ไม่พบผลการค้นหา
The Toppick - เอกวาดอร์ประท้วงใหญ่ รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน - Short Clip
The Toppick - จีนแต่งงานน้อยสุดในรอบ 11 ปีเพราะพิษเศรษฐกิจ - Short Clip
The Toppick - รถยนต์ไฟฟ้า รักษ์โลกหรือแค่ไลฟ์สไตล์ - Short Clip
The Toppick - ผู้นำบราซิลเมินความช่วยเหลือดับไฟป่าเพราะแนวคิดแบบทหาร - Short Clip
The Toppick - สิงคโปร์ ขยายเพดานอายุเกษียณเป็น 65 ปี - Short Clip
The Toppick - 'แวร์ซาย' พ่ายแพ้โลกร้อน ทิ้งประวัติศาสตร์รับความจริง - Short Clip
The Toppick - จีน เปิดตัวมาสคอตโอลิมปิก 2022 แพนด้าปิงตวนตวน - Short Clip
The Toppick - ออสเตรเลีย จ่าย 1 ล้านบาท จูงใจครูไปสอนโรงเรียนชนบท - FULL EP.
The Toppick - 'แก่ก่อนรวย' เศรษฐกิจไทยพัฒนาไม่ทันสังคมสูงวัย - Short Clip
The Toppick - แฟชั่นเสื้อผ้ารองเท้าหนัง ทำลายป่าแอมะซอน - Short Clip
The Toppick - ศาลฝรั่งเศสสั่ง เกมดิจิทัลเล่นแล้ว ต้องขายต่อมือสองได้ - Short Clip
The Toppick - สเปนเปิดถ้ำคริสตัล 'มหัศจรรย์ในเหมืองเก่า' รับ นทท. - Short Clip
The Toppick - แท็กซี่ลอยฟ้า เทรนด์อนาคตที่ใกล้ความเป็นจริงขึ้นทุกที - Short Clip
The Toppick - โลกเหลือเพียง 16 ชาติ ที่นับไต้หวันเป็นประเทศ - Short Clip
The Toppick - นาซ่า ชวนนักเรียนตั้งชื่อยานสำรวจดาวอังคาร - Short Clip
World Trend - กลุ่มมหาเศรษฐีญี่ปุ่นร่ำรวยขึ้นภายใต้ 'อาเบะโนมิกส์' - Short Clip
The Toppick - อินโดฯระบุพิกัดเมืองหลวงใหม่ กระจายความเจริญ-หนีเมืองจมน้ำ - Short Clip
The Toppick - 'บริษัทพลังงานฟอสซิล' พาเหรดล้มละลาย - FULL EP.
The Toppick - เนปาลจ่อกำหนดประสบการณ์ขั้นต่ำก่อนปีนเอเวอร์เรสต์ - Short Clip
The Toppick - พิวดีพาย นักแคสต์เกมคนแรก ที่มีผู้ติดตามยูทูบ 100 ล้าน - Short Clip
The Toppick - 'รบ.บราซิล' จ่อถูกตัดงบหลังแอมะซอนถูกทำลายหนัก - Short Clip
Aug 15, 2019 07:04

ทางการเยอรมนีเตรียมระงับงบฯ สนับสนุนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในบราซิล หลังการทำลายป่าแอมะซอนยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องภายใต้การบริหารของรัฐบาลขวาสุดโต่ง ด้านบราซิลโต้ "ไม่สนเงินเยอรมนี"

ป่าดิบชื้นแอมะซอนซึ่งเปรียบเสมือนปอดของโลก ที่คอยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีพื้นที่กว่า 60 เปอร์เซ็นต์อยู่ในอาณาเขตของประเทศบราซิล ทว่านับตั้งแต่ฌาอีร์ โบลโซนารู ก้าวเข้าสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีบราซิลเมื่อมกราคมปีนี้ ป่าแอมะซอนก็ถูกทำลายไปอย่างรวดเร็ว

พื้นที่ป่าดิบชื้นที่ถูกทำลายมากขึ้นเรื่อยทำให้ทางเยอรมนี กระทั่งเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม สเวนยา ชูลซ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ธรรมชาติ และความปลอดภัยทางนิวเคลียร์ ประเทศเยอรมนี กล่าวกับหนังสือพิมพ์แทเกิซชปีเกิล (Tagesspiegel) ว่าจะระงับงบช่วยเหลือบราซิลในการอนุรักษ์ธรรมชาติ โดยในแรกเริ่มงบประมาณที่จะตัดลงนั้นอยู่ที่ประมาณ 35 ล้านยูโร (ประมาณ 1,200 ล้านบาท)

"นโยบายที่เกี่ยวข้องกับป่าแอมะซอนของรัฐบาลบราซิล ก่อให้เกิดความกังขาว่ายังมีความพยายามอย่างต่อเนื่องในการลดอัตราการทำลายป่าอยู่หรือไม่" ชูลซ์ระบุ

ในวันต่อมา ทางโบลโซนารู ประธานาธิบดีบราซิลผู้มีอุดมการณ์ฝ่ายขวา ได้ออกมาตอบโต้ว่าบราซิลไม่ต้องการเงินของเยอรมนี

"พวกเขาจะเอาเงินนี้ไปใช้ทำอะไรก็ได้ บราซิลไม่ต้องการมัน" โบลโซนารูผู้มีอุดมการณ์ฝ่ายขวาสุดโต่งกล่าว

ทั้งนี้ นับตั้งแต่ปี 2008 จนถึงปีนี้ รัฐบาลเยอรมนีให้เงินสนับสนุนโครงการอนุรักษ์ธรรมชาติในบราซิลหลายโครงการเป็นเงินประมาณ 95 ล้านยูโร (ประมาณ 3,300 ล้านบาท)

อย่างไรก็ตาม แกร์ด มึลเลอร์ รัฐมนตรีกระทรวงเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา เผยว่าเยอรมนียังคงจะสนับสนุนกองทุนแอมะซอน(Amazon Fund) กองทุนซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2008 เพื่อสนับสนุนการอนุรักษ์ สอดส่อง และยุติการทำลายป่าแอมะซอนต่อไป แม้ว่าก่อนหน้านี้ รัฐบาลของโบลโซนารูเคยมีแผนจะโยกเงินในกองทุนแอมะซอนเพื่อนำไปจ่ายเป็นค่าชดเชยสำหรับเวนคืนพื้นที่สงวน ซึ่งแน่นอนว่าสองชาติผู้บริจาครายใหญ่คือนอร์เวย์ และเยอรมนีไม่เห็นด้วยกับแผนการนี้

เมื่อเดือนกรกฎาคมสถาบันวิจัยพื้นที่แห่งชาติบราซิล(National Institute for Space Research: INPE) เผยว่าในเดือนมิถุนายนปีนี้ ป่าแอมะซอนถูกทำลายไป 920 ตารางกิโลมตร เพิ่มขึ้น 88.4 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อน

ข้อมูลที่สถาบันเผยออกมาทำให้ โบลโซนารู สั่งปลด ริการ์โด กัลโว ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพื้นที่แห่งชาติบราซิลออกจากตำแหน่งเมื่อต้นเดือนนี้ อีกทั้งยังเคยเรียกสมาชิกของทางสถาบันมากล่าวโทษว่าข้อมูลเหล่านี้เป็นเรื่องโกหก

ในเดือนต่อมาข้อมูลจากทางสถาบันยังคงชี้ว่าป่าแอมะซอนในบราซิลก็ถูกทำลายมากขึ้น โดยถูกทำลายไปถึง 2,254.8 ตารางกิโลเมตรในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา สูงกว่าเดือนเดียวกันในปีที่แล้วถึง 278 เปอร์เซ็นต์ พื้นที่ป่าที่เสียไปในเดือนกรกฎาคมเพียงเดือนเดียว มีพื้นที่เกือบเท่าจังหวัดพระนครศรีอยุธยาของไทย ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 2,557 ตารางกิโลเมตร

ฌาอีร์ โบลโซนารู ประธานาธิบดีประเทศบราซิล อดีตทหารยศร้อยเอกปฏิเสธปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอดและย้ำเสมอว่าป่าแอมะซอนเป็นทรัพยากรของประเทศบราซิล ซึ่งชาวบราซิลควรเป็นคนเลือกจะจัดการอย่างไรก็ได้ ทั้งยังมองว่าการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาของเศรษฐกิจ และสัญญาตั้งแต่ตอนหาเสียงว่าจะเปิดพื้นที่ป่าให้ใช้เป็นพื้นที่สำหรับทำเกษตรมากขึ้น

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
184Article
76559Video
0Blog