการแต่งงานเพศเดียวกัน แต่นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิกลุ่มหลากหลายทางเพศก็กังวลว่าการร่างกฎหมายใหม่แยกออกมาจะลดทอนสิทธิของคู่รักเพศเดียวกันให้ไม่เทียบเท่ากับคู่สมรสชายหญิง

"แนวร่วมเพื่อความสุขของคนรุ่นต่อไป" ซึ่งเป็นฝ่ายต่อต้านการแต่งงานเพศเดียวกันระบุว่า ผลการลงประชามติครั้งนี้แสดงถึงชัยชนะของทุกคนที่ให้ความสำคัญกับสถาบันครอบครั้วแบบดั้งเดิม และทุกเสียงที่โหวตเห็นด้วยกับการห้ามสอนเรื่องความหลากหลายทางเพศในโรงเรียนก็เป็นการบอกกับเจ้าหน้าที่ว่ากระแสหลักในสังคมคิดเห็นอย่างไร

ด้านกลุ่ม TAPCPR ที่สนับสนุนสิทธิ LGBTIQ กล่าวว่า พวกเขารู้สึกถึงความไม่ยุติธรรมที่ฝ่ายต่อต้านความหลากหลายทางเพศทำแคมเปญล้างสมองชาวไต้หวันด้วยข้อมูลที่ผิดและข่าวปลอม แต่จะยังต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมทางเพศต่อไป พร้อมเรียกร้องให้มีการทบทวนการตีความของศาลรัฐธรรมนูญว่าจะต้องมีการแก้ไขกฎหมาย เพื่อให้ "เสรีภาพในการแต่งงาน" และ "การคุ้มครองสิทธิเท่าเทียม" ของประชาชน

ขณะที่แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชันแนล องค์กรสิทธิมนุษยชนสากล เตือนรัฐบาลไต้หวันว่า รัฐบาลจะต้องไม่ลดทอนสิทธิของคู่รักเพศเดียวกัน แม้ฝ่ายอนุรักษ์นิยมจะชนะการลงประชามติครั้งนี้ก็ตาม

ส่วนในประเทศไทย ร่างพระราชบัญญัติการจดทะเบียนคู่ชีวิต เริ่มต้นจากการยกร่างในรัฐสภาเมื่อปี 2556 แต่ด้วยอุปสรรค์ใน 2 ด้าน คือ ด้านกฎหมาย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่มีหลากหลายฉบับ และบทบัญญัติในกฎหมายบางข้อที่ยังกำหนดเรื่องชาย-หญิง ซึ่งการจดทะเบียนสมรสของคนรักเพศเดียวกันย่อมจะส่งผลกระทบถึงกฎหมายจำนวนมาก เช่น ภาษี สินสมรส การเลี้ยงดูบุตร มรดก ฯลฯ

ขณะที่มิติทางสังคม กลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ และภาคประชาสังคม กลับมีความต้องการที่ยังไม่ตรงกัน เช่น การต้องการปรับแก้คำนำหน้าชื่อ การสมรส การทำนิติกรรม-ธุรกรรม การตัดสินใจแทนในทางการแพทย์ หรือแม้แต่การใช้ชีวิตแบบคู่ชีวิตที่ไม่ใช่การสมรส ซึ่งทำให้ร่างกฎหมายดังกล่าวไม่สามารถหาจุดลงตัวได้ในการยกร่าง

นอกจากนี้ การทำรัฐประหารในปี 2557 ทำให้กฎหมายที่ยังอยู่ในชั้นของกรรมาธิการยกร่างต้องตกไปอยู่ที่กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ซึ่งขณะนี้กำลังดำเนินการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นอีกครั้ง ก่อนจะเข้าสู่คณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายของกระทรวงในเดือนกันยายน และคาดว่าจะสามารถเสนอเข้าสู่คณะรัฐมนตรีได้ในเดือนธันวาคม ซึ่งจะนำมาสู่ข้อกังวลว่า หากร่างกฎหมายเข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในช่วงก่อนการเลือกตั้ง 3 เดือน จะทำให้ร่างกฎหมายนี้ ต้องตกกลับมาสู่กรมคุ้มครองสิทธิฯ อีกครั้งหลังการเลือกตั้งในปี 2562 หรือไม่


Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog