ประเทศ ไทยก็กำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ซึ่งก็จะก่อให้เกิดปัญหามีแรงงานไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดแรงงาน และอีกปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นเมื่อเรามีจำนวนคนหนุ่มสาวน้อยกว่าผู้สูงอายุก็ คือจำนวนนักศึกษาลดน้อยลง ซึ่งทำให้มหาวิทยาลัยหลายๆแห่งขณะนี้มีจำนวนนักศึกษาไม่เพียงพอจนอาจถึงขั้น ต้องปิดมหาวิทยาลัย
ICEF (ไอเซฟ) Monitor ซึ่งเป็นแหล่งรวมข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจการศึกษานานาชาติ รายงานว่าช่องว่างระหว่างจำนวนนักศึกษาและมหาวิทยาลัยในไทยเพิ่มขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง นัานก็คือมีมหาวิทยาลัยมากเกินความต้องการของนักศึกษา โดย ICEF Monitor ระบุว่า ปีที่แล้ว (2016) มหาวิทยาลัยของไทยมีที่นั่งว่างสำหรับรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีอยู่ 110,000 ที่นั่ง แต่มีนักเรียนเข้ามาสมัครเพียง 80,000 คน ลดลงจากปีก่อนหน้าที่มีคนสมัคร 100,000 คน ซึ่งจำนวนนักศึกษาที่ลดน้อยลงเรื่อยๆในแต่ละปี ทำให้มหาวิมยาลัยหลายแห่งประสบปัญหาภาระงานขั้นต่ำไม่เพียงพอ เนื่องจากมีนักศึกษาไม่ครบจำนวนที่จะเปิดการเรียนการสอนและนับเป็นภาระงาน ขั้นต่ำได้ จนต้องปิดหลักสูตร และโอนย้ายนักศึกษาไปเรียนหลักสูตรอื่นแทน ขณะที่มหาวิทยาลัยอื่นๆก็มีราย ได้ลดลงไปมาก ส่งผลให้แทบทุกแห่งต้องลดมาตรฐานในการคัดเลือกนักศึกษาลงมา เมื่อลดมาตรฐานการคัดเลือกนักศึกษาลงมาก็ส่งผลให้คุณภาพการศึกษาตกต่ำลงไป ด้วย
สาเหตุที่มหาวิทยาลัยของไทยเจอกับปัญหามีนักศึกษาไม่พอกับ จำนวนที่นั่ง นอกจากจะมีมหาวิทยาลัยเปิดมากเกินไปและปัญหาสังคมผู้สูงอายุแล้ว แผนการพัฒนาระบบการศึกษาของไทยยังคงไร้ทิศทาง ซึ่งจริงๆแล้ว ประเทศไทยไม่ได้ต้องการคนที่เรียนจบปริญญาตรีหรือปริญญาโทมาก มายอะไรขนาดนั้น แต่สิ่งที่ประเทศไทยขาดแคลนจริงๆ คือกลุ่มคนที่เรียนจบด้านอาชีวะศึกษาหรือสายอาชีพต่างๆ ซึ่งคนไทยไม่นิยมเรียน เพียงเพราะมีค่านิยมว่าต้องเรียนจบปริญญาถึงจะเรียกว่าประสบความสำเร็จ ทำให้ไทยมีคนเรียนจบสายบริหารหรือธุรกิจออกมาล้นมากมาย แต่สายวิชาชีพ เช่น วิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี, หรือช่าง ล้วนขาดแคลนอย่างหนัก โดยเฉพาะพยาบาลซึ่งผลิตได้ไม่เพียงพอกับความต้องการของประเทศและกำลังเป็น ปัญหาใหญ่ขณะนี้
ขณะที่จำนวนนักศึกษาไทยที่ออกไปเรียนในต่างประเทศก็ ค่อยๆเพิ่มขึ้นในแต่ละปี จากที่เคยอยู่ที่ประมาณปีละ 23,000 คนเมื่อปี 2006 เพิ่มเป็น 28,000 คน เมื่อปีที่แล้ว ซึ่งก็สะท้อนภาพรวมของเศรษฐกิจไทยที่เข้มแข็งขึ้นทำให้คนมีเงินส่งลูกไป เรียนต่างประเทศได้มากขึ้น แต่อีกแง่มุมหนึ่งก็สะท้อนว่ามีคนไม่เชื่อมั่นในระบบการศึกษาของไทยเพิ่มมาก ขึ้น จึงเลือกที่จะไปเรียนในต่างประเทศมากกว่า
สิ่งที่ประเทศไทยต้อง รีบทำก็คือการวางแผนการศึกษาแห่งชาติ ซึ่งจะต้องกำหนดทั้งจำนวนบัณฑิตที่จะผลิตในแต่ละปี ให้ตรงกับความต้องการ สาขาใดที่มีคนเรียนจบล้นเกินความต้องการหรือไม่ได้คุณภาพก็จำเป็นต้องค่อยๆ ลดจำนวนลงและปิดหลักสูตรไป ไม่ใช่ปล่อยให้แต่ละมหาวิทยาลัยแข่งกันเปิดหลักสูตรได้โดยเสรีเพื่อแย่งราย ได้ ซึ่งหากปัญหานี้ไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง เราจะได้เห็นมหาวิทยาลัยหลายแห่งต้องปิดตัวลงในช่วง 10 ปีข้างหน้า