ไม่พบผลการค้นหา
CLIP Biz Feed : 5 ธุรกิจสำหรับนักลงทุนยุคมิลเลนเนียล
Biz Feed - ไทยเบฟฯ ชนะประมูลหุ้น 'ซาเบโก' ผู้ผลิตเบียร์รายใหญ่ในเวียดนาม - Short Clip
Biz Feed - Biz Insight : มูลค่า 'อาลีบาบา' สูงกว่าศก. 136 ประเทศรวมกัน - SHORT CLIP
Biz Feed - บิทคอยน์ร่วงเพราะรัฐบาลในเอเชีย? - Short Clip
CLIP Biz Feed : ไทยเป็นตลาดอีคอมเมิร์ซใหญ่อันดับ2ในอาเซียน
Biz Feed - ธุรกิจกัญชาดึงดูดบุคคลากรชั้นแนวหน้าจากทั่วโลก - Short Clip
CLIP Biz Feed : เทรนด์รัฐแบนสตรีทฟู๊ดระบาดในอาเซียน
Biz Feed - 'ฌาปนกิจสัตว์' ธุรกิจมาแรงเพื่อคนรักสัตว์ใจกลางกรุงฯ - Short Clip
Biz Feed - Biz Insight:เครื่องสำอางเกาหลีมุ่งตีตลาดมุสลิมในอาเซียน- Short Clip
Biz Feed - เส้นทางเน็ตฟลิกซ์จากเช่าวิดีโอสู่สตรีมมิง - Short Clip
CLIP Biz Feed : อี-สปอร์ต เปิดโลกแห่งเกมให้เป็นโลกแห่งธุรกิจ
Biz Feed - เงินดิจิทัลถูกแฮกครั้งใหญ่ที่สุดในโลกในญี่ปุ่น - Short Clip
CLIP Biz Feed : บริษัทมาเลฯ หาเงินให้เกาหลีเหนือ
Biz Feed- ถนนเมืองไทยอาจอันตรายที่สุดในโลก - Short Clip
Biz Feed - แพทย์แคนาดาค้านขึ้นค่าแรงตัวเอง - Short Clip
Biz Feed - เกิดอะไรขึ้นบ้างเมื่อสหรัฐฯ ชัตดาวน์? - Short Clip
Clip Biz Feed : ปฏิรูปมาเลเซียแอร์ไลน์ฟื้นฟูภาพลักษณ์ได้? 
CLIP Biz Feed : นโยบายกีดกันการค้าทรัมป์กระทบไทยแค่ไหน?  
Biz Feed - เซ็นทรัลปักธงแลนด์มาร์คเฉลิมฉลองปีใหม่แห่งเอเชีย - Short Clip
Biz Feed - คนทำงานรุ่นใหม่เบื่อง่าย เปลี่ยนงานบ่อย - Short Clip
Biz Feed - เอเชียยังลงทุนในเมียนมาแม้มีวิกฤตโรฮิงญา - Short Clip
Nov 30, 2017 03:25

แม้สหรัฐฯ ยุโรป และพันธมิตรชาติตะวันตกจะกำลังพิจารณาคว่ำบาตรเมียนมาที่ไม่ยอมแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนชาวโรฮิงญาในยะไข่ แต่นักธุรกิจเอเชีย โดยเฉพาะจีนและไทย กลับยังเดินหน้าลงทุนในเมียนมาอย่างต่อเนื่อง


สถานการณ์สิทธิมนุษยชนในเมียนมาย่ำแย่ลงอย่างต่อเนื่องจากกรณีการ "ลบล้างชาติพันธุ์" ชาวโรฮิงญาในยะไข่ และกระแสชาตินิยมพุทธต่อต้านมุสลิมที่คุกรุ่นในหลายพื้นที่ ทำให้เสถียรภาพทางการเมืองของเมียนมาตอนนี้ อาจจะไม่เป็นที่น่าไว้ใจนักสำหรับนักธุรกิจ ไม่นับว่าชาติยุโรป รวมถึงสหรัฐฯ เริ่มลังเลที่จะลงทุนในเมียนมา เนื่องจากรัฐบาลอาจประกาศคว่ำบาตรรัฐบาลเมียนมาได้ทุกเมื่อ


อย่างไรก็ตาม หลายบริษัทในเอเชีย รวมถึงเพื่อนบ้านอย่างไทย กลับยังลงทุนในเมียนมาอย่างต่อเนื่อง เช่น TTCL บริษัทก่อสร้างของไทย ที่มีโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในรัฐกะเหรี่ยง มูลค่าถึง 3,000 ล้านดอลลาร์ หรือเกือบ 100,000 ล้านบาท โดยผู้บริหารของ TTLC ยืนยันว่าทางบริษัทตระหนักดีถึงสถานการณ์ความไม่แน่นอนในเมียนมาจากปัญหาผู้อพยพลี้ภัยโรฮิงญา ที่หนีความรุนแรงไปบังกลาเทศแล้วกว่า 600,000 คนในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา แต่สถาบันการเงินและทางการไทยยังคงสนับสนุนโครงการนี้ ทางบริษัทจึงพร้อมเดินหน้าการสร้างโรงไฟฟ้าต่อไป


