ไม่พบผลการค้นหา
เปิดเอกสารประกอบการพิจารณาอภิปรายทั่วไป ปมถวายสัตย์ฯ ในรายงานการประชุม ส.ส.ร. 2491 ยันชัดหลักคิด ให้คนปฏิญาณรู้ตัวก่อน ถ้า ‘ฝ่าฝืนจิตใจก็อย่าเข้ามา’ ทุกชาติที่มี ‘พระมหากษัตริย์’ กำหนดไว้ ต้องเขียนชัดเพื่อความแน่นอนไม่ใช้อารมณ์ ย้อนที่มา 2475 มุ่งให้ซื่อตรงต่อประเทศ ปกป้องกฎหมายสูงสุด ใส่ไว้ในรธน. 17 ฉบับ

การถวายสัตย์ปฏิญาณตนไม่ครบถ้วน ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 161 ของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ยังคงไม่จบ หลัง 7 พรรคร่วมฝ่ายค้านร่วมกันไล่ต้อน จนแม้แต่นายวิษณุุ เครืองาม รองนายกฯฝ่ายกฎหมายยังไม่ตอบในสิ่งที่ถูกถาม ก็กำลังเดินหน้ารวบรวมรายชื่อส.ส. เตรียมยื่นเรื่องต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้ส่งเรื่องไปยังคณะกรรมการ ป.ป.ช. ก่อนส่งไปยังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพื่อไต่สวนกรณีพล.อ.ประยุทธ์ ฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรงต่อไป

'วอยซ์ ออนไลน์' จึงชวนพลิก เอกสารประกอบการพิจารณา ญัตติ เรื่องขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อซักถามข้อเท็จจริงและเสนอแนะปัญหาต่อคณะรัฐมนตรี อ.พ.22/2562 สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง อ้างถึง รายงานการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 44 เมื่อวันที่ 9 พ.ย. 2491 ที่มีการถกเถียงถึงการกำหนดเนื้อหาในต่อการถวายสัตย์ปฏิญาณตน เพื่อย้อนดูที่มาที่ไปของการกำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับการถวายสัตย์ฯ ที่ พล.อ.ประยุทธ์ไม่ได้ตอบนั้น สุ่มเสี่ยงเข้าข่ายต่อการละเมิดจริยธรรมอย่างร้ายแรงอย่างไร

B2ACABA7-DE91-4961-9470-5F2E01DB01CE.jpeg

เปิดบันทึกส.ส.ร. 2491 ยันหลักคิด ให้คนปฏิญาณรู้ตัวก่อน ถ้า ‘ฝ่าฝืนจิตใจก็อย่าเข้ามา’

เริ่มจากหลักคิดที่ต้องกำหนดในรัฐธรรมนูญ หลวงประกอบนิติสาร ในฐานะกรรมาธิการ ให้เหตุผลไว้ว่า เมื่อรัฐธรรมนูญบัญญัติให้ปฏิญาณแล้วก็ควร เขียนไว้ให้ชัดว่า ปฏิญาณอย่างไร เพราะถ้าไม่เขียนไว้แล้วสภาก็จะต้องบัญญัติข้อบังคับ ถ้าเป็นสภาก็ต้องออกข้อบังคับของตนเองว่า ให้บัญญัติถ้อยคำปฏิญาณอย่างไร เพาะฉะนั้นคำปฏิญาณอาจจะเปลี่ยนไปตามอารมณ์ของผู้ที่เป็นสมาชิกสภาส่วนมากในครั้งหนึ่ง อาจจะบัญญัติอย่างหนึ่ง อีกครั้งหนึ่งอาจจะปฏิบัติอีกอย่างหนึ่งเช่นนี้ทำให้ไม่เสมอต้นเสมอปลาย

"รัฐธรรมนูญต่างประเทศหลายๆประเทศเขาก็เขียนโดยพิศดารว่า ปฏิญาณอย่างไร เพื่อให้เป็นการแน่นอนว่า คนที่จะเข้าหน้าที่ต้องรู้เสียก่อนที่จะถูกตั้งตำแหน่งนั้น ต้องรู้เสียก่อนว่าตนเป็น สมาชิกตนจะต้องปฏิญาณอย่างไร ถ้าเห็นว่า คำปฏิญาณฝ่าฝืนจิตต์ใจก็อย่าเข้าเป็นสมาชิกแล้วคำปฏิญาณก็ร่างอย่างกลางๆ ไม่ใช่คำสาบาน ซึ่งบุคคลบางคนจะรังเกียจการเขียนเช่นนี้ ไม่รุ่มร่ามดีกว่าปล่อยให้เป็นครั้งเป็นคราว" หลวงประกอบนิติสาร ระบุ

90F4C34F-FAD2-4940-AB13-13D49D67685C.jpeg

ทุกชาติที่มี ‘พระมหากษัตริย์’ ก็กำหนดไว้ ต้องเขียนชัดเพื่อความแน่นอนไม่ใช้อารมณ์

พระยาอรรถการีย์นิพนธ์ ในฐานะกรรมาธิการ เห็นว่า เมื่อได้รับหลักการที่ว่าบุคคลเหล่านี้จะต้องปฏิญาณ แล้วก็เป็นความจำเป็นที่จะต้องเขียนคำปฏิญาณอย่างไร คำปฏิญาณซึ่งได้เคยมีในรัฐธรรมนูญที่ใช้มาแล้วตั้งแต่ปี 2475 ก็มี หรือ 2479 ก็มี หรือรัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับ 2490 ก็มีบรรจุคำปฏิญาณไว้...กรรมาธิการเห็นว่า เพื่อที่จะให้คำปฏิญาณนี้ได้เป็นไปโดยสม่ำเสมอกัน ไม่เป็นไปตามชอบใจก็จำเป็นต้องเขียนไว้เป็นกิจจะลักษณะ

"แล้วอีกประการหนึ่งในรัฐธรรมนูญของประเทศต่างๆที่มีพระมหากษัตริย์โดยมากก็ได้เขียนไว้ทุกประเทศ เป็นต้นว่ารัฐธรรมนูญของประเทศฮอลันดา สวีเดน เบลเยี่ยม ถ้าท่านจะเปิดดูแล้ว ท่านจะเห็นได้ทีเดียวว่าเขาเขียนไว้อย่างนั้น เขาเขียนไว้มากเหลือเกิน นี่แหละกรรมาธิการเห็นว่าดูไม่เป็นเหตุที่เสียหายอย่างไร ในการที่เราจะบัญญัติไว้แม้จะยืดยาวเช่นนั้น"อดีตกมธ.เมื่อปี 2491ระบุ

183075E8-5477-47A6-9581-AD874227A218.jpeg

สำหรับรัฐธรรมนูญฉบับ 2492 นับว่า เป็นต้นแบบที่กำหนดเรื่องการปฏิญาณตนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ สืบเนื่องมาตั้งแต่ปี 2475 ถ้อยคำไม่ต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับอื่นๆ หรือล่าสุดฉบับ 2560 ซึ่งการประชุมในครั้งนั้น ยังได้เน้นย้ำผ่านการอภิปรายถึงความสำคัญของประโยคสุดท้ายที่ว่า "ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ" ซึ่งพล.อ.ประยุทธ์กล่าวไม่ครบถ้วน

เอกสารบันทึกการประชุมเมื่อปี 2491 บันทึกความเห็นของ เลขาธิการสภาร่างรัฐธรรมนูญไว้ว่า รัฐธรรมนูญทุกฉบับตั้งแต่ปี 2475 ก็มีคำปฏิญาณว่า 'จะรักษาไว้ตามรัฐธรรมนูญ' เป็นแต่เพียงเขียนเลขนอกเลขในเท่านั้นเอง...รัฐธรรมนูญต่างประเทศเขาก็เขียนเรื่องการสาบาน นอกจากบางประเทศที่ไม่มีคำสาบาน ที่เป็นเช่นนี้เขาต้องการความแน่นอน ไม่ใช่เกี่ยวกับอารมณ์ของตนประเดี๋ยวสั้นประเดี๋ยวยาว

102D8225-EB93-4DF8-9AB0-1C0E0A1AED9D.jpeg

ย้อนที่มา 2475 มุ่งให้ซื่อตรงต่อประเทศ ปกป้องกฎหมายสูงสุด ใส่ไว้ในรธน. 17 ฉบับ

เลขาธิการสภาร่างรัฐธรรมนูญ ขยายความต่อว่า รัฐธรรมนูญปี 2475 ก็ว่า 'จะรักษาไว้ซึ่งและปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญ' เช่น มาตรา 19 คือ ก่อนรับหน้าที่ส.ส.ต้องปฏิญาณในที่ประชุมแห่งสภาว่า 'จะรักษาไว้ซึ่งและปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญ' นี่เป็นคำพูดที่เกี่ยวกับคำสาบาน แต่รัฐธรรมนูญปี 2489 ได้บัญญัติไว้เช่นเดียวกันว่า ก่อนเข้ารับหน้าที่สมาชิกพฤตสภาและสมาชิกสภาผู้แทนต้องปฏิญาณต่อสภาที่ตนประชุมว่า จะต้องรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญ

"ทีนี้หากว่าสมาชิกจะได้พิจารณาโดยใจเป็นกลางก็ไม่มีอะไร คือเรามีพระมหากษัตริย์ก็ต้องจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ต่อประเทศชาติแล้วเรามีรัฐธรรมนูญ ก็ต้องปฏิบัติตาม ซึ่งรัฐธรรมนูญก็เหมือนกับปี 2475 และปี 2489...ทีนี้เราต้องการเขียนไปด้วยว่าเราต้องการให้ปฏิญาณอย่างไร เพื่อให้เขาซื่อสัตย์หรือให้เขาซื่อตรงต่อประเทศชาติ หรือรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญอย่างไร เขาก็เขียนไว้ ตัวอย่างก็มีอยู่แล้วตามรัฐธรรมนูญต่างๆในต่างประเทศ" เลขาธิการสภาร่างรัฐธรรมนูญ ระบุ

0ADDFED2-E4B4-415B-89D0-61346891003E.jpeg

ทั้งนี้ บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวกับการถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ของรัฐมนตรี มีทั้งสิ้น 17 ฉบับคือ

1.รัฐธรรมนูญฉบับ 2492 (ได้บัญญัติไว้เป็นครั้งแรก)

2.รัฐธรรมนูญฉบับ 2475แก้ไขเพิ่มเติม 2495

3.รัฐธรรมนูญฉบับ 2502

4.รัฐธรรมนูญฉบับ 2511

5.รัฐธรรมนูญฉบับ 2515

6. รัฐธรรมนูญฉบับ 2517

7.รัฐธรรมนูญฉบับ2519

8.รัฐธรรมนูญฉบับ2520

9.รัฐธรรมนูญฉบับ 2521

10.รัฐธรรมนูญฉบับ 2534

11.รัฐธรรมนูญฉบับ 2534

12.รัฐธรรมนูญฉบับ 2538

13.รัฐธรรมนูญฉบับ 2540

14.รัฐธรรมนูญฉบับ 2549

15.รัฐธรรมนูญฉบับ 2550

16.รัฐธรรมนูญฉบับ 2557 (ฉบับชั่วคราว)

และ17.รัฐธรรมนูญฉบับ2560


BE4A6D40-CDBD-4C31-AA22-A4FD683E0F4A.jpeg5079C7D4-BE8F-4948-8F99-7DA4D080D136.jpeg

ย้ำชัดถ้อยความ ‘ทั้งจะรักษาและปฏิบัติตามรธน.’ ให้เกิดความไว้ใจ - ไม่ฉีกทิ้งอีก?

