ไม่พบผลการค้นหา
กรุงเทพฯ แชมป์รถติด
ทำเงินหายแล้วได้คืน ควรให้รางวัลเท่าไร?
ดิจิทัลเรฟูจี
'Realignment' กำลังเกิดขึ้น
ไทยครองอันดับ 3 รายได้จากการท่องเที่ยว
โกงเพราะชั่วหรือโกงเพราะวัฒนธรรมอำนวย
จุฬาฯ แจงเนติวิทย์เผยแพร่ข้อมูลบิดเบือน ไม่เคารพเสรีภาพผู้อื่น
โกงมากทำบุญมาก
ปรองดองอย่างไรไม่กลายเป็นเกี้ยเซี้ย
FULL EP. ทำไมคนยังเชื่อสิ่งเหนือธรรมชาติ ทั้งที่มีวิทยาศาสตร์ ?
นักเขียนออกแถลงการณ์ไม่ยอมรับศิลปินเหยียดเพศ
พัฒนาเมืองอย่างไรให้คนเป็นโสดน้อยลง
สินค้าบริการไหนไร้ที่ทางในอนาคต
จำนำข้าวคืออะไรในเชิงนโยบาย
ภาษา ความหวังในความลวง
เวรกรรมของนักการเมืองที่ต้องเจอทหาร
ทำไมรับจ้าง 'ฆ่าคน' ?
จำคุกยิ่งลักษณ์ 5 ปี คดีจำนำข้าว
ระบบโซตัสที่ใหญ่ที่สุดไม่ได้อยู่ในมหาวิทยาลัย
สิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ต้องไม่ถูกละเมิด
ทบทวนข้อถกเถียงเรื่องค่าแรง
Sep 11, 2017 13:52

ปรับขึ้นค่าแรงเป็น 700 บาทต่อวันเป็นไปไม่ได้ สูงกว่าค่าจ้างคนจบปริญญาตรี

ความเห็นจากภาคเอกชน 
นายเจน กล่าวว่า หากจะมีการปรับขึ้นค่าแรง 700 บาทต่อวัน ผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ กลุ่มนายจ้างอาชีพบริการ อาทิ โรงแรม ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร ภัตตาคาร หรืองานบริการอื่นๆ เพราะใช้คนงานจำนวนมาก ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมโรงงานขนาดใหญ่ หรือ ขนาดกลาง ก็ได้ปรับตัวหันไปใช้เครื่องจักรเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้นเมื่อช่วงปรับขึ้นค่าแรง 300 บาทต่อวัน หากจะมีการปรับขึ้นอีกรอบก็จะไม่ได้รับผลกระทบด้านต้นทุนการผลิตมากนักเมื่อเทียบกับกลุ่มอื่นๆ

"ไม่ว่าค่าแรงจะถูกปรับขึ้นอีกหรือไม่ ต้องรอให้คณะกรรมการไตรภาคีที่ประกอบด้วยภาครัฐ นายจ้างภาคเอกชนและตัวแทนกลุ่มผู้ใช้แรงงานร่วมกันพิจารณา ส่วนจะปรับขึ้นหรือไม่หรือปรับขึ้นเท่าใดผมไม่สามารถตอบได้ แต่ขอให้ความเห็นว่าหากจะต้องมีการปรับขึ้นอีกรอบก็ขอให้เกลี่ยค่าแรงเป็นรายพื้นที่หรือรายจังหวัด ไม่ใช่ให้ปรับขึ้นอัตราเดียวกันทั้งประเทศเพราะสภาพเศรษฐกิจแต่ละจังหวัดมีการเติบโตที่แตกต่างกัน"
ความเห็นจากนักวิชาการ

 (อ้างอิงจากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,161วันที่ 29 พฤษภาคม - 1 มิถุนายน พ.ศ. 2559)
รศ.ดร.แล ดิลกวิทยรัตน์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ค่าจ้างขั้นต่ำ จะใช้ฐานะของนายจ้างที่แตกต่างกันมาเป็นตัวกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำของลูกจ้างไม่ได้ หากจำเป็นรัฐบาลต้องเข้าไปช่วย เห็นว่า หากผู้ประกอบการไม่มีความสามารถที่จะเลี้ยงลูกจ้างให้เป็นคนอยู่ได้ก็ไม่ควรทำกิจการ

ดร.ศยามล เจริญรัตน์ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
"กลุ่มแรงงานเป็นกลุ่มใหญ่ในสังคมไทย หากรัฐบาลจะลดความเหลื่อมล้ำ ต้องเริ่มต้นจากคนกลุ่มนี้ก่อน ขอเสนอทางออกว่า ภาครัฐควรสร้างแรงจูงใจ สร้างนวัตกรรมใหม่ให้กับกลุ่มผู้ประกอบการ ควรมีหน่วยงานติดตามค่าใช้จ่ายที่หลายภาคส่วนเห็นร่วมกัน เพื่อคำนวณค่าครองชีพที่เหมาะสม ขณะที่ภาคการศึกษาต้องเร่งผลิตแรงงานให้สอดคล้องกับภาคการผลิตของไทย"

ผศ.อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
"การกระตุ้นเศรษฐกิจดีที่สุด คือ ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเพื่อให้นำไปใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ถือเป็นการช่วยที่ส่งตรงไปถึงคน กรณีที่รัฐจัดสวัสดิการให้ทั้งการศึกษาของบุตร และการรักษาพยาบาล แต่ไม่ตรงเท่ากับการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ควบคู่ไปกับการมีนโยบายอื่นเพื่อให้ระบบเศรษฐกิจปรับสมดุลที่เหมาะสม" ผศ.อนุสรณ์ ระบุ พร้อมยืนยันว่า การปรับเพิ่มค่าจ้างเพียงแค่ไม่มีกี่สิบบาท ไม่ส่งผลกระทบให้ผู้ประกอบการต้องปิดตัวลงแต่อย่างใด

Source: 
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/772234
 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog