บริษัทญี่ปุ่นใช้ปัญญาประดิษฐ์ช่วยหางาน
AnyMind Group บริษัทด้านเทคโนโลยีสัญชาติญี่ปุ่นผู้พัฒนาระบบซอฟต์แวร์ที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญาประดิษฐ์ เปิดตัวแพลตฟอร์มที่ช่วยให้บริษัทหรือองค์กร ค้นหาผู้สมัครที่เหมาะสมกับความต้องการและวัฒนธรรมองค์กรได้ดีที่สุด โดยมุ่งจับตลาดบริษัทที่ประชาสัมพันธ์ทางอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก
AnyMind Group เปิดตัวแพลตฟอร์มทั้งหมด 2 แบบซึ่งเชื่อมต่อกัน ได้แก่ "TalentMind" แพลตฟอร์มสำหรับองค์กรในการสรรหาบุคลากรผ่านปัญญาประดิษฐ์ เพื่อให้องค์กรกับผู้สมัครเชื่อมต่อกันได้ และ "CastingAsia" แพลตฟอร์มสำหรับผู้มีอิทธิพลทางการตลาด หรืออินฟลูเอนเซอร์ให้เข้าถึงแบรนด์ต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น
โดยผู้ที่ต้องการรับพิจารณาเป็นอินฟลูเอนเซอร์สามารถหางานได้โดยสมัครเข้าไปที่ CastingAsia แล้วแพลตฟอร์มดังกล่าวจะเชื่อมต่อกับบัญชีโซเชียลมีเดียของบุคคลนั้นเพื่อเก็บข้อมูลไว้ ให้องค์กรหรือแบรนด์ที่ใช้แพลตฟอร์ม Talent Mind เข้ามาค้นหาคนที่เหมาะสมกับแบรนด์ได้สะดวกมากขึ้น ออกแบบมาให้บรรทุกน้ำหนักได้สูงสุดถึง 500 ปอนด์ หรือราว 226 กิโลกรัม ซึ่งจะเหมาะกับงานด้านบรรทุกสินค้า หรือการขนส่งสินค้าที่มีน้ำหนักมากในอนาคต โดยตัวโดรนจะขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า จึงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตามโบอิ้งไม่ได้เผยข้อมูลอื่น อย่างเช่นระยะเวลาการบินทดสอบ หรือความจุของแบตเตอรี่ของโดรน
ถ้าพูดถึงโครงการ eVTOL หรือการพัฒนาพาหนะ หรือเครื่องบินโดยสารขนาดเล็กขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าขึ้นลงแนวดิ่ง ถือเป็นเรื่องที่หลายฝ่ายต่างจับตามองและพัฒนากันอย่างมาก อย่างก่อนหน้านี้ที่ดัง ๆ เลย ก็คือ Lilium Jet และ Volocopter และต่อมาสองบริษัทผลิตเครื่องบินยักษ์ใหญ่อย่าง แอร์บัส และโบอิ้ง ก็มาจับตลาดนี้เช่นเดียวกัน เพื่อพัฒนาแท็กซี่บินได้ ที่จะสามารถขนส่งผู้โดยสารในเมืองใหญ่ ที่ที่มีพื้นที่จำกัด
อย่าง แอร์บัส ก็ได้เปิดตัวพาหนะขึ้นลงแนวดิ่งไปแล้วก่อนหน้านี้ ภายใต้ชื่อ CityAirbus และวางแผนว่าจะทดสอบบินในปลายปีนี้ หรือโบอิ้งเองก็ไม่ได้พัฒนาแค่โดรนตัวนี้ เพราะก่อนหน้านี้ก็ได้พัฒนาแท็กซี่บินได้ รวมถึงจัดโครงการประกวดไอเดีย Jetpack หรือเครื่องช่วยบินส่วนบุคคล ชิงเงินกว่า 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐไปแล้วเช่นกัน ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เพื่อสร้างอุปกรณ์รองรับการเติบโตของชุมชนเมืองนั่นเอง
ปัญญาประดิษฐ์อยู่ใกล้ตัวกว่าที่คิด
มาอัปเดตอีกเรื่องเกี่ยวกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอรอบตัว ที่คุณผู้ชมอาจจะไม่ทันสังเกตกัน หลายคนใช้ชีวิตกับสมาร์ตโฟนและอินเทอร์เน็ตจนเคยชิน แต่อาจจะไม่ทันรู้ตัวว่ากำลังใช้ชีวิตกับเอไออยู่ ที่ใกล้ตัวที่สุดเห็นจะการค้นหาข้อมูลบนเว็บไซต์กูเกิลดอทคอม สังเกตไหม เวลาที่เราพิมพ์คีย์เวิร์ดค้นหาข้อมูลบนแถบช่องค้นหาเพียงไม่กี่ตัวอักษร จะปรากฏข้อความคาดเดาสิ่งที่เราน่าจะกำลังจะค้นหาขึ้นมาเต็มไปหมด นั่นก็เพราะว่ากูเกิลกำลังใช้เอไอที่ชื่อว่า Rank Brain มาช่วยเราค้นหาข้อมูลนั่นเอง
อีกหนึ่งเอไอที่สังเกตได้ไม่ยากเลยคือ เทคโนโลยีผู้ช่วยคำสั่งเสียงอัจฉริยะ ไม่ว่าจะเป็น Apple Siri, Google Assistant, Amazon Alexa หรือ Microsoft Cortana ก็ตาม ล้วนแล้วแต่เป็นเอไอที่สามารพูดคุยตอบโต้ และให้ความช่วยเหลือตามคำสั่งของเราได้อย่างง่ายดาย
ต่อมาคือเอไอที่เข้ามาอยู่ในรูปแบบความบันเทิงแบบที่เราไม่ทันรู้ตัว นั่นคือบริการสตรีมมิงวิดิโออย่าง เน็ตฟลิก ที่เรียนรู้พฤติกรรมการดูหนังของผู้ใช้งานผ่านการจดจำประเภทของหนังหรือซีรีส์ที่ผู้ใช้งานรับชม โดยระบบจะขึ้นวิดีโอในลักษณะคล้ายกัน หรือมีนักแสดงคนเดียวกันขึ้นมาแนะนำให้ผู้ชมอยู่เรื่อย ๆ การใช้เอไอในลักษณะนี้ไม่ใช่เน็ตฟลิกเท่านั้นแต่รวมถึงสตรีมมิงอื่น ๆ เช่น ยูทูป ก็ใช้ระบบเอไอแนะนำวิดีโอเช่นกัน