นับตั้งแต่การเปิดประเทศในยุครัฐบาลนายเต็ง เส่ง มาจนถึงการขึ้นสู่อำนาจของรัฐบาลนางอองซาน ซูจี นานาชาติทยอยเข้ามาลงทุนในเมียนมาอย่างต่อเนื่อง ในฐานะที่เป็นประเทศเปิดใหม่ ตลาดยังเติบโตต่อเนื่อง และมีแรงงานราคาถูก ที่สำคัญคือมีทรัพยากรมีค่ามากมายยังไม่ได้ถูกนำมาแปรรูป แต่ผู้ลงทุนรายใหญ่ในเมียนมายังคงเป็นชาติเอเชีย โดยเฉพาะจีน


หากดูสัดส่วนการลงทุน จะพบว่าจีนเป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดในเมียนมา ตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา ที่เมียนมาเริ่มเปิดประเทศ จีนลงทุนในเมียนมาทั้งสิ้น 18,100 ล้านดอลลาร์ หรือ 590,000 ล้านบาท แต่หากมาดูช่วง 2 ไตรมาสที่ผ่านมา จะพบว่าสัดส่วนการลงทุนในเมียนมา สูงสุดเป็นของสิงคโปร์ คิดเป็นร้อยละ 40 ส่วนจีนตามมาในอันดับ 2 ลงทุนร้อยละ 20 ของเงินลงทุนทางตรงจากต่างประเทศในเมียนมา (FDI) ตามด้วยเนเธอร์แลนด์และอังกฤษ 


ตัวเลขเหล่านี้ทำให้ไม่น่าแปลกใจที่ในการประชุมอาเซียนซัมมิทที่ผ่านมา ประเทศอาเซียนไม่ได้กล่าวถึงปัญหาโรฮิงญาอย่างเป็นรูปธรรม เพราะผลประโยชน์ที่แต่ละประเทศมีในเมียนมา มีเดิมพันสูงเกินกว่าจะยอมเสี่ยงทำให้รัฐบาลนางซูจีหรือกองทัพ ผู้กุมอำนาจที่แท้จริงในประเทศ ไม่พอใจ


อย่างไรก็ตาม ในกรณีของจีนกลับเป็นไปในทางตรงกันข้าม แม้จีนจะเข้ามาลงทุนในเมียนมามาก แต่ความเป็นมหาอำนาจทำให้จีนไม่จำเป็นต้องเกรงใจรัฐบาลเมียนมา จีนกลับใช้อำนาจทางเศรษฐกิจและการเมืองที่มี เข้ามาเล่นบทตัวกลางไกล่เกลี่ยความขัดแย้งกรณีโรฮิงญา เห็นได้จากในช่วงเดือนที่ผ่านมา นายหวังอี้ รัฐมนตรีต่างประเทศจีน เดินทางไปมาระหว่างเมียนมาและบังกลาเทศเพื่อล็อบบีทั้งสองประเทศ จนสุดท้ายทำให้รัฐบาลของเมียนมาและบังกลาเทศได้ข้อสรุปว่าจะเริ่มกระบวนการส่งกลับผู้ลี้ภัยภายใน 2 เดือนข้างหน้า แม้ยังไม่มีคำตอบว่าพวกเขาจะกลับไปเผชิญความรุนแรงอีกหรือไม่ และใครที่จะได้กลับไป ในเมื่อชาวโรฮิงญาส่วนใหญ่ไม่มีหลักฐานแสดงตนว่าเป็นชาวเมียนมา


กรณีโรฮิงญาทำให้เห็นว่าจีนเริ่มดำเนินบทบาทในเวทีระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการแก้ปัญหาความขัดแย้งในประเทศอื่นๆที่เป็นพันธมิตรกับจีน ในลักษณะเดียวกับที่สหรัฐฯเคยทำตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา นั่นก็คือการใช้พลังอำนาจทางเศรษฐกิจเป็นแรงสนับสนุนบทบาททางการเมือง ทั้งที่ก่อนหน้านี้จีนยึดหลักไม่แทรกแซงกิจการในประเทศอื่นมาโดยตลอด แต่จะหวังว่าการแทรกแซงนี้จะนำไปสู่บทสรุปที่ "แฮปปี้เอ็นดิ้ง" ในกรณีโรฮิงญา อาจจะยาก ในเมื่อจีนเองยังมีปัญหาสิทธิมนุษยชนมากมายในประเทศที่ไม่ยอมแก้ไข

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog