ไม่พบผลการค้นหา
ที่ประชุม กมธ.พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ ก่อนรับหลักการ มีมติเลือก 'วิรัช รัตนเศรษฐ' เป็นประธานกรรมาธิการ 'สมชาย-เสรี' นั่งที่ปรึกษา โฆษกยันไม่มีปัญหาฝ่ายค้านไม่เข้าร่วม

ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ โฆษกคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่...)พ.ศ. ... ก่อนรับหลักการ กล่าวภายหลังการประชุม นัดแรกว่า ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ วิรัช รัตนเศรษฐ ประธานวิปรัฐบาล เป็นประธานกรรมาธิการ และมีรองประธานกรรมาธิการ 6 คน ได้แก่ มหรรณพ เดชวิทักษ์, ไพบูลย์ นิติตะวัน , ศุภชัย ใจสมุทร , ชินวรณ์ บุญเกียรติ, วิเชียร ชวลิต และนิกร จำนง และมีที่ปรึกษากรรมาธิการ 4 คน ได้แก่ กล้าณรงค์ จันทิก, อิสระ สมชัย, สมชาย แสวงการ และเสรี สุวรรณภานนท์ ด้านโฆษกกรรมาธิการ 2 คน ได้แก่ ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ และอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ มี ณัชนนท์ ศรีก่อเกื้อ เป็นเลขานุการกรรมาธิการ

c8e10bfe1d5be8a6adb101886545fd505_38155337_๒๐๐๙๓๐.jpg
  • ไพบูลย์ นิติตะวัน

เบื้องต้นกรรมาธิการได้มีการหารือร่วมกันว่า ควรให้ผู้เสนอญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งหมด มาชี้แจงข้อมูล เพื่อให้กรรมาธิการได้พิจารณา และเห็นว่าในช่วง 2 สัปดาห์แรกของการพิจารณา ควรเร่งพิจารณาก่อน พร้อมระบุว่าระยะเวลาเพียงพอต่อการพิจารณา ทั้งนี้เตรียมเชิญ พีรพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ประธานกรรมาธิการศึกษาหลักเกณฑ์ และวิธีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเข้ามาให้ข้อมูลผลการศึกษาของคณะกรรมมาธิการด้วย 

อย่างไรก็ตาม การประชุมจะพิจารณาญัตติรัฐธรรมนูญทั้ง 6 ฉบับ พร้อมกัน ไม่ได้เน้นญัตติใดเป็นพิเศษ ส่วนที่มองว่ากรรมาธิการไม่มีฝ่ายค้านร่วมด้วยนั้น ที่ประชุมเห็นไม่ไม่เป็นปัญหาเพราะยังต้องเชิญผู้เสนอร่างเข้ามาให้ข้อมูลอยู่แล้วซึ่งร่าง 5 ฉบับก็มาจากฝ่ายค้าน ในส่วนของร่างกลุ่มไอลอว์นั้น ทางกรรมาธิการยังไม่ได้นำมารวมด้วย เพราะจะต้องพิจารณา 6 ญัตติที่เข้าสภามาก่อน โดยญัตติที่เหมือนกันจะพิจารณาไปพร้อมกันส่วนญัตติในรายมาตราก็จะพิจารณาเป็นลำดับต่อไป ส่วนความเห็นของสมาชิกวุฒิสภาก็ไม่ได้มีการพูดคุยกัน

ย้อนดู 5 ประเด็นหลัก ร่าง รธน.ฉบับประชาชน

สำหรับร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนที่ถูกเสนอโดยไอลอว์นั้นมีการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในประเด็น

1.ที่มาของนายกรัฐมนตรี ต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เท่านั้น

2.ที่มาของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ต้องมาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน

3.เปลี่ยนแปลงองค์กรอิสระเพื่อให้มีการสรรหาใหม่

4.เปลี่ยนวิธีการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ง่ายขึ้น โดยใช้เสียงเกินกึ่งหนึ่งของทั้งสองสภาให้ความเห็นชอบในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

5.ในส่วนของการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เสนอให้มี สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) 200 คน ที่มาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วน โดยใช้ประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง ผู้สมัครรับเลือกตั้งจะสมัครแบบคนเดียวหรือแบบกลุ่มก็ได้ แต่ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเลือกได้เพียงกลุ่มเดียวเบอร์เดียว จากนั้นเอาคะแนนมาคำนวณที่นั่งส.ส.ร. คล้ายกับการเลือกตั้งแบบระบบบัญชีรายชื่อ เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง

c8e10bfe1d5be8a6adb101886545fd505_38155337_๒๐๐๙๓๐_0.jpgc8e10bfe1d5be8a6adb101886545fd505_38157026_๒๐๐๙๓๐.jpgc8e10bfe1d5be8a6adb101886545fd505_38155337_๒๐๐๙๓๐_3.jpg

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง