ไม่พบผลการค้นหา
นักวิทยาศาสตร์อ็อกซ์ฟอร์ดค้นพบว่า ก้อนเมฆบนดาวยูเรนัส มีกลิ่นคล้ายตด เพราะมีส่วนประกอบของแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ หรือ แก๊สไข่เน่า

ทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด ยืนยันว่าบนชั้นบรรยากาศของดาวยูเรนัสประกอบด้วยแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ หรือ แก๊สไข่เน่า ซึ่งมีส่วนประกอบทางเคมีที่มีกลิ่นคล้ายตด

โดยการค้นพบกลิ่นดังกล่าว เกิดจากการศึกษาการหักเหของแสงจากดวงอาทิตย์กับเมฆบนยูเรนัส และพบกลุ่มของแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ประกอบอยู่

อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่ครั้งแรก เพราะช่วงปี 1990s เคยมีการสำรวจพบและแสดงให้เห็นว่ามีไฮโดรเจน ซัลไฟด์ ซุกซ่อนตัวอยู่ลึกๆ ในชั้นบรรยากาศของดาวยูเรนัส แต่แก็สที่ว่านี้ยังไม่ได้รับข้อสรุปในตอนนั้น

การค้นพบที่ว่านี้ได้รับการตีพิมพ์ในนิตยสารเนเจอร์ แอสโทรโนมี (Nature Astronomy) ระบุว่า กล้องโทรทรรศน์เจมินิ (Gemini) พบส่วนประกอบขนาด 0.4-0.8 ในหน่วย ppm ของไฮโดรเจนซัลไฟด์ที่มีอยู่ในรูปผลึกน้ำแข็งในชั้นเมฆของดาวยูเรนัส ขณะที่พวกเขาค้นพบโมเลกุลที่ให้กลิ่นใกล้เคียงกับแก๊สไข่เน่า แต่ไม่มีใครโชคดีได้ดมกลิ่นดาวยูเรนัสจริงๆ 

'แพทริก ไอร์วิน' ผู้นำทีมวิจัยครั้งนี้ บอกกับ space.com ว่า สภาวะหายใจลำบากที่อุณหภูมิ ติดลบ 120 องศาเซลเซียส ของชั้นบรรยากาศดาวยูเรนัส ทำให้แก๊สไฮโดรเจน, ฮีเลียม และมีเทนส่วนใหญ่ ใช้เวลานาน กว่าจะได้กลิ่น 

ทั้งนี้ ดาวยูเรนัส เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่ 7 ในระบบสุริยะ มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า ดาวมฤตยู จัดเป็นดาวเคราะห์แก๊สมีขนาดใหญ่เป็นลำดับที่ 3 ตั้งชื่อตามเทพเจ้าอูรานอส ของกรีก ผู้ค้นพบดาวยูเรนัสคือ เซอร์วิลเลียม เฮอร์เซล ในปี พ.ศ. 2324 มีดวงจันทร์เป็นบริวารทั้งหมด 27 ดวง 

ที่มา : mashable , space , cbs dfw