ไม่พบผลการค้นหา
แสนสิริ เปิดฮาบิโตะ คอมมูนิตี้ มอลล์ ปลายปีนี้
สรุปสถานการณ์การเมือง ณ วันศุกร์ 27 มี.ค. 58
Wake Up News - หอศิลป์ กทม. Freedom Space ท่ามกลางขุมทอง - Short Clip
กรุงเทพที่เคยท่วม...ท่วมหนักจริงจริงพ.ศ. 2485
ทรู เปิดบริการ 'ซิมมิสทีน' เจาะสาวมิสทินรุ่นใหม่
Talking Thailand - “ประยุทธ์” อยู่ได้เพราะคนอวยแบบผิด ๆ ชนิดที่เคลมผลงานคนอื่นหน้าตาเฉย - Short Clip
Wake Up News - Google Search ทำนายผลเลือกตั้งไทย - Short Clip
ฉากต่อไปจะอยู่ที่กกต.เเละศาลรธน.
Wake Up News - ตอนนี้ใครๆ ก็อยากเรียก 'สุดารัตน์' ว่าแม่ - Short Clip
เเล้วไงต่อ...ใครทูลเกล้านายกฯใหม่?
อภิสิทธิ์เดินสายปูทางรัฐบาลปชป.พท.ชพ.ชท.+นายกฯคนกลาง
รำลึกถึงความสูญเสียของคนเสื้อเเดง 5 ปีที่เเล้ว
อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญคืออำนาจนอกระบบ
The Daily Dose Live! ยามเช้า - ตลาดแรงงานผู้หญิงและ Productivity - Short Clip
วิกฤติสนามบินดอนเมืองแออัด
มองเตสกิเออผิดยุค ไม่เข้าบริบทการเมืองไทย
Wake Up News - งบ สสส. ยุคคสช. หน่วยงานรัฐรับไปเกือบครึ่ง - Short Clip
'สมัชชาปฏิรูป' ก่อนและหลังการเลือกตั้ง ?
พลังเครื่องแต่งกาย - หลากอารมณ์ผ่านโซเชียลฯ- กรีซ! รากเหง้าชีวิตที่ไม่มีในข่าว
Divas Cafe - เทปนี้ไม่มีแซนตาคลอส - FULL EP.
ทำสตาร์ทอัพให้สำเร็จไม่ต้องเรียนจบธุรกิจ
Aug 1, 2017 12:29

ธุรกิจสตาร์ทอัพกำลังเป็นที่สนใจของคนรุ่นใหม่ ซึ่งก็ทำให้วิชาเรียนด้านธุรกิจเป็นที่นิยมมากขึ้น แต่ผลสำรวจล่าสุดชี้ให้เห็นว่าผู้ก่อตั้งบริษัทสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จในประเทศไทย ส่วนใหญ่แล้วไม่ได้เรียนจบด้านธุรกิจ และไม่ว่าเราจะเรียนจบจากคณะอะไรหรือมหาวิทยาลัยไหนก็มีโอกาสเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จได้

ธุรกิจประเภทสตาร์ทอัพเติบโตอย่างรวดเร็วในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทยด้วย ซึ่งไทยมีบริษัทสตาร์ทอัพมากถึง 2 พันกว่าแห่ง รวมมูลค่ากว่า 10,000 ล้านบาท มีทั้งบริษัทที่ใช้เงินทุนส่วนตัวและการระดมทุนจากต่างชาติ ซึ่งก็มีทั้งบริษัทที่ประสบความสำเร็จ และไม่ประสบความสำเร็จ โดยคนไทยยังมีความเชื่อที่ว่าถ้าหากอยากจะทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จก็ต้องเรียนด้านธุรกิจและต้องเรียนจบจากมหาวิทยาลัยระดับประเทศหรือระดับโลกเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม บริษัท iPrice (ไอไพรซ์) ซึ่งเป็นบริษัท startup ต่างชาติที่ตั้งอยู่ในมาเลเซีย ร่วมมือกับบริษัท DMP ซึ่งเป็นบริษัทด้านการลงทุน ได้ทำการศึกษาประวัติการศึกษาของเหล่าผู้ก่อตั้งบริษัทสตาร์ทอัพในประเทศไทยที่ประสบความสำเร็จและผลการศึกษาพบว่าผู้ก่อตั้งบริษัทสตาร์ทอัพชั้นแนวหน้าของไทย ส่วนใหญ่ไม่ได้จบการศึกษาทางด้านธุรกิจ

จากการศึกษาข้อมูลของบริษัทสตาร์ทอัพชั้นแนวหน้า 33 แห่งในประเทศไทยและผู้ก่อตั้งจำนวน 66 คน พบว่ามหาวิทยาลัยที่ผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพชาวไทยเรียนจบมามากที่สุดก็คือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจำนวน 15 คน, ตามด้วยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 6 คน, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 4 คน, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ 3 คน และ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณลาดกระบัง 2 คน 

และหากจำแนกตามสาขาวิชาที่เหล่าผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพเรียนจบการศึกษาก็จะพบว่า สาขาที่มีคนเรียนจบมากที่สุดคือสาขาวิชาเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ จำนวน 14 คน, ตามด้วยสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ 13 คน, สาขาธุรกิจและการจัดการ 9 คน, สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ 7 คน และจบการศึกษาจากสาขาวิชาอื่นๆอีก 6 คน
นอกจากผู้ก่อตั้งชาวไทยแล้ว ยังมีผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพชาวต่างชาติที่เข้ามาสร้างบริษัทสตาร์ทอัพในไทยอีกกว่า 19 คน ซึ่งมาจากหลายประเทศทั่วโลกและล้วนเรียนจบจากมหาวิทยาลัยและสาขาวิชาที่ต่างกัน

 ผลการศึกษาที่ปรากฏออกมาไม่ใช่ตัวบ่งชี้ว่า การเรียนจบจากคณะอะไรหรือมหาวิทยาลัยแห่งไหนจะช่วยให้ทำธุรกิจสตาร์ทอัพสำเร็จได้มากกว่า แต่ตัวเลขเหล่านี้เป็นข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่าไม่ว่าเราจะเรียนจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยไหน หรือจบการศึกษาจากคณะสาขาวิชาอะไร ทุกคนล้วนแต่สามารถประสบความสำเร็จในโลกธุรกิจได้ไม่ต่างกัน สิ่งสำคัญก็คือการนำวิชาความรู้ที่ได้เรียนมามาปรับใช้และเปิดเป็นธุรกิจที่ตอบโจทย์ต่อผู้บริโภคในอุตสาหกรรมที่พวกเขาสนใจ 

นอกจากนี้แล้ว ผลการศึกษาของ iPrice และ DMP ยังพบว่าคนที่เรียนจบการศึกษาระดับปริญญาตรีก็เป็นผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จได้ไม่แพ้คนที่เรียนจบปริญญาโท  โดยผลการศึกษาพบว่ากว่าครึ่งหนึ่งของผู้ก่อตั้งบริษัทสตาร์ทอัพในประเทศไทยไม่ได้เรียนต่อในระดับปริญญาโท แต่ก็สามารถนำความรู้ในชั้นปริญญาตรีมาปรับใช้ให้ธุรกิจของพวกเขาจนประสบความสำเร็จ
ดังนั้นแล้วไม่ว่าเราจะเรียนจบสาขาอะไร หรือจบจากที่ไหน ก็สามารถนำความรู้มาต่อยอดเป็นธุรกิจได้ทั้งนั้น แต่สิ่งสำคัญคือต้องมองหาโอกาสทางธุรกิจหรือพยายามแก้ปัญหาของผู้บริโภคที่ยังไม่มีธุรกิจใดเข้ามาตอบโจทย์
 

อ่านข่าว iPrice บริษัทสตาร์ทอัพในประเทศไทย เพิ่มเติมได้ที่ 

https://goo.gl/mm8TFp

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog