ไม่พบผลการค้นหา
สนามการต่อสู้ของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งไม่ได้จำกัดอยู่ที่ หน้า ม.ธรรมศาสตร์ หรือ UN เท่านั้น แต่ในโลกทวิตเตอร์ก็พบการต่อสู้ผ่านแฮชแท็กฮิต #กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง เป็นสิ่งที่คนรุ่นใหม่เรียกว่า 'การแซะ' แบบได้ใจและเฉียบคม ชนิดชี้ให้เห็นถึงความเสื่อมของระบอบเผด็จการในหมู่คนรุ่นใหม่ได้เป็นอย่างดี

ราวๆ ห้าทุ่มของวันที่ 22 พฤษภาคม 2561 หรือวันครบรอบ 4 ปีของการรัฐประหาร โดย คสช. เมื่อสำรวจกระแสความนิยมในการเล่นทวิตเตอร์ของคนไทย จะพบว่า แฮชแท็ก #กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง ได้ขึ้นติดเทรนด์เป็นอันดับ 1 ของโลกทวิตเตอร์ประเทศไทย ด้วยตัวเลขการทวิต มากกว่า 390,000 ครั้ง เช้าวันนี้ (23 พฤษภาคม 2561) ตกลงมาเป็นอันดับสาม ด้วยตัวเลขการทวิต มากกว่า 540,000 ครั้ง

สนามการต่อสู้ของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งไม่ได้จำกัดอยู่ที่หน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือองค์การสหประชาชาชาติเท่านั้น แต่ในโลกทวิตเตอร์ ก็พบการต่อสู้ผ่านแฮชแท็กฮิต #กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง เป็นสิ่งที่คนรุ่นใหม่เรียกว่า 'การแซะ' แบบได้ใจและเฉียบคม ชนิดชี้ให้เห็นถึงความเสื่อมของระบอบเผด็จการในหมู่คนรุ่นใหม่ได้เป็นอย่างดี บทความชิ้นนี้ ตั้งใจชี้ให้เห็น 'ความเห็น' ของคนรุ่นใหม่ ต่อรัฐบาลเผด็จการ หรือนัยหนึ่ง พวกเขาตั้งคำถามกับรัฐบาลเผด็จการอย่างไรบ้าง ในวาระ 4 ปีของการรัฐประหารที่ดำเนินมาถึงอีกวาระหนึ่ง ?

1. การเปลี่ยนภาพลักษณ์ของทหาร ผู้ใช้ทวิตเตอร์คนหนึ่งเล่าว่า จากสมัยเด็กๆ ที่จดจำว่า ทหาร เป็นเหมือน 'ฮีโร่' มาถึงจุดที่จำว่า “รัฐประหารคือการทำลายประชาธิปไตย” สอดคล้องกับอีกทวิตที่บอกว่า “แรกๆ ก็ยอมรับนะว่า ถ้าพวกลุงแกเข้ามาแล้วมันน่าจะมีอะไรดีขึ้นมาบ้าง” ก่อนอธิบายถึงระบอบเผด็จการว่า “แต่อยู่ๆ ไป กูทรมารเว่อร์ เสรีภาพทางความคิดคือโดนบล็อก” ทั้งยังตั้งคำถามถึงภาษีที่ตัวเองจ่ายไปให้กับผู้ปกครองด้วยว่า “เอาเงินกูไปใช้ไร้สาระแล้วตรวจสอบไม่ได้”​ สอดคล้องกับอีกทวิตที่ตั้งคำถามกับการใช้ภาษีของประชาชน “เบื่อกลุ่มรัฐบาลชุดนี้มาก ...วันๆ นั่งกินเงินภาษีประชาชนแล้วบอกตัวเองว่า เป็นนายกที่เงินเดือนน้อยที่สุดแล้ว อยากบอกว่าเงินเดือนที่คุณได้อ่ะ มันมากเกินไปสำหรับผลงานที่คุณทำออกมาด้วยซ้ำ”


tweet02.pngtweet01.pngtweet14.png


2. รัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปัญหาปากท้องได้ เช่น “ครอบครัวใครทำธุรกิจค้าขายจะเห็นโคตรชัดว่า นี่มันเศรษฐกิจตกต่ำ” ขณะที่อีกทวิตหนึ่ง โยงปัญหาปากท้องกับการเลือกตั้งโดยตรง “บริหารประเทศห่วย ใครๆ ก็ต้องอยากเลือกตั้งใหม่อยู่แล้ว แค่บางคนอาจจะไม่กล้าออกมาพูดแค่นั้นเอง...เราสูญเสียงบประมาณแผ่นดินไปกับอะไรที่ไร้สาระสุดๆ เศรษฐกิจย่ำแย่ ของแพง ค่าครองชีพสูงแต่คุณภาพชีวิตต่ำ”


tweet12.pngtweet17.png

3.    ตั้งคำถามกับเรื่องการทุจริต คอรัปชั่น ที่ปรากฎในรัฐบาลทหาร พวกเขาอธิบายการโกงตลอดหลายปีมานี้ ว่ามีลักษณะ “โกงแล้วเอาผิดไม่ได้” และยกเคสการทุจริต เช่น กรณีนาฬิกาของพลเอกประวิตร กรณีเปรมชัย เสือดำ บางทวิต ใช้วิธีการแตกย่อยการทุจริตเป็นข้อๆ เรียงต่อกันหลายๆทวิต เช่น มีการขุดคุ้ย เรื่องการทุจริตโดยญาติพี่น้องตระกูลจันทร์โอชา “น้องชายท่านนายกที่เป็นสมาชิก สนช. มาทำงานแค่ 6 จาก 400 วันแต่รับเงินเดือนเต็ม” “แต่งตั้งหลานชายมาเป็นทหารติดยศร้อยโท โดยไม่ต้องสอบและรับเงินเดือนเต็ม” “ให้เมียน้องชายนั่งเครื่องบิน C 130 ไปเปิดฝายที่จังหวัดเชียงใหม่ แต่ผ่านไป 3 วันพัง

tweet07.png


4. มีการเทียบเคียงเหตุการณ์ในรัฐบาลเผด็จการอื่นๆ กับ รัฐบาลเผด็จในปัจจุบัน เช่น การยกเคส 'การล่าสัตว์ทุ่งใหญ่นเรศวร' ขึ้นมาอธิบายในฐานะสาเหตุของการเคลื่อนไหวทางการเมืองครั้งใหญ่ในปี 2516 ซึ่งในเหตุการณ์นั้น จบลงที่ 'เรียกร้องประชาธิปไตย' ​และ 'มีคนตาย' ขณะที่ปี 2561 ได้เกิดกรณีเสือดำเปรมชัย มีการ 'เรียกร้องประชาธิปไตย' ในโอกาสครบรอบ 4 ปีการรัฐประหาร แต่ 'หวังว่าจะไม่มีใครตาย'​ ผู้ทวิตใช้คำกำกับด้วยว่า ทั้งหมดนี้คือ 'วนลูปเดิม'


twwet06.png

5. แชร์โปสเตอร์ที่องค์กรอื่นๆ ได้จัดทำ แล้วแสดงความเห็นประกอบ เช่น แชร์โปสเตอร์ว่า ขณะนี้ รัฐประหารในประเทศไทยนับว่า เกิดบ่อยเป็นอันดับ 4 ของโลก และเป็นอันดับ 1 ในอาเซียน พร้อมให้ความเห็นประกอบว่า “พวกไดโนเสาร์ออกมารัฐประหาร จนประเทศชาติแม่งจะล้าหลังกว่าพม่า มาเลย์ ฟิลิปปินส์ อินโด อยู่ละ” และ แชร์โปสเตอร์ที่ กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง ใช้ในการประท้วงเมื่อวานนี้ หนึ่งในป้ายที่ถูกแชร์ซ้ำเยอะมาก ถ่ายโดยช่างภาพของนิตยสารเวย์ “เราไม่ได้มายึดทำเนียบ คสช.ต่างหากยึดมาตั้ง 4 ปี แล้ว ไอ่สัส”


tweet08.pngtweet09.png

6. แชร์โควตของผู้มีอำนาจในช่วงเวลานี้ แล้วแสดงความเห็นประกอบ เช่น แชร์โควตของ นายกรัฐมนตรีที่เคยกล่าวไว้ในปี 2558 ว่า “จะประกาศการเลือกตั้งทั่วไปได้ภายในกลางปี 2560” พร้อมแสดงความเห็นประกอบว่า “ตระบัดสัตย์ บิดพลิ้ว พูดพล่อย มีครบ จบในคนเดียว”

