รายการคิดเล่นเห็นต่างกับคำผกา ประจำวันที่ 15 ธันวาคม 2555
ภาพข่าวที่โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐได้แวะเยี่ยมพิพิธภัณฑ์ Henry Ford Museum ที่มิชิแกนและได้นั่งบนรถเมล์ บนเบาะในตำนาน ของผู้หญิงผิวดำคนสำคัญในประวัติศาสตร์ Modern civil rights movement ชื่อ Rosa Parks โอบามาบอกว่า การได้มานั่งบนเบาะตัวเดียวกับ Rosa Parks ไม่เพียงแต่ทำให้เขานึกถึงนางปาร์คเท่านั้น แต่นึกชื่นชม การเปลี่ยนแปลงของสังคมที่ริเริ่มด้วยสามัญชน และผลักดันให้สำเร็จด้วยสามัญชน
ในปี ค.ศ.1955 Rosa Parks เป็นช่างเย็บผ้าหญิงผิวดำอายุ 42 ปี ขึ้นรถเมล์ Montgomery City Bus ในรัฐอัลบามา จากที่ทำงานกลับบ้านเป็นประจำ ซึ่งรถเมล์จะมีการแบ่งแยกที่นั่งระหว่างคนผิวขาวกับผิวดำ คือคนผิวดำจะขึ้นประตูหลัง ส่วนคนผิวขาวขึ้นประตูข้างหน้า ก่อนเกิดเหตุ "โรซา"นั่งอยู่ตรงที่นั่งคนดำตามปกติ แต่ที่นั่งคนชาวเกิดเต็ม เมื่อคนผิวขาวขึ้นมา คนขับเอ่ยปากขอให้เธอสละที่นั่งให้คนขาว แต่เธอปฎิเสธที่จะทำตาม ผลคือ โรซาถูกจับข้อหาทำผิดกฎหมาย ว่าด้วยไม่ปฎิบัติตามการแบ่งแยกสีผิว ซึ่งเป็นกฎหมายท้องถิ่นนั้น
ขณะถูกจับโรซา ถามเจ้าหน้าที่ตำรวจว่า "Why do you push us around?" และได้รับคำตอบจากเจ้าหน้าที่ว่า " I don't know"
การกระทำของโรซา ซึ่งเป็นจุดเล็กๆ ของการต่อต้านของคนผิวดำถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของ awareness เรื่อง "Civil rights" หรือสิทธิพลเมือง ในสังคมอเมริกันสมัยใหม่ ที่สั่นคลอนไม่เพียงแต่ โครงสร้างอำนาจรัฐขาวเท่านั้น ยังสั่นสะเทือนไปถึง "โครงสร้างอำนาจรัฐชายเป็นใหญ่ ถือว่าเป็นต่อต้าน " Modern Civil rights" ในโลกสมัยใหม่
จากนั้นกระแสต่อต้านความไม่ยุติธรรม ของคนผิวดำที่มีอยู่ 75%ของผู้ใช้บริการรถเมล์ รวมตัวกัน Boycott รถเมล์ จนทำให้กิจการรถเมล์ได้รับความกระทบกระเทือน สถานการณ์เริ่มเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆภายใต้การทำของ Martin Luther King,Jr. เจ้าของวาทะ "I have a dream"จนกระทั่งศาลรัฐบาลกลางสหรัฐตัดสินว่า segregation law ขัดต่อรัฐธรรมนูญ
การกระทำของโรซา ทำให้ "คำผกา" นึกถึง จิตรา คชเดช เจ้าของป้าย ดีแต่พูด"ซึ่งเป็นการแสดงของสิทธิพลเมือง
พฤติกรรมของโรซานั้นไม่ใช่เหตุบังเอิญแต่มาจากฝึกฝน เตรียมการล่วงหน้า และวางแผนเป็นขั้นตอน อันเป็นการฝึกฝนการประท้วงแบบสันติ ซึ่งโรซาเอง ไม่ใช่ Nobody และเธอไม่ใช่ช่างเย็บผ้าธรรมดา สามีอยู่ในเครือข่ายพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งการเคลื่อนไหวต่อต้าน เป็นการส่งคบเพลิง นักต่อสู้จากชนชั้นนำไปสู่มวลชน ทำให้สังคมลุกฮือ ขยายมวลชนนำไปสู่ชัยชนะของสิทธิพลเมืองของประเทศ