ไม่พบผลการค้นหา
สศอ. มอบหมายสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ต่อยอดเพิ่มผลิตภาพในภาคอุตสาหกรรมด้วยเครือข่ายดิจิทัล ภายใต้โครงการยกระดับอุตสาหกรรม 4.0 ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพ ผลิตภาพและนวัตกรรม ในปีงบประมาณ 2562

สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เตรียมโครงการการสร้างรูปแบบ กระบวนการ และวางแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย เพื่อผลักดันทรัพยากรบุคลากร เพื่อพัฒนาเทคโนโลยี Internet of Thing (IoT) เข้าสู่ความต้องการใช้งานเทคโนโลยีของผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรม

โดย กระทรวงอุตสาหกรรมได้มีนโยบายในการพลักดันอุตสาหกรรมไทยด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและมีอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร เป็น 1 ใน 5 อุตสาหกรรมเป้าหมายเดิมที่มีศักยภาพ (First S-Curse) ที่เป็นเป้าหมายหลักในการขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0  


S__31359013.jpg

อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารในประเทศไทยส่วนหนึ่งยังขาดความพร้อมที่จะลงทุน หรือปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ทั้งเกิดจากข้อจำกัดในด้านต่างๆ ทำให้ไม่สามารถปรับเปลี่ยนเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มผลิตภาพ และขีดความสามารถในการแข่งขันได้ ในทางกลับกันกลุ่มผู้ผลิตเทคโนโลยี IoT (IoT Maker) ของไทย เช่นกลุ่มบุคลากรในสถาบันการศึกษา นักวิจัยอิสระ และหน่วยงานวิจัยต่างๆ ที่สามารถตอบสนองความต้องการอุตสาหกรรมได้ ซึ่งกลุ่ม IoT Maker เหล่านี้ยังขาดความเชื่อมโยงกับผู้ต้องการใช้เทคโนโลยีเช่นกัน

ดังนั้น หากสามารถเชื่อมโยงความต้องการเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมกับกลุ่ม IoT Maker ในประเทศได้ จะเป็นการเปิดโอกาสช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีและนำไปใช้ในกระบวนการผลิต การค้า และการส่งออก ซึ่งจะช่วยสนันสนุนให้อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารเติบโตอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน ในขณะเดียวกันยังเป็นการสร้างโอกาสในการพัฒนาทักษะ ความรู้ ความสามารถให้กับกลุ่มผู้ผลิตเทคโนโลยีในประเทศอีกด้วย

ในทางกลับกันกลุ่มผู้ผลิตเทคโนโลยี IoT (IoT Maker) ของไทย เช่น กลุ่มบุคลากรในสถาบันการศึกษา นักวิจัยอิสระ และหน่วยงานวิจัยต่างๆ ที่สามารถตอบสนองความต้องการอุตสาหกรรมได้ ซึ่งกลุ่ม IoT Maker เหล่านี้ยังขาดความเชื่อมโยงกับผู้ต้องการใช้เทคโนโลยี หากเชื่อมโยงความต้องการเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมกับกลุ่ม IoT Maker ในประเทศได้ จะช่วยเปิดโอกาสช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีและนำไปใช้ในกระบวนการผลิต การค้า และการส่งออก ซึ่งจะช่วยสนันสนุนให้อุตสาหกรรมสามารถเติบโตอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน ในขณะเดียวกันยังเป็นการสร้างโอกาสในการพัฒนาทักษะ ความรู้ ความสามารถให้กับกลุ่มผู้ผลิตเทคโนโลยีในประเทศอีกด้วย


64992.jpg


ด้าน นายยุงยุทธ์ นุ่มศิริ ผู้จัดการทั่วไป บริษัทเอกชนแห่งหนึ่งที่เข้าร่วมโครงการ ได้เตรียมพัฒนาเทคโนโลยีเชื่อมต่อการจัดเก็บคลังสินค้าแช่เย็น เพื่ออำนวยความสะดวกในการค้นหาสินค้าแทนการใช้แรงงาน มั่นใจระบบดิจิทัลว่าจะช่วยพลักดันยอดขายให้เติบโต มีผลิตภาพมากขึ้น แต่ขอภาครัฐช่วยอุดหนุนเพิ่มทั้งด้านงบประมาณและความรู้ทางเทคโนโลยี

การดำเนินโครงการต่อยอดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในภาคอุตสาหกรรมด้วยเครือข่ายดิจิทัล โดยภาครัฐได้จัดโครงการเปิดรับสมัครโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร จากจำนวน 34 โรงงาน แบ่งตามหมวดหมู่ประเภทอาหาร วิเคราะห์รูปแบบกระบวนการ ลงสำรวจผ่านการเก็บข้อมูลจากทางโครงการฯ เพื่อวิเคราะห์หาที่มาของปัญหาในกระบวนการ โดยคัดเลือกเข้าร่วมพัฒนาจำนวน 25 โรงงาน เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพในด้านการผลิตและระบบการจัดการภายในโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุค Digital Industry ด้วยการใช้ Internet of Thing (IoT) ที่คิดค้นจากนักพัฒนาที่สมัครเข้าร่วมโครงการ 40 ราย คัดเลือกตามความสามารถเข้าสู่กระบวนการจับคู่พัฒนาเทคโนโลยี (Matching) กับปัญหาที่เหมาะสมจากโรงงานที่สมัครเข้าร่วม โดยหวังเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับตลาดต่างประเทศ ปรับกลยุทธ์นำเทคโนโลยีดิจิทัล และระบบที่ออกแบบ วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยนักพัฒนาเทคโนโลยี IoT ของประเทศไทย เข้ามาเชื่อมต่อระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และเหมาะสมกับกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมของไทย


S__31359012.jpg


สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ ISMED จัดกิจกรรมตัดสินการพัฒนาเทคโนโลยี Internet of Thing ในโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ขึ้นในงาน “IoT Maker Pitching Contest 2019” เพื่อการจัดระดับและวัดผลลัพธ์ของกระบวนการทำงาน ตามเกณฑ์ที่โครงการฯ วางไว้ ร่วมถึงขยายเครือข่ายนักพัฒนาสู่อุตสาหกรรมที่สนใจโดยสร้างแพลตฟอร์มเครือข่ายดิจิทัล www.digitaltechmaker.com ขึ้น ที่ช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมไทย สามารถเข้าถึงนักพัฒนาเทคโนโลยี Internet of Thing (IoT) ได้ง่าย รวมถึงสามารถรับชมผลงานการพัฒนาที่ผ่านมา เพื่อเป็นการส่งเสริมช่องทางการตลาดและสร้างการรับรู้ สนับสนุนให้อุตสาหกรรมและภาคผลิตระดับ SMEs ไทย เชื่อมต่อกันกับผู้พัฒนา IoT ได้บนแพลตฟอร์ม ดังกล่าว ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนโรงงานอุตสาหกรรมรวมถึงภาคการผลิตในส่วน SME เข้าสู่ยุค 4.0 ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลต่อไป