ไม่พบผลการค้นหา
ปิดตำนาน ‘บ้านสี่เสาเทเวศร์’ หลังเตรียมส่งมอบให้กับ กรมสวัสดิการ ทบ. เพื่อส่งมอบสำนักพระราชวัง 31ต.ค.นี้ กับอนาคตของบ้านสี่เสาฯ หลังทางสำนักพระราชวังได้เข้ามาสำรวจและเก็บรายละเอียดต่างๆในพื้นที่แล้ว จึงไม่สามารถเข้าไปดูภายในอาคารได้ แต่ยังคงเยี่ยมรอบๆตัวบ้านได้ก่อนส่งมอบ

โดยนายตำรวจด้านการข่าว ประจำบ้านสี่เสาฯ ระบุเพียงว่า เป็นเรื่องของชั้นความลับ เพราะอาจส่งผลต่อเรื่องการรักษาความปลอดภัยและความเป็นพื้นที่เฉพาะของภายในอาคาร โดยเฉพาะจุดที่ไม่เคยเปิดให้ใครได้เข้าไป เช่น ชั้น 2 ของตัวบ้าน ที่เป็นห้องนอน ห้องน้ำ ห้องเสื้อผ้า ห้องทำงาน และห้องเก็บของที่ระลึกของ ‘ป๋าเปรม’พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ อดีตปธ.องคมนตรีและรัฐบุรุษ

ด้าน พล.อ.พิศณุ พุทธวงศ์ นายทหารคนสนิทประธานองคมนตรี เปิดเผยว่า พื้นที่บ้านสี่เสาฯ ทาง ทบ. ได้ขอเข้าใช้ประโยชน์จากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และได้มอบให้กรมสวัสดิการ ทบ. รับผิดชอบ การส่งมอบพื้นที่ก็จะส่งมอบกลับไปที่ ทบ. ตามขั้นตอนก่อน

โดยบ้านสี่เสาฯ ถูกสร้างขึ้นช่วงปี 2500 สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็น ผบ.ทบ. จากนั้น พล.อ.เปรม ได้เข้ามาพักช่วงปี 2522-2523 ขณะเป็น ผบ.ทบ. จนขึ้นเป็น นายกรัฐมนตรี องคมนตรี และ ประธานองคมนตรี รวม 40 ปี 

ทั้งนี้มีการตั้งคำถามถึงการพักบ้านสี่เสาฯ โดยเป็นที่ทราบกันในบ้านป๋าว่า พล.อ.เปรม ใช้พำนักในฐานะ ‘รัฐบุรุษ’

โดย พล.อ.อู๊ด เบื้องบน อดีตนายทหารคนสนิทป๋า เปิดเผยว่า เมื่อ พล.อ.เปรม พ้นจากตำแหน่ง นายกฯ ปี 2531 ซึ่งเป็นช่วงรอยต่อที่ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ขึ้นเป็นนายกฯและรมว.กลาโหมคนใหม่ ได้นำความกราบบังคมทูล จากนั้นมีพระราชโองการโปรดเกล้าฯยกย่อง พล.อ.เปรม เป็น ‘รัฐบุรุษ’ ซึ่งทางทำเนียบรัฐบาล ได้ระบุว่า ตำแหน่งรัฐบุรุษจะต้องมีสถานที่พักรับรอง จึงได้ใช้บ้านสี่เสาฯสืบเนื่องมา

ทั้งนี้เมื่อ 2 ปีที่แล้ว พล.อ.เปรม ได้สั่งให้บรรจุของที่ระลึกที่เก็บไว้บนชั้น 2 ของบ้าน ใส่รถยีเอ็มซีไปไว้ที่บ้านเลขที่ 1 หรือ บ้านศรัทธา อ.เมือง จ.สงขลา โดยนายตำรวจด้านการข่าวงประจำบ้านสี่เสาฯ ระบุว่า แม้ขณะนั้น พล.อ.เปรม ยังแข็งแรงดี แต่มีความรู้สึกบางอย่างที่ทำให้ พล.อ.เปรม ต้องสั่งเช่นนั้นหรือไม่

อย่างไรก็ตามสิ่งของเครื่องใช้ของ พล.อ.เปรม ได้นำออกจากบ้านสี่เสาฯทั้งหมดแล้ว ตัวอาคารปิดล็อครอการส่งมอบให้กับสำนักพระราชวัง บ้านที่เคยสะอาด เริ่มมีฝุ่นเกาะตามส่วนต่างๆ ต้นไม้เริ่มรกเพราะไม้ได้มีการตัดแต่ง แต่ดอกไม้ในสวนหย่อมหน้าบ้านยังคงบานสวย ซึ่งเป็นดอกไม้ที่เป็นที่รู้กันว่า พล.อ.เปรม ชื่นชอบดอกไม้เหล่านี้มาก

เปรม บ้านสี่เสา C-4A20-B774-D0C8E25B198C.jpegเปรม บ้านสี่เสา 0-A0A1-AAC146A6B891.jpeg

ก่อนหน้านี้ จนท.บ้านสี่เสาฯ ได้นำสิ่งของใช้ส่วนตัวของ พล.อ.เปรม ไปเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์ พล.อ.เปรม ที่ จ.สงขลาเรียบร้อยแล้ว แต่ทางบ้านสี่เสาฯ ได้ถ่ายภาพห้องทุกห้องของบ้านสี่เสาฯ ไว้ทั้งหมด เพื่อรวบรวมทำเป็นสิ่งบันทึกประวัติศาสตร์บ้านหลังนี้ไว้ เพราะถือเป็นบ้านประวัติศาสตร์ทางการเมืองไทย ทั้งนี้นายตำรวจด้านการข่าว ประจำบ้านสี่เสาฯ เล่าว่า บุคคลต่างประเทศที่มาเข้าพบ พล.อ.เปรม ที่นี่คนแรกคือ ‘มหาเธร์ โมฮัมหมัด’ นายกฯมาเลเซีย ที่เป็น นายกฯ สมัยแรกๆพร้อมกับ พล.อ.เปรม ช่วงยุคปี 2520 และเป็นคนสุดท้ายที่เป็นแขกต่างประเทศที่มาพบ พล.อ.เปรม เมื่อ ต.ค.61 ด้วย ในโอกาสเยือนไทยอย่างเป็นทางการ ซึ่งทั้งคู่เป็นเพื่อนกันมายาวนาน

ในส่วนของการจัดพิธีสวดพระอภิธรรมศพ พล.อ.เปรม สิ้นสุดเมื่อ 18 ต.ค.ที่ผ่านมา ขณะนี้อยู่ระหว่างรอการโปรดเกล้าฯ วันพระราชทานเพลิงศพ ทั้งนี้ ‘ทีมงานลูกป๋า’ ได้พูดคุยกับญาติ ‘ป๋าเปรม’ โดยจะมีการจัดพิธี “พาปู่กลับบ้าน” โดยเมื่อ 26 ส.ค.62 ครบรอบวันเกิด พล.อ.เปรม ทางญาติได้อนุญาตให้นำอัฐิกลับไปที่ จ.สงขลา ซึ่งอาจไว้ที่ ม.สงขลานครินทร์ บ้านศรัทธรา หรือรูปปั้นที่ตั้งอยู่หลายที่ใน จ.สงขลา โดยชาวสงขลาก็กำลังเตรียมงาน “พาปู่กลับบ้าน” โดยมี พล.ร.อ.พะจุณณ์ ตามประทีป อดีตหัวหน้าสำนักงานประธานองคมนตรี เป็นผู้ประสานซึ่งบุคคลคนภายนอกจะเรียกว่า ‘ป๋าเปรม’ 

แต่สำหรับคนในบ้านสี่เสาฯและครอบครัวติณสูลานนท์ จะเรียกว่า ‘ปู่’ กัน รวมถึงนักเรียนทุนของ พล.อ.เปรม ด้วย

หนึ่งในนายทหารลูกป๋าที่สานต่องาน คือ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี ที่ได้รับการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นผู้รักษาการประธานองคมนตรี เมื่อ 28พ.ค. 2562 โดย พล.อ.สุรยุทธ์ ยังคงสานต่อโครงการสานใจไทยสู่ใจใด้ ซึ่ง พล.อ.สุรยุทธ์ เปิดเผยว่า พล.อ.เปรม กล่าวกับตนว่าเลิกไม่ได้ ตนจึงต้องทำต่อ ซึ่ง พล.อ.สุรยุทธ์ ยังดำรงตำแหน่งเป็น ประธานมูลนิธิรัฐบุรุษ พล.อ.เปรมฯ ด้วย

แม้จะเป็นนายทหารต่างเหล่า โดย พล.อ.เปรม เป็นนายทหารเหล่าม้า พล.อ.สุรยุทธ์ เป็นนายทหารรบพิเศษ นอกเหนือการเป็น ‘พี่น้องทหาร’ แล้ว ทั้งคู่ยังเป็น ‘พี่น้องชมพู-ฟ้า’ ศิษย์เก่า ร.ร.สวนกุหลาบฯ ด้วย ซึ่งที่ผ่านมา พล.อ.เปรม ก็ได้มอบหมายให้ พล.อ.สุรยุทธ์ ออกงานแทน ด้วยข้อจำกัดเรื่องสุขภาพ

เปรม สุรยุทธ์ -5142-4C8D-86B1-0AEE698BB885.jpeg

ทั้งนี้ พล.อ.สุรยุทธ์ พบกับ พล.อ.เปรม มาตั้งแต่ปี 2521 หลัง พล.อ.สุรยุทธ์ พ้นจากการเป็นอาจารย์ที่ โรงเรียน เสธ.ทบ. และได้สมัครใจไปเป็นผู้บังคับกองพันทหารราบ กรมทหารราบที่ 23 จ.นครราชสีมา โดยผู้การกรมเป็นอดีตผู้บังคับบัญชาของพล.อ.สุรยุทธ์ โดยเป็นผู้หมวดสมัยเป็น ร.ร.นายร้อย จปร.ได้มาพูดกับว่า “สุรยุทธ์ ไปเป็นผู้บังคับกองพันเอาไหม” 

ซึ่ง พล.อ.สุรยุทธ์ ได้ตอบรับโดยทันที โดยให้เหตุผลว่าคงเลือกอะไรมากไม่ค่อยได้ เมื่อไปถึงโคราช ในขณะนั้น ‘ป๋าเปรม’ เป็นผู้ช่วย ผบ.ทบ. ได้บอกผ่านผู้การกรมมายัง พล.อ.สุรยุทธ์ ว่า ขอให้มาช่วยงาน ทำให้ พล.อ.สุรยุทธ์ ต้องไปมากรุงเทพฯ-โคราช ในการทำหน้าที่ 2 ตำแหน่ง

แน่นอนว่าด้วยสายสัมพันธ์กว่า 40 ปี ทำให้ พล.อ.สุรยุทธ์ ได้ทราบถึงแนวทางการทำงานของ พล.อ.เปรม อีกทั้งเห็นความเป็นตัวตนของ พล.อ.เปรม ที่สามารถของครองตนผ่านวิกฤติการเมืองต่างๆมาได้ สิ่งหนึ่งที่ทั้งคู่คล้ายกันคือ ความนิ่งสุขุม

สุรยุทธ์ เปรม ประธานองคมนตรี DE3-9E27-ED961CDA6DD1.jpeg

อีกสิ่งที่ฮือฮาล่าสุดคือที่กองทัพบก หลัง พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผบ.ทบ. ได้เชิญ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและรมว.กลาโหม มาเปิดอาคารรับรอง บก.ทบ. ในส่วนของอาคารเก่าตั้งแต่เป็น ร.ร.นายร้อย จปร. หลังปรับปรุงใหญ่ ได้มีการใช้ชื่อห้องว่า ‘ศรีสิทธิสงคราม’ โดยมาจากชื่อ พระยาศรีสิทธิสงคราม หรือ ดิ่น ท่าราบ ที่มีศักดิ์เป็น ‘คุณตา’ ของ พล.อ.สุรยุทธ์ โดยเป็นอดีตนายทหารบก แกนนำเหตุการณ์กบฏบวรเดชปี2476 ที่

สุดท้ายได้พ่ายให้กับฝ่ายคณะราษฎร ที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม นำกำลังมาปราบนั่นเอง ที่ถูกมองไปในเรื่องการเขียนประวัติศาสตร์ขึ้นมาใหม่ของ ทบ.

ทำให้ชื่อ พล.อ.สุรยุทธ์ ถูกจับตา รวมทั้งบทบาทในอนาคตด้วย

ปริศนา ลายพราง
164Article
0Video
39Blog