ไม่พบผลการค้นหา
World Trend - ชนชั้นกลางจีนไม่มีลูกคนที่ 2 เพราะค่าใช้จ่ายสูง - Short Clip
World Trend - ชาวอเมริกันทุกช่วงวัยหันมานิยม 'นั่งสมาธิ' - Short Clip
World Trend - บริษัทดัตช์เล็งผลิตพลังงานสะอาดให้ทั้งยุโรป - Short Clip
World Trend - ​เซี่ยงไฮ้นำร่องแยกขยะ ก่อนทำทั่วประเทศ - Short Clip
World Trend - ผู้สูงวัยเกาหลีตามไม่ทันเทคโนโลยี - การพัฒนาที่เหลื่อมล้ำ? - Short Clip
World Trend - คดี 'เซ็นทรัลพาร์กไฟฟ์' ถูกถ่ายทอดอีกครั้งผ่านซีรีส์ - Short Clip
World Trend - 'จาการ์ตา' อาจเป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในปี 2030 - Short Clip
World Trend - อัตราการเพิ่มประชากรจีนจะถดถอยในปี 2030 - Short Clip
World Trend - คาร์ฟูร์ไม่สู้คู่แข่ง เลิกกิจการในจีน - Short Clip
World Trend - คาด 30 ปีข้างหน้า อากาศโลกจะเปลี่ยนแปลงรุนแรง - Short Clip
World Trend - 'มัสก์' เปิดตัวอุโมงค์ไฮสปีดแก้รถติดใต้ผิวโลก - Short Clip
World Trend - 'แอมะซอนโก' ทดลองให้บริการร้านขนาดเล็กขยายฐานลูกค้า - Short Clip
World Trend - ธุรกิจกัญชาบูม มีแรงงานมากกว่าสาธารณสุข - Short Clip
World Trend - ญี่ปุ่นเผชิญวิกฤติอัตราเกิดน้อยเป็นประวัติการณ์ - Short Clip
World Trend - ​ซีรีส์ดังสร้างแรงกดดันในอาจารย์กฎหมายลาออก - Short Clip
World Trend - ‘บาร์บี้’ เผยอาชีพใหม่ ‘วิศวกรหุ่นยนต์’- Short Clip
World Trend - ก๊าซเรือนกระจกพุ่งทำลายสถิติโลกในปี 2017 - Short Clip
World Trend - UN เผย ไทยติดอันดับ 10 แหล่งท่องเที่ยวฮิต 2017 - Short Clip
World Trend - วิกฤติเวเนซุเอลากำลังทำร้าย 'วิทยาการ' - Short Clip
World Trend - อัตราเกิดใน 'ญี่ปุ่น' ต่ำเป็นประวัติการณ์ - Short Clip
World Trend - เมื่อเทคโนโลยีจีนทิ้งผู้สูงอายุไว้ข้างหลัง - Short Clip
Mar 25, 2019 06:34

ขณะที่เทคโนโลยีใหม่ ๆ ทำให้ชีวิตสะดวกสบาย ผู้สูงวัยชาวจีนนับร้อยล้านกลับประสบปัญหาไล่ตามโลกดิจิทัลไม่ทัน รู้สึกโดดเดี่ยวจากสังคม และไม่สามารถเข้าถึงบริการหลายอย่างที่เป็นเทคโนโลยีดิจิทัลได้

บทความจาก CNN เล่าว่าในจีนมีผู้ใช้งานแอปพลิเคชันเพื่อการทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์มือถือราว 890 ล้านคน แต่ในความเป็นจริงจีนมีจำนวนประชากรเกือบ 1,400 ล้านคน ขณะที่ เขตเมืองของจีนแทบจะกลายเป็นสังคมไร้เงินสดโดยสมบูรณ์แล้ว ตั้งแต่ร้านกาแฟข้างทาง ไปจนถึงวงการยานยนต์ที่สามารถซื้อขายได้ผ่านหน้าจอสมาร์ตโฟน แต่นั่นคือบทพิสูจน์ที่ชัดเจนว่าการพัฒนาอย่างรวดเร็วกลับทำให้ผู้สูงอายุที่ใช้งานเทคโนโลยีใหม่ไม่เป็นกำลังถูกทิ้งไว้ข้างหลัง