อย่างไรก็ดี ในการประชุมก็มีการตั้งข้อสังเกต โดยนายจงใจภักดิ์ว่า ข้าพเจ้าข้องใจวรรคท้าย 'ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ รัฐธรรมนูญฉบับไหนกันแน่ ฉบับนี้ หรือฉบับหน้า ฉบับหน้าเปลี่ยนนี่ก็รักษาไว้หรือที่แล้วมาก็รักษาด้วย' ด้าน พระยาอรรถการีย์นิพน ในฐานะกรรมาธิการ ก็ชี้แจงไว้ชัดเจนว่า "รัฐธรรมนูญฉบับขณะสาบานใช้อยู่ฉบับไหนก็ฉบับนั้น"

6DC01B5C-F2F9-47D8-B451-BFB12DD5C893.png


สอดคล้องกับ ‘ความมุ่งหมายและคำอธิบายประกอบรายมาตราของรัฐธรรมนูญ 2560’ มาตรา 161 ที่ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า มุ่งหมายให้เกิดความไว้วางใจ “เป็นไปตามหลักการที่ว่าอำนาจทั้งปวงเป็นของปวงชนชาวไทยโดยมีพระมหากษตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขเป็นผู้ใช้อำนาจนั้นผ่านองค์กรต่างๆ เมื่อจะมีผู้เข้าบริหารนั้น จึงให้มีการถวายสัตย์เพื่อให้รับรู้แหล่งที่มาแห่งอำนาจของผู้ที่จะไปปฏิบัติหน้าที่ และให้คำรับรองว่า จะปฏิบัติหน้าที่ด้ยความซื่อสัตย์สุจริต ทั้งเป็นการยืนยันเพื่อให้เกิดความไว้วางใจผู้นั้น”

เมื่อพล.อ.ประยุทธ์ และรองนายกฯวิษณุไม่ชี้แจงตอบคำถามอย่างตรงไปตรงมา จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ ส.ส.ฝ่ายค้าน ซึ่งลุกขึ้นอภิปราย จะตั้งคำถามอย่างตรงไปตรงมาว่า ท่านคิดจะปฏิวัติรัฐประหารอีกใช่หรือไม่ จึงไม่ถวายสัตย์ปฏิญญาณถึงการรักษาและปฏิบัติรัฐธรรมนูญ

BF169385-84D8-4E0E-BF4F-CBD48E657AD5.pngปิยบุตร

ฝ่ายค้านบี้หนัก จ่อส่ง ป.ป.ช.ไต่สวนชงศาลฎีกาฟัน แบนลงเลือกตั้ง 10 ปี

สำหรับขั้นตอนของ 7 พรรคฝ่ายค้านนั้น อยู่ระหว่างหารือเรื่องข้อกฎหมาย จะรวบรวมรายชื่อ ส.ส. ยื่นไปยังคณะกรรมการ ป.ป.ช.ให้ตรวจสอบ ตามมาตรฐานทางจริยธรรม ที่กำหนดไว้ในมาตรา 160(5) ต่อไป ซึ่งเข้าข่ายฝ่าฝืนจริยธรรมร้ายแรงในหลายข้อ จากนั้นก็ต้องจับตาดูกันต่อไปว่า พล.อ.ประยุทธ์ ที่รอดพ้นจากการตรวจสอบจากบรรดาองค์กรอิสระจะเป็นอย่างไร

เมื่อเรื่องไปถึงมือ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่มีอำนาจไต่สวนข้อเท็จจริงตามมาตรา 234 และ มาตรา 235 ของรัฐธรรมนูญ 2560 หากคณะกรรมการ ป.ป.ช.ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งเห็นว่าเข้าข่าย จึงเสนอต่อศาลฎีกา ซึ่งผู้ถูกกล่าวหาต้องยุติการปฏิบัติหน้าที่ และถ้ามีคำพิพากษาว่าผิดจริงต้องพ้นจากตำแหน่ง และอาจถูกเพิกถอนสิทธิรับเลือกตั้งไม่เกิน 10 ปี

พล.อ.ประยุทธ์จะอยู่เหนือรัฐธรรมนูญดังคำครหาจริงหรือไม่ ต้องติดตาม!

ข่าวที่เกี่ยวข้อง