tweet20.png

7. ทวิตในกลุ่มเสียดสีโดยตรง อ่านแล้วเจ็บแสบอยู่ทีเดียว เช่น “เด็กไทยควรเรียนให้จบ แล้วย้ายประเทศซะ” “ตั้งแต่เกิดมา ได้เลือกตั้งแค่ประธานนักเรียน” ขณะที่อีกทวิตหนึ่ง อธิบายผ่านกรณีการให้ทุนการศึกษาโดยต่างประเทศว่า “ครูวิชากฎหมายบอกว่า เพราะเรามีการปกครองแบบนี้ประเทศอื่นเขาเลยไม่อยากจะมีความสัมพันธ์ด้วย”​ หรืออีกทวิตที่อธิบายถึงปัญหาทางการเมืองของไทย แล้วจบว่า “มึงดูชีวิตเด็กรุ่นกู ที่อยู่ยุคการเมืองส้นตีน 20 กว่าปีแรกในชีวิต คิดว่าเด็กเจนฯ นี้ (อายุไม่เกิน 20) อยากหาทางออกแค่ไหน” และ “เพื่อนเป็นต่างชาติ เค้าบอกประเทศยูไม่ได้ถอยหลัง แต่มันไม่เคยเดินหน้าเลยมากกว่า กูนี่นั่งหน้าชา”


tweet11.pngtweet18.png


tweet13.pngtweet16.pngtweet15.png


8. อธิบายความหมายของ 'การเลือกตั้ง' ในฐานะ “การเรียกร้องที่ชอบธรรมที่สุดของการเรียกร้องทุกอย่างในโลกการเมือง” “การตกลงร่วมกันแบบมีกติกาให้ประเทศไปต่อได้” ชี้ให้เห็นว่า “การไม่ยอมรับเสียงของประชาชนเจ้าของประเทศตัวจริงต่างหากผิดที่สุด” สอดคล้องกับอีกทวิตที่เสนอว่า “เลิกทำโพลที่บอกว่าคนส่วนใหญ่ไม่อยากเลือกตั้งเหอะ ดูก็รู้ว่าตอแหล แน่จริงเปิดให้เลือกเลย...ถ้าเขาอยากอยู่กับรัฐบาลประยุทธ์ เดี๋ยวมันต้องออกไปกาคูหากาให้พรรคมึง..กลัวอะไร”

tweet03.pngtweet07.pngtweet19.png


9. ภาพนิสิต ประธานสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชูเอกสาร ที่อธิบายว่าคือ “หนังสือลาออกจากตำแหน่งนายกฯ ที่จะนำไปยื่นให้กับ พล..ประยุทธ์ได้รับการรีทวิตมากกว่า 16,000 ครั้ง จะอ่านตัวเลขนี้ เป็นจำนวนคนที่ชอบการเสียดสีนี้ก็ได้ แต่จะอ่านเป็นจำนวนคนที่อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงในทางการเมืองก็ได้เช่นกัน


tweet10.png

เหล่านี้คือ 'ความเห็น'​ ในโลกทวิตเตอร์ ที่ปรากฎผ่านแฮชแท็ก #กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง ซึ่งน่าจะชี้ให้เห็นอยู่สามเรื่อง (หนึ่ง) ชี้ให้เห็นวิธีการต่อสู้ในทางการเมือง นอกเหนือจากการออนกราวด์บนท้องถนน ซึ่งมาในลักษณะการทวิตข้อความอย่างสั้นๆ ที่ทำได้ง่าย โดนใจ คมคาย แยบยล (สอง) สนามการต่อสู้ในโลกทวิตเตอร์เกิดขึ้นมานานแล้ว ผ่านการเรียกร้องในประเด็นสาธารณะเรื่องต่างๆ แต่สำหรับประเด็นการเลือกตั้ง ไม่มีการแสดงความเห็นในทวิตครั้งใด จะได้รับความนิยมมากไปกว่า ที่เกิดขึ้นเมื่อวานนี้ ในโอกาส 4 ปีของการรัฐประหาร ที่เป็นเช่นนี้ น่าจะสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการในการสื่อ 'สาร' แสดง 'อารมณ์' ของผู้ใช้ทวิตที่มีต่อรัฐบาลเผด็จการ (สาม) สำหรับการเลือกตั้งที่จะเกิดในอนาคต พรรคการเมืองจะเชื้อเชิญ ผู้เลือกตั้ง กลุ่มผู้ใช้ทวิต เข้าไปเป็นฐานเสียงทางการเมืองได้อย่างไร ? สำหรับสังคมไทย เราจะเชื้อเชิญ ประชาชน พลเมือง กลุ่มผู้ใช้ทวิตเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองในเรื่องต่างๆได้อย่างไร ?

วยาส
24Article
0Video
63Blog