จางจื่อเซีย อดีตครูโรงเรียนอนุบาล วัย 62 ปี คือหนึ่งในผู้สูงวัยที่ไม่อยากตกขบวนเทคโนโลยีของจีน เธอจึงชาร์จแบตเตอรี่เตรียมพร้อม เพื่อเรียนรู้วิธีใช้งานสมาร์ตโฟนกับกลุ่มอาสาสมัครผู้จัดสอนคลาสเรียนวิธีใช้โทรศัพท์มือถือ ณ เทศบาลนครผานจวง ทางตะวันตกเฉียงเหนือของปักกิ่งที่มีชื่อว่า "ซียัง" (See Young)

แม้การเรียนวิธีใช้มือถือจะทำให้ทักษะของจางจะก้าวหน้าไปมาก แต่เธอก็ยังคงจ่ายค่ารักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลด้วยธนบัตรปึกใหญ่ โดยจางกล่าวว่า เธออิจฉาคนอื่นมากที่พวกเขาจ่ายเงินด้วยการสแกนเพียงแค่นิดเดียว แต่เธอยังต้องนับธนบัตรทีละใบอยู่เลย และในบางครั้งก็ต้องนับหลายรอบด้วย เพราะกลัวว่าจะนับผิดไป

ขณะที่ ชาวจีนในเขตเมืองรับเอาเทคโนโลยีมาใช้งานกันมากขึ้น คนรุ่นเดียวกับ จางจื่อเซีย ที่ใช้วิถีชีวิตแบบอนาล็อกมาหลายทศวรรษก็กลายเป็นคนส่วนน้อยไป ไม่ว่าจะเป็นการซื้อสินค้าผ่านหน้าร้าน การต่อคิวรอที่ธนาคาร หรือการโบกแท็กซี่ด้วยมือ ก็กลายเป็นเรื่องล้าสมัยไปแล้วอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ด้าน หลูจีฮัว ศาสตราจารย์ด้านประชากรศาสตร์สังคมของมหาวิทยาลัยปักกิ่ง กล่าวว่า ในบางคราวกลุ่มผู้สูงอายุเหล่านี้ถูกเรียกว่าเป็นผู้ลี้ภัยทางดิจิทัล (Digital Refugee) เมื่อเทียบกับคนรุ่นใหม่ที่โตขึ้นมาโดยคุ้นเคยกับเทคโนโลยีดิจิทัลตั้งแต่เด็ก ความแพร่หลายของเทคโนโลยีดิจิทัลใหม่ ๆ ส่งผลกระทบอย่างมากต่อชีวิตของผู้สูงวัย 

ขณะที่ ฟางฮุ่ยเซิง วัย 82 ปี แม้ว่าจะเรียนกับกลุ่ม See Young กระทั่งชำนาญการชำระเงินผ่านระบบดิจิทัลแล้ว แต่เธอยังคงกลัวที่จะถูกความก้าวหน้าทิ้งไว้ข้างหลังอยู่ดี โดยเธอกล่าวว่าเทคโนโลยีพัฒนาไปเร็วมาก สิ่งที่ควรจะทำให้ชีวิตง่ายขึ้นกลับสร้างปัญหาให้กับคนแก่อย่างพวกเธอ และที่สำคัญความพยายามของรัฐบาลที่จะย้ายบริการสาธารณะให้ไปอยู่ในโลกออนไลน์ ทำให้เหลือที่เดียวที่คนสูงอายุอย่างเธอจะจ่ายค่าน้ำค่าไฟได้คือที่สำนักงานไปรษณีย์เท่านั้น 

หลูจีฮัว ศาสตราจารย์ด้านประชากรศาสตร์สังคมของมหาวิทยาลัยปักกิ่งคนเดิม กล่าวเพิ่มเติมในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านประกรศาสตร์ว่า ขณะที่รัฐบาลพยายามจะทำให้ชีวิตผู้คนสะดวกสบายขึ้นด้วยเทคโนโลยี ความพยายามนั้นก็ทำให้พลเมืองสูงอายุลำบากขึ้นเช่นกัน เขายกตัวอย่างกรณีของโรงพยาบาลที่การลงทะเบียนผู้ป่วยผ่านแอปพลิเคชันในมือถืออาจจะไม่มีประโยชน์นัก เมื่อพิจารณาว่าผู้สูงอายุที่ใช้แอปฯ ไม่เป็นนั้นคือฝ่ายที่เข้าโรงพยาบาลกันเยอะกว่าคนหนุ่มสาวมาก

โหวหยู่ชิง นักศึกษาชาวจีนผู้เป็นอาสาสมัครของกลุ่ม See Young เล่าว่า การช่วยอาม่าของตัวเองให้ใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เป็น ทำให้เกิดแรงบันดาลใจในการช่วยผู้สูงอายุคนอื่น ๆ ให้รับมือกับความท้าทางทางเทคโนโลยีด้วย เพราะโทรศัพท์มือถือสมัยนี้มีฟังก์ชันการใช้งานที่เยอะเกินไป ไม่ใช่แค่กับคนสูงอายุเท่านั้น เพราะบางทีขนาดตัวเขาเองซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ยังมีความสับสนกับเทคโนโลยีอยู่เลย

เมื่อเทรนด์ของโลกพัฒนาไปไม่หยุดแม้ว่าคนบางกลุ่มอาจจะไม่พอใจ การสนับสนุนและช่วยเหลือให้คนเหล่านี้ปรับตัวรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้จึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะการก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจสูงวัยคงไม่สมบูรณ์ หากผู้ซื้อหลักของตลาดสูงวัยกลับซื้อสินค้าและบริการผ่านช่องทางการขายหลักอย่างอินเทอร์เน็ตไม่ได้

ในปี 2017 ชาวจีนที่มีอายุมากกว่า 60 ปี มีจำนวนถึง 241 ล้านคน คิดเป็น 17.3 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมด และมีการคาดการณ์ว่าในปี 2030 จะมีสัดส่วนถึงหนึ่งในสี่ของประชากรทั้งหมด และในปี 2050 อาจมีสัดส่วนสูงขึ้นเป็นหนึ่งในสามของประชากรทั้งหมด ด้วยจำนวนที่สูงเช่นนี้ การสนับสนุนให้ผู้สูงวัยใช้เทคโนโลยีใหม่ ย่อมส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของจีน โดยการศึกษาจากสถาบันวิจัยของบริษัทเทนเซ็นต์ และมหาวิทยาลัยเซินเจิ้น ชี้ว่าการสอนโดยคนในครอบครัว คือ วิธีที่ดีที่สุดสำหรับผู้สูงอายุที่จะเรียนรู้เทคโนโลยี

นอกจากนั้น การขาดพื้นฐานทางเทคโนโลยีตั้งแต่ต้นก็ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่ ผู้ลังเลจะสอนการใช้แอปฯ ส่งข้อความอย่างวีแชตให้พ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่ในบ้าน รวมถึงปฏิเสธที่จะซื้อมือถือรุ่นใหม่ให้ โดยชี้ว่าผู้สูงวัยควรจะใช้แค่มือถือที่โทรเข้าโทรออกได้ก็พอ ซึ่งการที่เด็ก ๆ ไม่มีความอดทนมากพอที่จะสอน ทำให้ผู้สูงวัยยิ่งรู้สึกโดดเดี่ยว

นอกจากนี้ สภารัฐกิจสาธารณรัฐประชาชนจีนยังประเมินไว้ว่า ชาวจีนราว 118 ล้านคน อาศัยอยู่เพียงลำพัง จึงเสี่ยงที่จะรู้สึกโดดเดี่ยวหลังถูกตัดขาดจากเทคโนโลยีใหม่ การเรียนกับกลุ่มอาสาสมัครอย่างกลุ่ม See Young จึงมีความหมาย บางคนที่สามารถทำได้เพียงส่งข้อความให้เพื่อนและครอบครัว หลังเรียนรู้เป็นเวลาสามเดือนพวกเขาสามารถเดินทางโดยใช้แอปฯ แผนที่นำทาง และปรับแต่งวิดีโอในโทรศัพท์มือถือได้แล้ว ฉะนั้นเทคโนโลยีที่พัฒนารวดเร็วจนผู้สูงวัยตามไม่ทันนั้นทำให้พวกเขารู้สึกเหมือนคนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ แต่ชุมชนที่สนับสนุนการเรียนรู้ของคนสูงวัยกลุ่มนี้ทำให้พวกเขารู้สึกมีชีวิตชีวาอีกครั้ง



Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog