ไม่พบผลการค้นหา
หลังนาซา ประกาศยกเลิกโครงการซีเคริท นางสาวนริศรา ทองบุญชู เปิดใจกับทีมข่าววอยซ์ทีวีว่านี่เป็นความสูญเสียที่ทุกฝ่ายต้องกลับมาทบทวนครั้งใหญ่ เพราะเป็นการนำวิทยาศาสตร์ไปเชื่อมโยงกับการเมือง

หลังนาซา ประกาศยกเลิกโครงการซีเคริท นางสาวนริศรา ทองบุญชู  เปิดใจกับทีมข่าววอยซ์ทีวีว่านี่เป็นความสูญเสียที่ทุกฝ่ายต้องกลับมาทบทวนครั้งใหญ่  เพราะเป็นการนำวิทยาศาสตร์ไปเชื่อมโยงกับการเมือง  

 
หลังองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ  หรือ นาซา  ประกาศยกเลิกโครงการซีเคริท หรือการศึกษาสภาพอากาศ  อย่างเป็นทางการตั้งแต่เมื่อช่วงเช้าของวันนี้ (28 มิ.ย.55) นางสาวนริศรา  ทองบุญชู  อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  ซึ่งจะเป็นหนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ในโครงการศึกษาสภาพอากาศ  ของนาซา  เปิดใจกับทีมข่าววอยซ์ทีวีว่านี่เป็นความสูญเสียที่ทุกฝ่ายต้องกลับมาทบทวนครั้งใหญ่  เพราะเป็นการนำวิทยาศาสตร์ไปเชื่อมโยงกับการเมือง  
 
ก่อนที่นาซาจะตัดสินใจระงับโครงการทั้งหมด ในฐานะนักวิทยาศาสตร์ได้สอบถามเพิ่มเติมว่าจะเป็นไปได้หรือไม่  ที่จะเลือกใช้สนามบินสุราษฎร์ธานี  แทนสนามบินอู่ตะเภา  แต่ทีมนักวิจัยนาซาชี้แจงว่าไม่สามารถทำได้  เนื่องจากสถานที่ไม่เอื้ออำนวย  และมีรันเวย์ที่สั้นเกินไป
 
โครงการซีเคริท  หรือการศึกษาสภาพอากาศ  เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี  2553  โดยช่วงเดือนมิถุนายน  2553  รองศาสตราจารย์  ดร.เสริม  จันทร์ฉาย  อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยศิลปากร  หนึ่งจะเป็นหนึ่งในนักวิิทยาศาสตร์เข้าร่วมการศึกษาสภาพอากาศได้นำเจ้าหน้าที่นาซา  ลงสำรวจพื้นที่พร้อมติดต่อหน่วยงานของรัฐ  ซึ่งรวมถึงสำนักงานพัฒนาเทคโนฌลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA หลังจากนั้นต้นปี  2554  นาซาได้ยื่นเอกสารต่อกระทรวงการต่างประเทศเพื่อขอใช้สนามบินอู่ตะเภา  เป็นสถานีวิจัยชั่วคราว   เรื่องราวผ่านมาถึง  1  ปีกับการประสานงาน  แต่ก็ไม่มีความคืบหน้า  
 
ก่อนที่ในเดือนเมษายน  2555  นางสาวนริศรา  รวบรวมข้อมูลขอบข่ายการวิจัยให้กระทรวงการต่างประเทศ  และในวันที่  2  พ.ค.ที่ผ่านมา  มีการเรียกประชุมคณะทำงาน  เพื่อชี้แจงข้อมูลขอบข่ายการวิจัย  โดยมีนักวิทยาศาสตร์  ทหาร  และผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมหารือ แต่ก็ไม่มีข้อสรุปใดๆออกมา  5-6  มิถุนายน  สสวท.  เชิญคณะครู  นักเรียนจากทั่วประเทศจำนวน  99  คน  เข้าร่วมการอบรมเรื่องสภาพอากาศ  โดยมีนักวิจัยจากนาซาเข้าร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลด้วย  
 
ถึงจุดวิกฤติ  เมื่อ 19  มิถุนายน  ครม.สัญจรที่จังหวัดชลบุรี  ไม่มีการนำเรื่องนาซาขอใช้สนามบินอู่ตะเภาเข้าพิจารณา  และ  26  มิถุนายน  คณะรัฐมนตรีระบุกรณีนาซาขอใช้สนามบินอู่ตะเภา ต้องให้สภาร่วมพิจารณาแบบไม่ลงมติก่อน  ในที่สุดเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมานาซาออกแถลงการณ์ยกเลิกโครงการศึกษาสภาพอากาศทั้งหมด
 
โครงการนี้มีประโยชน์หลายด้าน  ซึ่งต้องใช้เทคโนโลยีและนาซาเตรียมใช้งบประมาณถึง  900  ล้านบาท  โดยมีหน่วยงานและนักวิจัยไทยจากสำนักฝนหลวง  และการบินเกษตร , GISTDA
 
รองศาสตราจารย์เสริม  จันทร์ฉาย  อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์  จากมหาวิทยาลัยศิลปากร  และนางสาวนริศรา  ทองบุญชู  ผู้เชี่ยวชาญแบบจำลองคุณภาพอากาศ  จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังเข้าร่วม  ซึ่งเธอระบุจนถึงวันนี้ยังรอความหวังว่านาซาจะกลับมาศึกษาสภาพอากาศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกครั้ง
Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog