รายการ คิดเล่นเห็นต่างกับคำผกา วันเสาร์ ที่ 26 มกราคม 2556
"นิทานสอนใจว่าด้วย ความโง่ จน เจ็บ ของผู้เลือกตั้งชนบท: มายาคติและอคติของนักรัฐ-ศาสตร์ไทย" ของ "ประจักษ์ ก้องกีรติ" ที่พบว่า การถกเถียงเกี่ยวกับปัญหาประชาธิปไตยของไทยในปัจจุบัน ถูกครอบงำด้วยเรื่องเล่า เรื่องหนึ่ง ที่ถกเถียงทางวิชาการอย่างหนักแน่น หากเป็นคำอธิบายที่สาธารณชน สื่อมวลชน และกระทั่งนักวิชาการเอง ผลิตซ้ำอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ผ่านสื่อสาธารณะและตามวงสนทนาทั่วไป จน ไม่อาจสืบสาวหาต้นตอที่มาของเรื่องเล่านี้ได้ ลักษณะพิเศษของเรื่องเล่านี้คือ มันมาพร้อมกับ บทเรียนสอนใจทางศีลธรรมที่ผู้เล่าต่างเชื่อว่า เป็นกุญแจไขปมปัญหาการเมืองไทย
ผู้ร้ายของเรื่อง ผู้ถูกโยนบาปว่าเป็นตัวการปัญหาของการสร้างประชาธิปไตยในสังคมไทย คือ "คนชนบทที่โง่ จน เจ็บ" ซึ่งสมรู้ร่วมคิดกับนักการเมืองในการก่ออาชญากรรมที่เรียกว่า การ "ซื้อสิทธิ ขายเสียง" ทำให้การเมืองไทยเต็มไปด้วยการคอร์รัปชั่นและไร้ซึ่งศีลธรรม
ปัญหาอย่างหนึ่งนักวิชาการบ้านเราคือ นักวิชาการทางด้านมานุษยวิทยาไม่นิยมศึกษาสถาบันทางการเมืองและพฤติกรรมทางการเมืองที่เป็นทางการ ในขณะที่นักวิชาการทางด้านรัฐศาสตร์ของไทยก็ไม่คุ้นเคยหรือกระทั่งปฏิเสธการใช้เครื่องมือทางมานุษยวิทยามาศึกษาประเด็นทางการเมือง ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันคือ เกิดช่องว่างที่มีนัยสำคัญระหว่างองค์ความรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้งที่ผลิตโดยนักวิชาการต่างชาติกับนักวิชาการไทย
งานเรื่อง "สองนคราประชาธิปไตย" (moralizing a tale of two democracies) ของ "เอนก เหล่าธรรมทัศน์" ได้อธิบายโลกทัศน์และพฤติกรรมในการเลือกตั้งของคนเมืองกับคนชนบทมีความแตกต่างกันจนแทบจะประสานกันไม่ได้นั้น อาจารย์เอนกชี้ให้เห็นว่า มุมมองทางศีลธรรมที่เหนือกว่าของชาวเมืองต่อพฤติกรรมขายเสียง ของชาวชนบทนั้น นอกจากไม่มีประโยชน์แล้วยังไม่แม่นยำอีกด้วย สำหรับเขา ปัญหานี้เป็นเรื่องของช่องว่างทางเศรษฐกิจสังคมระหว่างเมืองกับชนบท ไม่ใช่ปัญหาการล้มละลายทางศีลธรรม และเราควรเข้าใจปัญหาเรื่องการซื้อขายเสียงจากมุมมองทางเศรษฐศาสตร์การเมืองมากกว่ามุมมองทางศีลธรรม
นอกจากนี้ในวงสนทนาการเมือง มักมีมุมมองว่า "เงินไม่มา กาไม่เป็น"ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ทางคุณประจักษ์ กีรติมองว่าการเมืองในชนบทมีความซับซ้อนมากกว่านั้น และเลิกโยนความผิดไปให้ชาวชนบท เลิกทำให้ชาวชนบทเป็นแพะรับบาปของระบอบประชาธิปไตยไทย และนั่นอาจนำไปสู่การทบทวนนิทานที่ว่าด้วยความโง่ จน เจ็บ ของผู้เลือกตั้งชาวชนบทในท้ายที่สุด