Information Overload - ข้อมูลปริมาณมากเกินพิกัดจนไม่สามารภคัดกรองได้ไหว
คงปฎิเสธไม่ได้ว่า เราต่างเสพข่าวผ่านหน้าเฟสบุ๊กมากกว่ารายการโทรทัศน์ เกิดสื่อออนไลน์ใหม่หลายสำนัก ส่วนสื่อเก่าก็หันมาเล่นบนโซเชียลมีเดียกันมาขึ้น วันๆหนึ่งเราต้องอ่านข่าวมากมายเต็มไปหมด
คุณ Puttasak Tantisuttivet ได้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับข่าวบนหน้าเฟสบุ๊ก และเขียนผลสำรวจลงในบล็อกของ THOTH ZOCIAL โดยแยกสื่อออกเป็น 2 แบบหลักๆ ตามความสนใจส่วนตัว
แบบที่ 1 สำนักข่าวแบบดั้งเดิมที่หันมาเล่นออนไลน์ คือ 1. Khaosod- ข่าวสด, 2. Matichon Online-มติชนออนไลน์, 3. Thairath - ไทยรัฐ, 4. Dailynews เดลินิวส์, 5. แนวหน้า, 6. PostToday, 7. คมชัดลึก
แบบที่ 2 สำนักข่าวออนไลน์หน้าใหม่ คือ 1. The Matter, 2. The Momentum , 3.The Standard
ผลสำรวจในเดือนมิถุนายนจากทั้ง 10 เพจ พบว่า
- มีการโพสต์ข่าวรวมทั้งหมด 37,421 โพสต์ เฉลี่ยประมาณ 1,247 ข่าวต่อวัน
- ข่าวสดกับไทยรัฐก็ได้ Share of engagement ไปประมาณ 92%
- The Matter ได้รับการแชร์โดยเฉลี่ยมากที่สุด
- สำนักข่าวดั้งเดิมเน้นไปที่ข่าวอาชญากรรม คดีความต่างๆ
- สำนักข่าวออนไลน์เน้นไปที่ข่าวสะท้อนปัญหาสังคมและเรื่องอื่นๆ
- เพจสำนักข่าวดั้งเดิมมีคนในโลกเซเชียลมาแสดงความคิดเห็นที่รุนแรงกว่า
เมื่อเห็นปริมาณข่าวที่อาจผ่านตาเราในแต่ละวัน ก็ไม่แปลกใจว่าทำไมหลายคนถึงไม่สามารถแยกแยะข่าวจริงข่าวปลอมได้ เพราะภาวะ Information Overload ทำให้เราได้ข้อมูลปริมาณมากเกินไป จนไม่สามารถคัดกรองไหว
Source:
https://goo.gl/8VY5Uv