ไม่พบผลการค้นหา
*ข้อคิดเห็นจากการอภิปรายในสภา เมื่อมีผู้แทนราษฎรเชื่อว่าคนไม่เท่ากัน

“คนเราไม่มีทางเท่ากันหรอก หน้าตาก็ไม่เหมือนกันแล้ว

สิ่งที่เรียกร้องอยากเท่าเทียมกัน การศึกษาก็ไม่ได้เท่ากันแล้ว

การมีมนุษยสัมพันธ์ก็ไม่ได้เท่ากัน ไม่มีอะไรเท่ากันหรอกครับ”

คุณกษิดิ์เดช ชุติมันต์ ผู้แทนราษฎรจากพรรคพลังประชารัฐ อภิปรายในวันประชุมสภา 5 มิถุนายน

2562 ที่ยกคำพูดนี้ขึ้นมา เพื่อเตือนสติและสะท้อน กลับไปดัง ๆ ว่า ใครที่กลั่นคำพูดและคิดแบบนี้ มันจะไม่เพียงนำพาประเทศไทยก้าวเข้าสู่หายนะ แต่รวมถึง โลกใบนี้ด้วย

ในฐานะที่ฉันเป็นศิลปินสร้างงานศิลปะ ฉันเคยตั้งคำถามกับตัวเองว่าฉันอยากจะทำงานที่ออกมาจาก “ความรู้สึกนึกคิด” และ “แรงบันดาลใจ” จริง ๆ ไหม หรือ ทำทุกอย่างเพื่อเงิน ใครจ้างฉันก็ทำ ๆ ไป ให้งานนั้นผ่านไปแล้วก็รับเงิน สิ่งที่กดทับฉันมานานเหลือเกิน ก็เพราะทุนนิยม ทำให้ปรัชญาในชีวิต และเป้าหมายการสร้างงานศิลปะเปลี่ยนไปหรือไม่ ฉันต้องการการยอมรับ หรือ ฉันต้องการถ่ายทอดแรงบัน ดาลใจ หรือฉันทำเพราะความอยู่รอด ในภาวะสังคม การเมือง ที่วุ่นวายแก่งแย่งชิงดีชิงเด่น บางครั้งเรา ก็ลืมนึกสิ่งที่สำคัญและพื้นฐานที่เป็นตัวกำหนดความเป็นตัวเรา และนี่ก็คือสิ่งที่ฉันประสบและเรียนรู้มันตลอดมา 

“ซึ่งบางครั้งฉันก็ยอมจำนน เป็นเด็กดีต่อผู้ว่าจ้าง และ 

บางครั้งฉันก็เป็นเด็กดื้อลุกขึ้นเถียงผู้ว่าจ้าง” 

ฉันยกตัวอย่างง่าย ๆ อย่างเช่น การค้นคิด “ยารักษาโรค” การคิดค้นนั้นมาจากปรัชญาที่ต้องการให้คน ก้าวข้ามผ่านความเจ็บป่วย ต้องการให้คนมีชีวิตและมีชีวิตบนโลกใบนี้ได้ยืนยาวมากขึ้น และ

แต่หากผู้ผลิตยารักษาโรคอยากรวย เขาก็แค่เอาสูตรยาไปขายกับบริษัททุนนิยม เพื่อให้การรักษาเป็นการค้า สร้างกำไรมหาศาลให้กับองค์กรยา ดังนั้นเราจะสรุปได้อย่างไรว่า ยานั้นถูกค้นคิดเพื่อรักษาโรค หรือถูกค้นคิดเพื่อกำไร ใครที่ไม่อยากป่วย ไม่อยากตาย และยอมจ่ายเงินแพงแสนแพง ดีว่าปัจจุบันยังมีกฎหมายสิทธิบัตรยารักษาโรค กำหนดให้ ยาที่จดสิทธิบัตรครบ 10 ปี ราคาจะต้องถูกลงและสามารถเข้าถึง ควบคุมให้ ผู้ค้นคิด ผลิตยารักษาโรคดังกล่าวร่ำรวยแล้ว ก็ต้อง ให้ยารักษาโรคนั้นได้ทำหน้าที่ตามปรัชญาของมัน คือ รักษามนุษย์

“และเทคโนโลยีล่ะ ปรัชญาของสิ่งนี้คือ การปลดปล่อยมนุษย์สู่อิสรภาพใช่หรือไม่”

มีคนคิด “ปัญญาประดิษฐ์” หรือ “เทคโนโลยี” จำนวนมาก เลือกที่จะอยู่ข้างทุนนิยม เพื่อสร้างความมั่งคั่งให้กับตนเองจากสิ่งที่ตัวเองคิดค้นได้ เพราะลึก ๆ แล้วเขาก็ไม่มั่นใจว่าเขาจะอยู่รอดในสังคม “แก่งแย่งชิงดีชิงเด่น” แบบนี้ไปอย่างไร และเมื่อเป็น เช่นนี้แล้วสิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ

“เทคโนโลยี จะเบียดขับให้คนตกงาน และยิ่งไม่มีอิสรภาพ เหมือนหลังชนฝา”

เทคโนโลยีจะกลายเป็นสิ่งที่ทำให้บริษัท คนที่ร่ำรวยประหยัดค่าจ้างแรงงาน และสร้างผลกำไรให้กับบริษัท มากขึ้น และก็จะยิ่งสร้างความเหลื่อมล้ำให้กับสังคม นี่คือกัปดักสำคัญหากเราลืมที่จะสร้าง “ความเท่าเทียม” ให้เกิดขึ้นจริงในสังคม และฉันคิดว่ามันจะกลายเป็นสงคราม แต่ไม่ใช่สงครามระหว่างประเทศ แต่เป็นสงคราม ชนชั้นของ “คนที่รวยมาก” กับ “คนที่ไม่มีจะกิน” เพราะนี่คือความไ่ม่เป็นธรรมของการออกแบบสังคม ในระบบที่ ยังคงหล่อเลี้ยงความเหลื่อมล้ำ ง่ายที่สุดที่นึกอออกโลกที่ทุกคนต้องการ ความปลอดภัย แต่รัฐไม่สามารถสร้างความมั่นคง และปลอดภัยได้ เพราะเทคโนโลยีเป็นของผู้มีอันจะกิน

ดังนั้นคำพูดที่ว่า “ความเท่าเทียมไม่มีจริง” ของ คุณกษิดิ์เดช ชุติมันต์ ในสภา มันช่างสะท้อน ความไม่รู้ “อันตราย” และ “หายนะ” ที่จะเกิดขึ้นหากพวกเราทุกคนไม่เปลี่ยนแปลงศักดิ์และศรี ความเป็นมนุษย์ ให้เท่าเทียม ซ้ำยังมีความเชื่อว่าโลกเราก็เป็นแบบนี้ ความเหลื่อมล้ำนั่นมีอยู่แล้ว แต่ไม่มองกลับกันว่ารัฐนั่นแหละ ที่สามารถ ออกแบบให้ประชาชนทุกคนดำเนินชีวิตต่อไปได้ 

มันแย่มากนะ ที่คนเรามีความคิดสร้างสรรค์สิ่งที่จะปลดปล่อยมนุษย์ให้มีเสรีภาพ แต่มันอยู่แค่เอื้อม เหมือนฝันที่ไม่มีวันกลายเป็นจริง

ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์
ครูธัญ - ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ นักเต้น นักออกแบบท่าเต้น นักกิจกรรมส่งเสริมความหลากหลายทางเพศ และสส ปาร์ตี้ลิส ลำดับที่ 25 พรรคอนาคตใหม่
1Article
0Video
14Blog