ไม่พบผลการค้นหา
ผลวิจัยล่าสุดระบุว่า แพนด้ายักษ์ที่อาศัยอยู่ในป่าตามธรรมชาติเป็นสัตว์สังคมและมีกิจกรรมทางเพศมากกว่าที่มนุษย์เชื่อกัน ซึ่งการค้นพบนี้ก็ท้าทายองค์ความรู้ดั้งเดิมที่บอกว่า แพนด้าเป็นสัตว์ขี้อายและรักสันโดษ

ผลวิจัยล่าสุดระบุว่า แพนด้ายักษ์ที่อาศัยอยู่ในป่าตามธรรมชาติเป็นสัตว์สังคมและมีกิจกรรมทางเพศมากกว่าที่มนุษย์เชื่อกัน ซึ่งการค้นพบนี้ก็ท้าทายองค์ความรู้ดั้งเดิมที่บอกว่า แพนด้าเป็นสัตว์ขี้อายและรักสันโดษ
    
นิตยสาร "แมมมาโลจี" (Mammalogy) ตีพิมพ์ผลวิจัยเกี่ยวกับแพนด้ายักษ์ในป่าของมหาวิทยาลัยมิชิแกนสเตต ร่วมกับทางการจีน ระบุว่าแพนด้าที่อาศัยอยู่ในป่าตามธรรมชาตินั้น แท้จริงแล้วเป็นสัตว์สังคมและมีกิจกรรมทางเพศมากกว่าที่มนุษย์เชื่อกันก่อนหน้านี้

การเก็บข้อมูลดังกล่าวใช้วิธีการติดตั้งเครื่องติดตามตำแหน่งด้วยดาวเทียมหรือ GPS ไว้บนตัวแพนด้ายักษ์ 5 ตัว เป็นตัวผู้ 1 ตัว และตัวเมีย 4 ตัว โดยพบว่าแพนด้าเพศเมียใช้เวลาอยู่ด้วยกันค่อนข้างมาก ส่วนแพนด้าตัวผู้จะใช้เวลาเดินทางไปหาอาหารในป่ามากกว่า แต่ก็จะกลับมาหาตัวเมียทุกตัวที่ถูกนักวิจัยสะกดรอยอยู่เป็นระยะๆ 

แม้จะยังสรุปได้ไม่แน่ชัด แต่ทีมวิจัยตีความว่า พฤติกรรมดังกล่าวหมายถึงแพนด้ายักษ์เพศผู้มีความสัมพันธ์กับเพศเมียหลายตัวในคราวเดียวกัน นอกจากนี้ แพนด้าใช้กลิ่นเพื่อบอกตำแหน่งให้แพนด้าตัวอื่นรับรู้ด้วย ซึ่งทั้งหมดอาจล้มล้างความเชื่อและองค์ความรู้ดั้งเดิมของมนุษย์ที่ระบุว่า แพนด้าเป็นสัตว์ขี้เกียจ รักสันโดษ และมีกิจกรรมทางเพศน้อย จนเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พวกมันเสี่ยงสูญพันธุ์

ทั้งนี้ ทีมนักวิจัยอธิบายว่า ที่ผ่านมาที่มนุษย์เชื่อว่าแพนด้าเป็นสัตว์ขี้อายและรักสันโดษนั้น อาจเป็นเพราะการสังเกตพฤติกรรมแพนด้าในสมัยก่อนเป็นการสังเกตที่มีมนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้องด้วย จึงอาจทำให้พฤติกรรมของแพนด้าคลาดเคลื่อนมากกว่าการสังเกตผ่านเครื่อง GPS อย่างในงานวิจัยชิ้นนี้

 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
182Article
76558Video
0Blog